บทพิสูจน์โรงเรียนเล็กๆ..บนพื้นฐานแห่งความพอเพียง


อย่างไรก็ตาม..กิจกรรมทุกอย่าง ต้องมีการวางแผนและใช้เวลา ศึกษาบริบทในโรงเรียนให้ชัดเจนถ่องแท้ อย่าทำตามกัน และอย่าทำตามอำเภอใจ แต่ใช้ หัวใจ เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครู ชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านเสียก่อน ข้อค้นพบ และการเริ่มต้น จะอยู่ตรงนี้.....

ผมคิดอยู่เสมอว่า กิจกรรมในโรงเรียน ที่ประกอบด้วยการเลี้ยงไก่ การเพาะเห็ด การทำนา และการปลูกผัก ตลอดจนอื่นๆ ที่มีรูปแบบทางการเกษตร หากดำเนินการผิวเผิน ไม่ทำจริง ไม่ต่อเนื่อง นึกอยากจะทำก็ทำ นึกอยากจะเลิกก็เลิก แบบนี้ไม่ใช่วิถีทางแห่งความพอเพียงอย่างแน่นอน

ชื่อกิจกรรมโครงการที่สวยหรู ไม่สู้ความเรียบง่าย ที่มีการปฏิบัติในกิจวัตรประจำวัน ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและต้องเห็นผลงานเชิงประจักษ์บ้าง ไม่มากก็น้อย

สำคัญที่สุด..นักเรียนต้องได้เรียนรู้อย่างมีกระบวนการที่ชัดเจนทุกขั้นตอน เข้าใจและตอบโจทย์ได้ทั้งระบบ ไม่ว่าจะมองมุมไหน ให้เหตุผลได้ และรู้จักความพอประมาณ ขณะเดียวกันต้องสามารถบอกภูมิคุ้มกัน..จากกิจกรรมที่ทำ เพื่อเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะชีวิตต่อไป

กิจกรรมในวิถีทางแห่งความพอเพียง..นอกจากจะสร้างความรู้ที่ผ่านการทำงานร่วมกันแล้ว จะต้องสร้างให้เกิดคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ลงไปสู่ตัวผู้เรียน ในการนี้ ครูย่อมสังเกตและวัดผลได้ ไม่ให้ผ่านไปวันๆ อย่างไร้สาระ เลื่อนลอย

อย่างไรก็ตาม..กิจกรรมทุกอย่าง ต้องมีการวางแผนและใช้เวลา ศึกษาบริบทในโรงเรียนให้ชัดเจนถ่องแท้ อย่าทำตามกัน และอย่าทำตามอำเภอใจ แต่ใช้ หัวใจ เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครู ชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านเสียก่อน ข้อค้นพบ และการเริ่มต้น จะอยู่ตรงนี้

ปีการศึกษา ๒๕๕๗..ที่เห็นและเป็นอยู่ จึงเป็นปีที่ผมเริ่มมองเห็นความสำเร็จในทุกกิจกรรม จากปัญาและอุปสรรค ที่ต้องแก้ไขมาโดยตลอด ลองผิดลองถูก กลับกลายเป็นมรรคผลให้ชื่นชมมิได้ขาด

โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ ที่ครูและนักเรียนได้ภูมิใจร่วมกัน เก็บผลผลิตด้วยกัน เข้าสู่ครัวโรงเรียนเป็นอาหารกลางวันที่ทรงคุณค่า รับประทานได้อย่างสนิทใจ

กว่าจะมีวันนี้..วันที่เก็บผักได้เกือบทุกวัน ตามเมนูของแม่ครัวที่สั่งมา นักเรียนต้องแก้ปัญหาดิน เตรียมดินอย่างพิถีพิถัน เมื่อปลูกแล้ว ต้องดูแลใส่ปุ๋ย โดยใช้น้ำหมักชีวภาพที่นักเรียนทำเอง หมักเอง โดยใช้เศษผักผลไม้ผสมกันกับสารเร่งอย่างครบสูตร

เมื่อทำเองใช้เองครบวงจร แบบไม่มีสารพิษ กิจการเพาะปลูกของโรงเรียนขนาดเล็ก ก็ขยายลงสู่นา ทำแปลงผักมาตรฐานหลังฤดูเก็บเกี่ยว งานนี้สามารถมองได้ตลอดแนว ไปถึงจำหน่ายเป็นรายได้โรงเรียนและเป็นต้นแบบของชุมชนได้ด้วย

ครับ ทุกวันนี้..งานวิชาการ ภาระงานการเรียนการสอนและประเมินคุณภาพ ไม่เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะบุคลากรทุกคนให้ความสำคัญอยู่เสมอ แต่บทพิสูจน์โรงเรียนเล็กๆ อาจดูได้ที่ ทักษะอาชีพง่ายๆ แต่งดงามตามช่วงวัย รักงานตามความสนใจ ในเรื่องใกล้ตัว ครอบครัวและชุมชน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความพอเพียง

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๒ มกราคม ๒๕๕๘

</span></strong>

หมายเลขบันทึก: 584375เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2015 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2015 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ยอดเยี่ยมมากค่ะ ...รักงาน ตามความสนใจ เรื่องใกล้ตัว ครอบครัว และชุมชน.....อย่างพอเพียง....

ผักสวยมากครับ เป็นกิจกรรมที่ดีมากครับ

ผักงามมากเลยนะครับ

อากาศหนาวเหมาะแก่การปลุกผักครับ

มาเชียร์การทำงานครับ

ขอบคุณมากๆครับ

บ้านนี้...เมืองนี้ เขาอุดมสมบูรณ์ดีแท้นะเนี่ยะ.....อิจฉาาาาา !


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท