อย่าเรียกว่า "คนบ้า" เขาเป็นเพียง "ผู้ป่วยทางจิตเวช" ก็เท่านั้น


จากคาบเรียนในวิชากิจกรรมบำบัดจิตสังคม ทำให้ตัวดิฉันเองได้มีโอกาสฟังประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชจาก อ.พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ ทำให้ได้รู้ว่าสังคมไทยนั้นยังไม่ค่อยเปิดใจยอมรับผู้ป่วยทางจิตเวชมากนัก เช่น ถ้าให้เลือกระหว่างเป็นโรคมะเร็งกับโรคจิต แน่นอนว่ากว่าร้อยละ 90 ต้องบอกว่าขอเป็นมะเร็งยังจะดีซะกว่า นั่นเป็นเพราะอะไรกัน?

โดยส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่าเรายังมองผู้ป่วยจิตเวชกันว่าเป็น "คนบ้า" หรือ "ตัวประหลาด" ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว เขาเหล่านั้นก็แค่เป็น "โรค" ชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง ในมุมมองของจิตแพทย์อยากให้มองเหมือนเขาเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาเรื่อยๆเพื่อควบคุมอาการของโรค


ในความคิดของบุคลากรทางการแพทย์มีความคิดหวังดี คิดที่จะป้องกันสิ่งต่างๆที่จะเกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยทางจิตเวช เช่น ในอดีตไม่ให้เก็บแปรงสีฟันไว้เป็นของตัวเอง (คือต้องใช้แปรงสีฟันร่วมกัน ไม่มีเป็นของส่วนตัว ทำความสะอาดแปรงโดยเจ้าหน้าที่) เพราะเกรงว่าผู้ป่วยอาจใช้แปรงสีฟันเป็นอาวุธ หรือทำความสะอาดแปรงสีฟันไม่สะอาดซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาวอนามัยของตัวผู้ป่วยเอง โดยลืมนึกถึงจิตใจของผู้ป่วยไปว่า เขาก็มีความเป็นคน มีสิทธิและศักดิ์ศรีที่จะได้รับการดูแลและความเป็นส่วนตัวเช่นกัน ปัจจุบันทีมวิชาชีพทางการแพทย์จึงมีการคิดแบบ empathy คือเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้คิดว่าถ้าเป็นเราจะรู้สึกอย่างไร

กิจกรรมบำบัด มีส่วนช่วย ผู้ป่วยทางจิตเวช อย่างไร?

คนส่วนใหญ่จะยังไม่ค่อยรู้ว่านักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทในผู้ป่วยด้านจิตเวชอย่างไรบ้าง นักกิจกรรมบำบัดสามารถสอนวิธีการลดความเครียด และมีวิธีการทำให้ผู้ป่วยแยกแยะโลกแห่งจินตนาการและความจริงได้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมฟื้นฟูอาชีพ ฝึกทักษะขั้นพื้นฐานในอาชีพที่ผู้ป่วยสนใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการที่ดึขึ้น และกำลังจะถูกจำหน่ายกลับบ้าน และโปรแกรมสนับสนุนให้ผู้ป่วยถูกจ้างงาน โดยการฝึกให้ไปทำงานจริงในโรงงานจริงที่ส่งเสริมผู้ป่วยให้มีอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเองได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยจิตเวชรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติอีกครั้งด้วย

คำสำคัญ (Tags): #occupational therapy#psychosocial#psychology
หมายเลขบันทึก: 584888เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท