นักสู้ เพื่อผู้ป่วยจิตเวช


สวัสดีผู้ติดตามชาว GotoKnow ทุกคนค่ะ วันนี้ดิฉันมีประสบการณ์ดีๆจะมาเล่าให้ทุกคนฟัง ก่อนอื่นขอกล่าวถึงที่มาของบันทึกเรื่องนี้ก่อน วันนี้ดิฉันได้ฟังการเล่าประสบการณ์จากอาจารย์หมอ เกี่ยวกับการทำงานและชีวิตในโรงพยาบาลศรีธัญญา ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ซึ่งทุกท่านก็น่าจะทราบดีว่า โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นโรงพยาบาลทางด้านจิตเวช ท่านคิดไม่ผิดหรอกคะ อาจารย์ท่านนี้ คือ จิตแพทย์ พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์

อาจารย์หมอ ให้นักศึกษาทุกตั้งคำถามคนละหนึ่งข้อ

"แรงบันดาลใจกับการทำงานในโรงพยาบาลจิตเวช" นี่คือคำถามของดิฉันค่ะ เหตุผลที่ดิฉันถามคำถามนี้คือ ดิฉันสะดุดกับคำพูดคำพูดหนึ่งบนหน้าปกหนังสือ "ความงดงามของชีวิต คือการอุทิศชีวิตที่เหลือด้วยจิตและวิญญาณ" ที่อาจารย์หมอนำมาให้พวกเราดูซึ่งหน้าปกได้รับออกแบบจากผู้ป่วยเอง

ซึ่งคำตอบที่ได้มาก็เป็นการเล่าเรื่องราวตั้งแต่อาจารย์เข้าเรียนเป็นนักศึกษาแพทย์ และมาต่อเป็นจิตแพทย์เนื่องจากเจอผู้ป่วยคนหนึ่งเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เขาขายที่นามาเพื่อรักษาอาการป่วย แต่สุดท้ายเขาก็ต้องกลับบ้านเนื่องจากไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งอาจารย์ไม่รู้เลยว่าจะคุยกับผู้ป่วยคนนั้นอย่างไร ต่อมาอาจารย์เข้าทำงานที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ในสมัยนั้นการจัดมีคนไข้จิตเวชเยอะมากๆ บางคนญาติมาส่งแล้วก็กลับไป บางคนมาแล้วควบคุมอาการได้กลับไปอยู่ที่บ้านไม่ได้รับการดูแลเรื่องการรับประทานยาก็กลับมาเป็นอีก (คนไข้จิตเวชต้องกินยาไปตลอดชีวิต) อาจารย์จึงแบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก ให้คิดว่าเรา คือผู้ป่วย เราจะรู้สึกอย่างไรหากเราต้องกลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกครั้ง

กลุ่มที่สอง เป็น นักบำบัด เราจะรู้สึกอย่างไร เมื่อคนไข้คนนั้นกลับมาอีกครั้ง

และกลุ่มที่สาม คือ ญาติ หรือ พ่อแม่ จะรู้สึกอย่างไร หากลูกหรือคนที่รักของตัวเองต้องกลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกครั้ง

ซึ่่งทั้ง 3 กลุ่ม ได้เห็นมุมมองที่ชัดเจน เหมือนให้ความรู้สึกว่าเรายืนอยู่ ณ จุดนั้นจริงๆ ในบทบาทที่แตกต่างกันออกไป อยากให้ทุกคนที่อ่านลองคิดนะคะ แล้วตอบตัวเองว่าถ้าเป็นเราล่ะ เรารู้สึกอย่างไร

ดิฉันบอกได้เลยว่า เราสามารถเข้าใจความรู้สึกของบุคคลทั้ง 3 กลุ่มได้จริงเลยค่่ะ มันทำให้ดิฉันกลับมามองใหม่ว่า เมื่อก่อนดิฉันคิดว่าผู้ป่วยจิตเวชน่ากลัว แต่ตอนนี้มันกลับกันคือดิฉันมองว่าเขาเป็นคนๆหนึ่ง ที่มีความเจ็บป่วยและต้องการหมอที่จะรักษาเขา หรือต้องการคนที่เข้าใจในความเป็นไปของเขา ที่เขาทำร้ายผู้อื่นนั้น อาจเป็นเพราะเขากลัว(จากลักษณะของโรค)และต้องการที่จะป้องกันตัวเอง บอกให้รู้ว่า ชีวิตคนทุกคนนั้นสำคัญ แม้เขาจะป่วยทางจิต และสิ่งนี้คือที่มาของคำว่า "แรงบันดาลใจ"

ประสบการณ์ในวันนี้ ทำให้ดิฉันเห็นมุมมองหลายอย่างทั้ง มุมมองเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช(เราเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น) มุมมองของนักจิตแพทย์ต่อคนไข้ และที่สำคัญที่สุดคือบทบาททางจิตเวชของนักกิจกรรมบำบัดที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักหรืออาจจะยังไม่เข้าใจว่าเราทำอะไรได้บ้าง สิ่งต่างๆเหล่านี้มันทำให้ดิฉันได้ทบทวนตนเองก่อนที่จะออกก้าวเดินอีกครั้งว่า เราต้องเดินไปในทิศทางไหน จุดยืนของเราอยู่ที่ใด เพื่อที่จะสามารถทำประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยได้มากที่สุด





สุดท้ายนี้ อยากฝากคำพูดสั้นๆที่ว่า "คุณค่า ใครกำหนด?" ซึ่งจะคอยเป็นตัวเตือนสติให้กับผู้ที่อ่านเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตต่อไป ขอบคุณที่ติดตามค่ะ



หมายเลขบันทึก: 584263เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท