เข้าถึง "คน" พิการ


ก่อนจะให้คนพิการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก

พวกเราส่วนหนึ่งที่เคยทำงานกับคนพิการ อาจจะมีวิธีการไปหา เข้าถึงคนพิการต่างแบบกันไป

และส่วนที่กำลังจะไปใกล้ชิด ได้เริ่มทำงานบ้างก็มี

เป็นโอกาสดีมาก ๆ ที่พี่ฝนเล็กอยู่จังหวัดหนองบัวลำภู (ทพญ.วรางคณา อินทโลหิต)

ได้สานเครือข่ายทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภูมาแล้วหลายด้าน

มีพี่มานพ เชื้อบัณฑิต รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นภาคีคุ้นเคยกัน ร่วมทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ผ่านกลไกกองทุนฟื้นฟูสมรรถนะทางการแพทย์ และบทบาทหน้าที่ของภาคส่วน อปท. ตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติต่าง ๆ

เราจึงเห็นตัวอย่างหลากหลาย ช่องทางการประสานงานทุกทิศ

ที่สำคัญ สัมผัสได้อย่างง่ายดาย ถึงพลังบวก ความเย็น เปล่งประกายรัศมีความใจดีของพี่มานพ

รักที่จะทำสิ่งนี้ด้วยหัวใจ มิใช่เพียงหน้าที่

^_,^

พอพี่สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ให้โจทย์วางแผนส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ

รวมพลังกลุ่ม นำสิ่งที่ได้เรียนรู้สดใหม่ ผสานเข้ากับประสบการณ์ของทีมและต้นทุนที่มี .... ออกแบบทำงานอย่างที่คิดว่าเหมาะ

อีก ๒ เดือนพวกเรานัดพบกันเป็นระยะ ตัวเป็น ๆ และใช้สื่อสารทางไกล

ทำไป ปรับไป (P-D-S-A : Plan-Do-Study-Act) ให้ดี ๆ ๆ ๆ ขึ้นไป

บรยากาศคุยกลุ่ม สดชื่น แจ่มใส ถ้อยทีถ้อยอาศัย อบอวลมวลมิตร

(ทีมอำเภอสูงเนิน นครราชสีมา)

นำเสนอแผนการดำเนินงานที่จะกลับไปทำอย่างตั้งใจ

พร้อมสานพลังผู้คนในและต่างพื้นที่ .... ที่มีจุดร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

(ทีม ๕๐ พรรษามหาราชินี อุบลราชธานี)

(ทีมอำเภอบ้านฝาง ขอนแก่น)

(ทีมนากลาง หนองบัวลำภู)

ใช้จุดแข็งวางระบบงานคุณภาพทั้งอำเภอ แต่ละตำบลค้นหา จัดทำแนวทางการส่งต่อชัดเจน พูดคุยปรึกษาทำงานเป็นทีมเดียวกัน

(ทีมศรีบุญเรือง หนองบัวลำภู)

(ทีมกุมภวาปีและเมืองอุดรธานี)

^_,^

ให้แต่ละคนทบทวนอยู่กับตัวเอง บอกการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเอง หลัง ๓ วันที่อยู่ร่วมกันมา พอสรุปบางส่วน

๑. ความรู้ สังคม จิตใจ รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น เข้าใจผู้พิการและเรียนรู้การทำงานเพื่อผู้พิการ

ได้เข้าใจแลกเปลี่ยนทัศนคติดี ๆ ร่วมกัน

๒. ใจเย็นลง เพราะการประชุมไม่เร่งรีบ ไม่เร่งอัดเนื้อหา ทำให้ผ่อนคลาย และไม่รู้สึกกดดันในการทำงาน

- เกิดแรงบันดาลใจว่างานผู้พิการก็น่าสนใจนะ ทั้งที่สมัยก่อนไม่ได้มองจุดนี้ มีแต่ให้บริการใน รพ.เหมือนคนทั่วไป ที่รักษาไปตามอาการ

- อยากทำงานร่วมกับทีมวิชาชีพอื่น ๆ มากขึ้น แต่ก่อนรู้สึกว่าการต้องติดต่อประสานงานกับคนอื่น ๆ เป็นเรื่องยุ่งยาก ทำงานเฉพาะของตนง่ายกว่า แต่ฟังการทำงานของคุณเรณูและคุณมานพแล้ว อยากลองทำงานกับฝ่ายอื่น ๆ บ้าง บางทีอาจจะเกิดอะไรดี ๆ ขึ้นก็ได้ หรืออย่างน้อยได้พัฒนาทักษะการติดต่อประสานงานไปอีกขั้น

๓. รู้สึกได้อยู่กับตัวเอง ปกติชีวิตประจำวันรีบเร่งกับงาน

ได้พบเจอเพื่อนใหม่ ๆ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน

๔. มีความรู้สึกว่าอยากทำงานเกี่ยวกับคนพิการมากขึ้น รู้สึกว่าตัวเองก็มีคุณค่า แค่ทันตาภิบาล (น้อย ๆ) คนนึง

แต่ก็น่าจะสามารถทำงานนี้ได้ดี เพราะเห็นจากประสบการณ์อาจารย์/วิทยากรบางท่านที่เล่า/ถ่ายทอดมา

รู้สึกได้ถึงการมีความสุขมากเมื่อได้ทำงาน/ช่วยเหลือผู้พิการในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่แค่ทำตามหน้าที่เท่านั้น

๕. เปลี่ยนแนวคิด มุมมองในการดูแลผู้พิการ จากเมื่อก่อนเวลาลงเยี่ยมผู้พิการ ไม่เคยสนใจเรื่องฟันเลย ไม่เคยดู ไม่เคยถาม

ต่อไปจะสนใจ จะถามเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากผู้พิการ

- เห็นแนวทางการทำงานเกี่ยวกับผู้พิการ

- ตัวเองเปิดรับสิ่งใหม่มากขึ้น ออกจากกรอบที่ตัวเองสร้างไว้ เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพื่อให้งาน/เป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จ

๖. เรียนรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการจัดกิจกรรม

รู้มุมมองการดูแลคนพิการของคนอื่น ๆ

๗. .... เราควรจะเชื่อมั่นในตนเอง มองอะไรกว้างขึ้น ไม่มองเพียงในกรอบเล็ก ๆ ของตนเอง

๘. มีความคิดริเิริ่มใหม่ ๆเกิดขึ้น ได้พบปะพี่น้องหลาย ๆ ท่าน ประทับใจกิจกรรมต่าง ๆ ที่ยิ้มได้

๙. ประชุมแบบกัลยาณมิตร ไม่เครียด

- มีส่วนร่วมเอื้ออาทร ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ได้เจอเพื่อนใหม่ที่ใจดวงเดียวกัน

- ภูมิใจในทีมงาน รพ. ที่น้อง ๆ ทุกคนมีความสุข และสนุกกับการทำงาน

- ขอให้ผู้พิการได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้จากหัวใจทันตบุคลากรตัวเล็ก ๆ

๑๐. .... มีไฟในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

๑๑. ได้ลดกรอบวิชาชีพในตัวเองลง เพื่อที่จะทำงานเชิงบูราการกับงานอื่นมากขึ้น

๑๒. ได้พบปะเพื่อนต่างสหวิชาชีพ รู้สึกดีใจ และประทับใจเพื่อน ๆ ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

- เราเป็นพยาบาล ในมุมมองของเราต่างกับทันตะฯ เราเน้นส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูเรื่องโรค โดยไม่นึกถึงช่องปากเลย มาครั้งนี้ทำให้รู้ว่าการดูแลช่องปากสำคัญอย่างหนึ่งเหมือนกันสำหรับผู้ป่วย

๑๓. รู้สึกมีกำลังใจ/มีความกล้าในการออกไปหาทีมทำงาน หรือเห็นช่องทางในการประสาน/ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย/ภาคส่วนท้องถิ่นมากขึ้น

ทำให้รู้สึกง่าย รู้สึกสนุกในการที่จะทำงานชุมชนมากขึ้นค่ะ

๑๔. รู้สึกชื่นชมบุคลากรทุกท่านที่ได้ทำงานเกี่ยวกับผู้พิการทุกสายอาชีพ ที่ทำงานด้วยใจ

และได้เห็นความตั้งใจบุคลากรหลาย ๆ ท่าน

๑๕. กด Like ให้เลยค่ะ บรรยากาศกันเอง ท่านวิทยากรพูดเข้าใจง่ายค่ะ

คาดว่าการนำเอาความรู้และสิ่งดี ๆ ไปใช้งานทันตสาธารณสุขในพื้นที่ค่ะ

๑๖. .... มีมุมมองโลกที่กว้างขึ้น รู้ถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัว ยังมีปัญหาอีกมากมายที่ต้องได้รับการแก้ไข

๑๗. รู้สึกคิดบวก มีกำลังใจและมีพลัง อยากทำงานกับกลุ่มด้อยโอกาส (สร้างงาน สร้างเสริมให้เกิดขึ้นในพื้นที่)

ยกตัวอย่างนิดหน่อยพอก่อนนะคะ

^_,^

อิ่มเอม ชื่นใจ พร้อมจะให้และรับ เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เปิดใจเรียนรู้ในทุกการกระทำ

จากเห็น เข้าใจ เคารพ สร้างช่องทางการเข้าถึง .... ต่อไป เริ่มจากจุดใดก็ได้ เชื่อมประสานดูแลองค์รวม

สร้างทีม เชื่อมภาคี กระชับเครือข่าย สานพลัง คุณภาพชีวิตคนพิการ ครอบครัว สังคมที่เราเกี่ยวข้อง

เปลี่ยนทิศทางเชิงบวกแน่นอน

เพียงใจเราเปลี่ยน .... ด้วยรัก

^_,^

(ขอบคุณภาพประกอบส่วนใหญ่โดยพี่เมย์ ทพญ.ภัตติมา บูรพกุล สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต นะคะ)



ความเห็น (10)

ชื่นชมค่ะ ขอบคุณค่ะที่นำเสนอให้ได้อ่าน

อ่านแล้วชื่นใจ ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจมาก

เป็นการทำงานเข้าถึงคนในชุมชนทุกๆกลุ่มนะครับ

รออ่านอีกครับ

ขอบคุณแทนทีมงานและครือข่ายนะคะคุณครูอร เพื่อคนพิการค่ะ

ชื่นใจแทนคนพิการด้วยค่ะพี่โอ๋ ขอบคุณค่ะ

แหมว่าจะจบตอนแล้วนะคะ อ.ขจิต ขอบคุณมากค่ะ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาให้กำลังใจทีมงาน..สธ.

-จากตน กษ คร้าบ!!!! 555

-เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา..มีคนเขาชอบนำไป"หาเสียง" อิๆ

-ด้วยความระลึกถึงนะครับ

ขอบคุณมากมายค่ะคุณน้องเพชรฯ พี่เอามาจากคำสอนของในหลวงนะคะ อย่าเอาไปเทียบกับการหาเสียงสิคะ อิ อิ

บันเทิง
เริงปัญญา
เห็นศรัทธา
เห็นพลัง....

....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท