วันการบินแห่งชาติ 13มกราคม2456


“ This aviation affair was considered to give honor to siamese and Siam country rather than affairs because it was the only technical operation that Siamese could do on our own without counting on foreigners up until now. Usually, foreigners didn't expected that Siamese would be able to found Department of Aviaion and consolidate it.“ H.M. King Prajadhipok "การอากาศยานนี้นับว่าเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติของชาวไทยและประเทศสยามยิ่งกว่าการอื่นๆ เพราะเกือบจะเป็นสิ่งเดียว ที่เป็นวิธีการทางเทคนิค อันเราสามารถทำได้เองด้วยคนไทยทั้งนั้น ไม่ต้องอาศัยชาวต่างชาติมาตั้งแต่ต้นจนถึงบัดนี้ เพราะโดยมากเขาเหล่านั้นไม่ได้นึกเลยว่า คนไทยเราสามารถตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นปึกแผ่นใหญ่โตได้ถึงเพียงนี้“ พระราชดำรัส พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖

วันการบินแห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มและมีสายพระเนตรยาวไกลต่อกิจการการบิน กระทั่งได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ขอให้กำหนดวันการบินแห่งชาติขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อกิจการการบินของชาติ


กระทั่ง ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปีเป็นวันการบินแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในวันนี้ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการบินไทย และคุณประโยชน์ของกิจการการบิน

ที่มาของวันการบินแห่งชาตินั้น เริ่มต้นมาจากปี พ.ศ. 2454 ที่ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบินที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ จึงมีคำสั่งให้นายทหาร 3 นาย คือ พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส


ในระหว่างที่นายทหารทั้ง 3 นายเดินทางไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น ทางการก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินเป็นครั้งแรกจากฝรั่งเศส มาจำนวน 7 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินแบบเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง เข้าไว้ประจำการ นอกจากนี้ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ยังได้อุทิศทรัพย์ส่วนตัว ซื้อเครื่องบินแบบเบรเกต์ให้ราชการไว้ใช้งานอีก 1 เครื่อง ด้วยเห็นว่าเครื่องบินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ ทำให้ในยุคแรก ประเทศไทยมีเครื่องบินประจำการ จำนวน 8 เครื่อง


วันการบินแห่งชาติ
เครื่องบินแบบเบรเกต์ปีก 2 ชั้น รุ่นแรก

วันการบินแห่งชาติ

เครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว รุ่นแรก

ลังสำเร็จการศึกษานายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย ได้กลับมาทดลองบินครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2456 ซึ่งนายทหารนักบินทั้ง 3 นาย สามารถขับเครื่องบินและร่อนลงจอดได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางเสียงชื่นชมของผู้ชมจำนวนมากที่มารอชม เนื่องจากในสมัยนั้น การขึ้นบินบนท้องฟ้าถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง ผู้ที่สามารถขับเครื่องบินได้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญ และถือเป็นเกียรติประวัติที่ควรได้รับการสรรเสริญ

ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการการบินไทยได้รับการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ จากนั้น ในวันที่ 13 มกราคม 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรการบิน โดยมีนายทหารนักบินขึ้นแสดงการบินถวายและโปรยกระดาษถวายพระพรชัยมงคล ในการนี้ก็มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ และประชาชนมาร่วมเฝ้าเสด็จและชมการแสดงการบินในครั้งนี้ด้วย



29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 มีการเริ่มการทดลอง กิจการบิน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ บริเวณสนามม้าสระปทุม (สนามราชกรีฑาสโมสร) ซึ่งถือเป็นสนามบินแห่งแรกของไทย โดยเครื่องบินจำนวน 8 เครื่องที่รัฐบาลไทยได้สั่งซื้อจากประเทศฝรั่งเศส ได้แก่เครื่องบินเบรเกต์ (breguet) ปีก 2 ชั้น 3 เครื่อง เครื่องบินนิเออปอร์ต (nieuport) ปีกชั้นเดียว 4 เครื่อง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อเบรเกต์ให้อีก 1 เครื่อง แต่ปรากฏว่าสนามม้าสระปทุมไม่สะดวกเพราะแคบไปและเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน ทางรัฐบาลจึงได้เสาะหาสนามบินแห่งใหม่คือดอนเมืองซึ่งอยู่ไม่ไกลนักและน้ำไม่ท่วม ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 ได้มีการย้ายกิจการบินจากดอนเมืองไปที่บริเวณหนองงูเห่า หรือ สนามบินสุวรรณภูมิ

วันการบินแห่งชาติ

13 มกราคม 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรการบิน.....และได้มีพระราชดำรัสว่า...


" This aviation affair was considered to give honor to Siamese and Siam country rather than affairs because it was the only technical operation that Siamese could do on our own without counting on foreigners up until now. Usually, foreigners didn't expected that Siamese would be able to found Department of Aviaion and consolidate it."


H.M. King Prajadhipok



“การอากาศยานนี้นับว่าเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติของชาวไทยและประเทศสยามยิ่งกว่าการอื่นๆ เพราะเกือบจะเป็นสิ่งเดียว ที่เป็นวิธีการทางเทคนิค อันเราสามารถทำได้เองด้วยคนไทยทั้งนั้น ไม่ต้องอาศัยชาวต่างชาติมาตั้งแต่ต้นจนถึงบัดนี้ เพราะโดยมากเขาเหล่านั้นไม่ได้นึกเลยว่า คนไทยเราสามารถตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นปึกแผ่นใหญ่โตได้ถึงเพียงนี้"


พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖



วันการบินแห่งชาติ

ในอดีตกิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้างอากาศยานใช้ในราชการได้ และหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การบินของไทยก็ได้ช่วยสร้างประโยชน์มากมาย อาทิ เช่น ป้องกันประเทศ (สงครามอินโดจีน ฯลฯ) ช่วยเหลือผู้ป่วย, ช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ (โรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ) และช่วยทำให้เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม การเดินทาง ขนส่งไปรษณีย์ และสินค้าได้รวดเร็วจนพัฒนามาเป็นสายการบินระหว่างประเทศ

วันการบินแห่งชาติ

The first Siamese Flying Ace to be decorated after shooting down an enemy aircraft during the Franco-Siam Conflict.


นับได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มและมีสายพระเนตรยาวไกลต่อกิจการการบิน กระทั่งได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ขอให้กำหนดวันการบินแห่งชาติขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อกิจการการบินของชาติ

กระทั่ง ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปีเป็นวันการบินแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในวันนี้ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการบินไทย และคุณประโยชน์ของกิจการการบิน

พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ (บุพการีทหารอากาศ 1)

พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ


เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อเดิมคือ สุนี สุวรรณประทีป สมัยที่ดำรงยศ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ได้รับคัดเลือกให้ไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2554 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายพันโท ขณะเข้ารับการศึกษาวิชาการบิน เมื่อปี พ.ศ.2456 ถือเป็นคนไทยคนแรกที่เข้าศึกษาวิชาการบินในโรงเรียนการบิน วิลลาคูเบลย์


เมื่อศึกษาวิชาการบินในโรงเรียนจบ ก็ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนการบินชั้นสูงของกองทัพบกฝรั่งเศส กระทั่งสามารถสอบได้รับประกาศนียบัตรนักบินรบซึ่งเป็นชั้นสูงสุด หลังสำเร็จการศึกษาแล้วจึงเดินทางกลับประเทศไทย และเข้ารับราชการในกรมจเรทหารช่างโดยรับผิดชอบด้านการบิน ณ สนามม้าสระปทุม


เมื่อกระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งกองบินทหารบกขึ้นในปี 2457 นายพันโทหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการกองบินทหารบกคนแรกของประเทศไทย และเป็นผู้ที่นำกำลังพลของไทยไปเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ประเทศฝรั่งเศส จนได้รับชัยชนะร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้ากรมอากาศยานทหารบกคนแรก และได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาเฉลิมอากาศ" ในปี 2463


นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ (บุพการีทหารอากาศ 2)

นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์


เกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ชื่อเดิมคือ หลง สินศุข เป็นบุตรของพระยาภาณุพันธุวรเดช และคุณหญิงภาณุพันธ์ (เพียน) สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยที่มียศเป็น นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร รั้งตำแหน่งผู้บังคับกองพันพิเศษ กองพลที่ 5 ได้รับเลือกให้เดินทางไปศึกษาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ก่อนจะได้รับการเลื่อนยศให้เป็น นายพันตรี เมื่อปี พ.ศ.2455 ขณะเข้ารับการศึกษาวิชาการบิน


นายพันตรีหลวงอาวุธสิขิกรได้ศึกษาวิชาการบิน และยังได้เรียนรู้การซ่อมเครื่องบิน กระทั่งในปี 2456 ก็สำเร็จการศึกษาวิชาการบินตามหลักสูตรของสโมสรการบินฝรั่งเศส และเดินทางกลับประเทศไทยในปีเดียวกัน โดยกลับมาเข้ารับราชการในกรมจเรทหารช่าง รับผิดชอบด้านการบิน ณ สนามม้าสระปทุม


เมื่อมีการตั้งกองบินทหารบกขึ้น นายพันตรี หลวงอาวุธสิขิกร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยบังคับการ จากนั้นอีก 4 ปีให้หลัง ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงงานของกรมอากาศยานทหารบกเป็นท่านแรก และได้รับแต่งตั้งให้เป็น นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ ในปี 2467


จากนั้น ในปี 2475 นายพันตรี หลวงอาวุธสิขิกร ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมอากาศยานต่อจากนายพลตรีพระยาเฉลิมอากาศ และได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น "นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2491


นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต (บุพการีทหารอากาศ 3)

นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต

เกิดที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ชื่อเดิมคือ ทิพย์ เกตุทัต ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 3 นายทหารให้ไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศสขณะที่มียศเป็นร้อยโท และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายร้อยเอก ขณะกำลังศึกษา


ทั้งนี้ แม้ว่าในระหว่างเข้ารับการศึกษา นายร้อยเอก ทิพย์ เกตุทัต จะประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกจนได้รับบาดเจ็บ แต่ก็พักรักษาตัวจนสามารถกลับมาศึกษาต่อได้จนสำเร็จวิชาการบิน ก่อนจะเดินทางกลับประเทศไทยในปี 2456 จากนั้น เข้ารับราชการในกรมจเรทหารช่าง โดยรับผิดชอบด้านการบิน ณ สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร)


นายร้อยเอก ทิพย์ เกตุทัต ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บังคับการกองบินทหารบก ร่วมกับนายพันตรี หลวงอาวุธสิขิกร หลังจากกระทรวงกลาโหมได้ก่อตั้งกองการบินทหารบกขึ้น ต่อมา นายร้อยเอก ทิพย์ เกตุทัต ได้ประดิษฐ์ "หีบเครื่องเขียนใบแจ้งเหตุแบบเกตุทัต พ.ศ.๒๔๕๘" ขึ้น เพื่อไว้ใช้ส่งข่าวจากเครื่องบิน จึงได้รับการยกย่องจากกระทรวงกลาโหม


ในปี 2461 นายร้อยเอก ทิพย์ เกตุทัพ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกองบิน กรมอากาศยานทหารบก และเลื่อนยศเป็นนายพันตรี จากนั้น หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ เป็นผู้บังคับการกองบินทหารบก กองทหารอาสา ในครั้งที่ไปราชการสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกรมอากาศยาน เป็นผู้อำนวยการกองโรงงานอากาศยาน กระทั่งในปี 2479 ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นนายนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต


โดยทั้ง 3 ท่าน ได้รับการยกย่องให้เป็นบุพการีของกองทัพอากาศ ในฐานะที่ได้รับคัดเลือกให้ไปศึกษาวิชาการบินเป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย และได้นำวิชาความรู้ที่ได้รับมาช่วยพัฒนากิจการการบินของชาติได้เจริญก้าวหน้าเรื่อยมา

และนี่ก็คือเรื่องราวความเป็นมาของกิจการการบินของประเทศไทย นำมาซึ่งการกำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปี เป็น "วันการบินแห่งชาติ"

๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๒ เมื่อกิจการขนส่งทางอากาศมีประสิทธิภาพและมีบทบาททางกิจการค้าขายมากขึ้น กอปรกับพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ยังมิได้กำหนดลงไว้ว่ากระทรวง ทบวง การใดเป็นเจ้าหน้าที่รักษาการ จึงมีการกำหนดใน (๔) ให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รักษาการอันเกี่ยวกับ รถไฟ ขุดคลอง เดินอากาศ โรงไฟฟ้าและประกันภัย ซึ่งประกาศมา ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒
.......๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ มีการจดทะเบียนตั้ง บริษัทการบินเมล์พานิช ( AERIAL TRANSPORT OF SIAM Co.,Ltd.) ขึ้นให้ทำการบินเชิงพาณิชย์ แห่งแรกของไทย โดยได้รับสัมปทานขนส่งทางอากาศเป็นเวลา ๒๕ ปี(ดำเนินการเป็นรัฐพาณิชย์ในความควบคุมของ กองการบินพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ)
.........ธันวาคม ๒๔๗๓ จากการที่มีเครื่องบินของประเทศต่าง ๆ ได้แวะมาลงที่สนามบินดอนเมืองมีจำนวนมากขึ้น กรมอากาศยาน จึงออกคำชี้แจงเรื่องเครื่องบินต่างประเทศบินลงในราชอาณาจักร โดยแบ่งสนามบินออกเป็น ๒ ประเภท คือ "สนามบินทหาร" และ "สนามบินพลเรือน" พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ของเครื่องบินต่างประเทศที่มาลงที่สนามบินดอนเมืองซึ่งถือเป็นสนามบินสากลเพียงแห่งเดียว
.......๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๓ บริษัทการบินเมล์พานิช ซึ่งทำการบินเชิงพานิชย์ในประเทศ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทขนส่งจำกัด รัฐบาลจึงได้มอบภารกิจบางส่วนเกี่ยวกับการเดินอากาศจากกระทรวงกลาโหมให้กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมดำเนินงานแทน
.........๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๔ รัฐบาลได้มอบหน้าที่ด้านกิจการการบินบางส่วนจากกระทรวงกลาโหม (ซึ่งบุคลากรของกรมอากาศยานเป็นผู้ดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มแรก) ให้กระทรวงพานิชย์ และกระทรวงคมนาคมดำเนินการ โดย กรมอากาศยาน ยกเลิกการดำเนินการด้านไปรษณีย์ตั้งแต่บัดนั้น โดยกำหนดชื่อเป็น "กองการบินพาณิชย์" สังกัดกระทรวงเศรษฐการ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแยกการบินทหาร และการบินพลเรือนออกจากกัน
......พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ บริษัทขนส่ง จำกัด ( AERIAL TRANSPORT OF SIAM Co.,Ltd.) มีการบินขนส่งผู้โดยสารและไปรษณีย์ภัณฑ์ไปยังจังหวัดต่างๆมากขึ้นจากที่เดิมทางทหารเคยทำการบินอยู่ แล้วก่อนนี้ ประกอบด้วย
๑. ขอนแก่น - อุดร - หนองคาย - เวียงจันทน์
๒. ขอนแก่น - สกลนคร - นครพนม - มุกดาหาร
๓. พิษณุโลก - ตาก - แม่สอด
๔. เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน - แม่สะเรียง
๕. ดอนเมือง - หัวหิน - ชุมพร - บ้านดอน - ภูเก็ต
นอกจากนี้ยังทำการบินเดินทางไปต่างประเทศถึงฮานอยและย่างกุ้งด้วย
.......๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เครื่องบินแบบ Puss Moth ทะเบียน HS-PAA ของสายการบิน Aerial Transport Co ทำการบินช่วงระหว่างขอนแก่น ไปยังอุดรธานี ประสบอุบัติเหตุตกลงแถวอำเภอกุมภวาปี อุดรธานี ภายหลังเจอพายุ นับเป็นความสูญเสียครั้งแรกของ บริษัท ขนส่ง จำกัด
......การบินเชิงพานิชย์ ซึ่งใช้กำลังพลของกรมอากาศยาน มาสดุดในช่วงเกิดเหตุการณ์กบฎบวรเดช ซึ่งมีผลทำให้ภาพรวมของกิจการการบินทางทหาร และเชิงพานิชย์ เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่นาน ก็กลับฟื้นคืนชีพและดำเนินกิจการต่อ ... อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๔ พระราชกฤษฎีกานี้ ระบุไว้ชัดเจนระหว่างการบินของทหารและของพลเรือน หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม อีกหลายครั้ง ภาพโครงสร้างของการขนส่งทางอากาศด้านพลเรือนเริ่มเด่นชัดมากยิ่งขึ้น โดยมี พระราชบัญญัติโอนอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงหรือกรมซึ่งได้มีการปรับปรุงใหม่ พ.ศ. ๒๔๘๔ ตราไว้ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ตามมาตรา ๕ ได้กล่าวถึง "บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมเจ้าท่า กรมไปรษณีย์โทรเลข กรมรถไฟและราชการอันเกี่ยวกับกองบินพาณิชย์ ฯลฯ ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าหน้าที่"
.......จนกระทั่ง ธันวาคม ๒๔๘๔ เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น การปฏิบัติการบินพานิชย์ กระทำได้ด้วยความยากลำบากขึ้น เกรงจะได้รับอันตราย แต่ก็ไม่เคยเกิดเหตุร้ายใดใดกับสายการบินจนเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสหรัฐฯแบบ พี-๕๑ จากกองบิน ๒ ยิงเครื่องบินโดยสารแบบ แฟร์ไซลด์ ๒๔ เจ ของสายการบิน บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งทำการบินระหว่าง เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน - แม่สะเรียง - เชียงใหม่ ตก
..และอีกครั้งเมื่อ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ เครื่องบินโดยสารแฟร์ไซลด์ ๒๔ เจ ของสายการบิน บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งทำการบินระหว่าง เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน - แม่สะเรียง - เชียงใหม่ เครื่องสุดท้ายของบริษัท ถูกเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสหรัฐฯแบบ พี-๕๑ จากกองบิน ๒ ยิงตก ทำให้บริษัทต้องเลิกกิจการลงเพราะไม่มีเครื่องบินเหลือเลย นับเป็นสายการบินพานิชย์เดียวของไทย ที่ต้องได้รับความเสียหายจากภัยสงครามอย่างแท้จริง

รูปภาพของ รัชต์ รัตนวิจารณ์

รูปภาพของ รัชต์ รัตนวิจารณ์

รูปภาพของ รัชต์ รัตนวิจารณ์

ถูกใจ · ·


เรียบเรียงข้อมูล+วีดีทัศน์โดย KMTEAMDCA

ขอขอบคุณข้อมูลอธิบายจาก Kapook.com

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก

สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย,

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์


ปฏิทินภาพวาดนี้จัดทำโดย กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

ขอขอบคุณ พออ.ธเรศ ปุณศรี เอื้อเฟื้อภาพปฏิทิน

เขียนภาพวาดปฏิทิน โดย พอ.วันชัย สุวรรณะชฎ


หมายเลขบันทึก: 583832เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2015 05:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2015 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท