คิดมุมกลับ ปรับมุมมอง....จิตเวช


วันนี้ฉันและเพื่อนๆนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3ทุกคน ได้เข้าร่วมกลุ่มฟังประสบการณ์จากอาจารย์ พญ. สมรัก ชูวานิชวงศ์ ซึ่งท่านได้มาเล่าประสบการณ์ที่ได้ทำงานฝ่ายจิตมา20ปี ในตอนแรกท่านได้เปิดโอกาสให้นศ.ถามในสิ่งที่อยากรู้ ซึ่งฉันถามว่า "มีวิธีการใดในการเข้าหาคนไข้" เมื่อได้ฟังประสบการณ์หรือเรื่องราวต่างๆก็ได้คำตอบว่า การที่เราจะเข้าหาคนไข้ได้อย่างแรก เราควรมีทัศนคติที่ดีต่อคนไข้ก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากที่ท่านได้เล่าถึงความประทับใจของท่านกับผู้ป่วยและการดูแลจากครอบครัวของคนไข้เอง เมื่อเรามีทัศนะคติที่ดีเราก็จะสามารถเข้าหาคนไข้ได้ดี และมีความเข้าใจ ใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น



ในสังคมไทยปัจจุบันบางคนอาจจะยังมองว่าผู้ป่วยจิตเวช เป็นโรคที่น่ารังเกีย

จ น่ากลัว ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้ ในทำนองเดียวกัน ครอบครัวของคนไข้ก็ได้รับแรงกดดันจากสังคมเช่นกัน ซึ่งอาจารย์หมอได้ลองให้เรานึกถึงมุมมองของ

1.คนไข้

2.ครอบครัวของคนไข้

3.สหวิชาชีพที่มีหน้าที่ดูแลคนไข้จิตเวชเหล่านี้

ว่าพวกเขาเหล่านั้นมีมุมมองความคิดอย่างไรบ้าง ซึ่งฉันขอสรุปว่า การรักษาคนไข้จะไม่ได้ผลเลยหากขาดคนทั้ง 3 ส่วนนี้ นั่นหมายถึงว่า การดูแลคนไข้คนหนึ่งจะต้องได้รับการดูแลจากครอบครัวเป็นสำคัญ และ มีสหวิชาชีพเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

สำหรับการเรียนรู้วันนี้อย่างน้อยที่สุดฉันก็เข้าใจคนไข้จิตเวชและทำให้ฉันเกิดคำถามในใจว่า ฉันจะมีบทบาทในการช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เขาสามารถกลับมาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ??




หมายเลขบันทึก: 584266เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท