อย่างไรถึงเรียกว่าเป็นโรค "สมาธิสั้น"



ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่าจากการที่ดิฉันได้เรียนวิชากิจกรรมบำบัดกับจิตสังคม ในหัวข้อจิตสังคมในเด็ก ซึ่ง อ.พญ.หัทยา ดำรงค์ผลเป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ ทำให้ได้เข้าใจเรื่อง "โรคสมาธิสั้น" มากยิ่งขึ้น


"โรคสมาธิสั้น" คืออะไร?

โรคสมาธิสั้น จะมีอาการหลักๆคือ ควบคุมสมาธิของตนเองไม่ได้ ไม่มีสมาธิจดจ่อ อาการรองคืออาจจะ มีอาการซนอยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวมากเกินไป หุนหันพลันแล่นใจร้อน หรือ เหม่อลอยซึ่ง หรืออาจจะมีอาการทั้ง 2 อย่างก็ได้ โดยจะมีอาการดังที่กล่าวมาตั้งแต่เป็นเด็ก ตัวโรคนี้เกิดจากสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง เพราะฉะนั้นที่บางคนบอกว่า "สิ่งแวดล้อม" ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น ก็ไม่จริงเสียทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีความปกติจากสารสื่อประสาทร่วมด้วย


ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ทำยังไงดี?

แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องสมาธิสั้น โดยทั่วไปการรักษาจะใช้ยาซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสารสื่อประสาท และฝึกการทำกิจกรรมโดยนักกิจกรรมบำบัดควบคู่ไปด้วย รวมถึงการปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดสิ่งเร้าเพื่อให้เด็กมีสมาธิจดจ่อต่อกิจกรรมที่ทำมากยิ่งขึ้น โดยพ่อแม่มีส่วนสำคัญมากในการส่งเสริมทักษะต่างๆของลูก


สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gpo.or.th/rdi/html/adhd.html

หมายเลขบันทึก: 584939เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท