บังเอิญหรือไม่ก็ไม่รู้


กระบวนการของโครงงานนั้น กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้กำหนดหลักสูตรและวิธีการเรียนรู้ของเขาเอง ที่สำคัญในบางเรื่องครูอาสาก็ได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆกับกลุ่มเป้าหมาย

       เปิด Blog น้ีไว้ตั้งหลายวันแต่ไม่มีโอกาสได้เขียนเพราะงานยุ่งมาก วันน้ีมีโอกาสได้ประเดิม ผมจะขอเล่าการทำงาน กศน.ที่ใช้กระบวน การ ของการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือของการทำงาน โดยเฉพาะงาน ที่ต้องลงไปปฏิบัติในพื้นที่

       "บังเอิญหรือไม่ก็ไม่รู้"  ซึ่งผมถึือเป็นจุดกำเนิดของงานซึ่งมีมาตั้งแต่ปี  2545 โดยการได้ตั้งวงพูดคุยกันในเวลาว่างจากภารกิจต่าง ๆ ในหน่วยงาน ก็มี ท่าน ผอ. กศน.อำเภอเมือง สมัยนั้น (ผอ.สากล  มณีวงศ์)  ครูนงเมืองคอน  ครูเกษม  ผลกล่ำ ครูแต้ว (อ.มนัสชนก  จันทิภักดิ์) และผม ซึ่งเป็นทีมคนคอเดียวกัน นั่งทบทวนการทำงานในช่วงเวลา ที่ผ่านมา ว่าเป็นอย่างไรบ้างโดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ  ศึกษาอาชีพ ซึ่งเป็นรูปแบบของการจัดวิชาชีพระยะสั้น จากการพูดคุย ทำให้รู้ว่าการจัดการศึกษาอาชีพที่ดำเนินการไปแล้ว นั้นไม่ประสบ ผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งหากคิดเชิงธุรกิจแล้วเป็นการไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะงบประมาณที่ลงไปในแต่ละกลุ่มสูงมาก แต่ไม่สามารถ หาร่องรอยความต่อเนื่องจากการจัดหลังจากที่เสร็จสิ้นโครงการแล้ว ไม่ค่อยได่้  ก็คิดหารูปแบบวิธีที่จะให้การจัดการศึกษาอาชีพของ กศน. เมืองนครศรีธรรมราช ให้มีประสิทธิภาพ มองเห็นความต่อเนื่อง ของการดำเนินกิจกรรมมากยิ่งขึ้น  

       งานน้ีคนที่หนักคือ ครูนงเมืองคอน ในฐานะคนทำวิชาการ ได้เสนอว่า น่าจะเป็นการจัดรูปแบบ การจัดหลักสูตรตามสภาพจริง โดยใช้ วิธีการเรียนรู้จากการทำโครงงานอาชีพ  ก็ได้ไปศึกษาถึงรูปแบบของโครงงาน  จากผู้รู้ในหน่วยงานต่าง ๆ จากเอกสาร จนออกมาเป็นรูปแบบเค้าโครงโครงงาน มานำเสนอในที่ประชุมและ ท่าน ผอ.สากล  มณีวงศ์  สนับสนุนให้ เริ่มนำออกทดลองใช้   ในปี 2545 นั้นเอง  โดยคนที่นำออกไปใช้ คือบรรดาครูอาสาสมัครฯผลที่ได้คือ เราสามารถที่จะดำเนินกิจกรรม ในกลุ่มอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง เพราะกระบวนการของโครงงานนั้น  กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้กำหนด หลักสูตรและวิธีการเรียนรู้ของ เขาเอง ที่สำคัญในบางเรื่องครูอาสาฯก็ได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับกลุ่มเป้าหมาย                         

        จากเดิมที่เราหาร่องรอยจากการจัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพ ระยะสั้น แทบไม่ได้ แต่หลังการใช้การเรียนอาชีพด้วยวิธีโครงงาน อาชีพแล้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีกลุ่มอาชีพที่สามารถ ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ในปี 2546 จำนวน  13  กลุ่ม   ปี  2548  จำนวน  46  กลุ่ม  ปี  2549  จำนวน  49  กลุ่ม  ซึ่งจะมีกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ  และกลุ่มเก่าก็ยังคงดำเนินกิจกรรม ของตนเอง อย่างต่อเนื่อง      

        เรื่องที่ "บังเอิญ" ไม่รู้ว่าการที่เรามาตั้งวงนั่งทบทวนการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมานั้นเป็นการทบทวน บทเรียนและถอดบทเรียนหรือเปล่า  ไม่รู้ว่าการที่เราคิดหาวิธีการ นวัตกรรม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ อย่างต่อเนื่องนั้นเป็นการกำหนด เป้าหมาย "หัวปลา" หรือไม่   ผอ. สากล  มณีวงศ์  เป็นคุณเอื้อ หรือเปล่า  และบรรดาครูอาสาฯ เป็นคุณอำนวย และชาวบ้านจะเป็นคุณกิจหรือไม่  ผมได้รู้และเข้าร่วม กระบวนการจัดการความรู้ในฐานะคุณอำนวยตอนที่ทำ 3 ตำบลนำร่อง เมื่อตอนปี 2548  ผมพิจารณาแล้ว ทั้ง การจัดการความรู้ และโครงงาน อาชีพที่ทำอยู่มันมีหลาย ๆ อย่างที่สอดคล้องกัน        เลยไม่รู้ว่า "บังเอิญหรือไม่ก็ไม่รู้" แต่ทำให้ผมมีความสุขกับการทำงานแนวน้ี มากขึ้น  มีกำลังใจที่จะพัฒนางาน และบวกกับการที่เราได้พัฒนา ตนเองไปด้วย แค่น้ีก็พอแล้วสำหรับคนที่ทำหน้าที่ "คุณอำนวย" อย่างผม (ไม่รู้ใช่หรือเปล่า)

 

หมายเลขบันทึก: 58460เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท