พลังใจฟื้นคืนสุขภาวะ


ขอบพระคุณคุณหมอสมรัก ป้าคิม ป้าหนู พี่กุ้ง คุณเกียง และทีมงานสมาคมสายใยครอบครัว ที่ช่วยกันนำแนวคิดฟื้นคืนสุขภาวะหรือฟื้นพลังชีวิตมาปฏิรูประบบ Peer Support สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต (Recovery Approach/Model) ที่ดร.ป๊อปได้จุดประกายไว้เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จนได้พบกับคุณ Anthony C. Stratford จาก mindaustralia.org.au

บันทึกนี้น่าจะเติมความฝันและความหวังแก่ผู้รับบริการที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต รวมทั้งครอบครัวที่รักและผู้ดูแลด้วย ซึ่ง สมาคมสายใยครอบครัวได้ริเริ่มโครงการที่มีคุณค่ามากมายตามแนวคิด การฟื้นคืนสุขภาวะหรือการฟื้นพลังชีวิต ซึ่งกัลยาณมิตรอ่านเพิ่มเติมแนวคิดสากลนี้ที่นี่ [Acknowledge Wikipedia.com]

ผมเองในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลไทย กพ.เพื่อไปศึกษาป.โท-เอก เฉพาะทางด้านกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ณ ประเทศออสเตรเลีย และได้ศึกษาทำรายงานหัวข้อ แนวคิดการฟื้นคืนสุขภาวะ นี้เมื่อปีคศ.2002 ในหลักสูตร Master of Clinical Science (Mental Health) Curtin University, Western Australia และได้ อ่านบทความหนึ่งที่ไม่น่าเชื่อว่า ผมจะเป็นคนไทยคนหนึ่งที่พัฒนาระบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตร่วมกับสหวิชาชีพต่างๆ ซึ่งศึกษาจากบันทึกที่เกี่ยวข้องได้ครับ [Acknowledge Dr. William A. Anthony]

เมื่อวานเป็นวันเด็กไทยที่ผมมีความสุขมากในการช่วยเหลือคุณ Anthony C. Stratford ตามอีเมล์ข้างล่างนี้

Dear Anthony,

I am very happy for working with you as a translator. I have gained lots of thing about peer support related recovery approach which I studied in Curtin University, Perth seven years ago. Here is the paper attached that ignited my inspiration to renovate a system of mental health service as one specialist of Thailand as a Psychosocial Occupational Therapist & Instructor.

However, I would note more information for you regarding the similarity and the difference of the peer support related recovery approach that I attempted doing research for the occupational therapy services development at Mahidol University.

ขอบพระคุณคุณเกียงสำหรับรูปภาพ



Similarity:
1. Thai clients including families and caregivers need hope, secure based empowerment, and supportive relationship.
2. Thai population has realized his or her spiritual well-being in a sense of coping strategies.
3. Thai culture emphasizes community based on spiritual well-being and supportive relationship.
Difference:
1. Thai medical professionals have involved peer support group based on hospitalized environment.
2. Thai clients including families and caregivers need self-management strategies, but they don't understand how to practice with self-determination in the real situation and context.
3. Thai societies need more psychoeducation and self-empowerment programmings that the hospitalized programmings.

Thank you so much with best regards,

Dr. Supalak Khemthong, PhD, OTR, NLP
Chair, Occupational Therapy Division
Faculty of Physical Therapy, Mahidol University

ผมจึงขอสรุปความดีงามของการนำแนวคิดนี้ในการฟื้นคืนสุขภาวะของผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทย ได้แก่

  • กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ Peer Support Group เป็นรูปธรรมหนึ่งของการสร้างระบบการพัฒนาพลังชีวิต/การฟื้นคืนสุขภาวะ ที่ต้องแยกจากระบบการให้บริการจากสถาพยาบาลสุขภาพจิต และต้องการกลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตและประสบความสำเร็จในการเยียวยาและการบำบัดฟื้นฟูทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครอบครัวกับผู้ดูแลอันเป็นที่รัก มาเป็นอาสาสมัครแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกฝน ให้คำปรึกษา เป็นพี่เลี้ยง และเป็นผู้ประเมินผลลัพธ์เชิงคุณภาพชีวิตและทักษะชีวิตที่ไปเรียนหนังสือและประกอบอาชีพต่อได้จริง ใช้เวลาฝึกในบ้านพักของกลุ่มให้มีความเป็นตัวของตัวเอง มีสัมพันธภา่พ มีความหวังและความฝันที่มีกระบวนการพัฒนาตนเองให้ฝันเป็นจริง และมีโอกาสได้ฝึกในชีวิตจริงที่บ้านและชุมชนจริงจนสามารถมีที่พักและที่ประกอบอาชีพได้จริงใน 3 เดือน-2ปี เช่น รัฐบาลออสเตรเลียจัดสรรงบประมาณต่อปี 15 ล้านบาท เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ และมีการติดต่อประสานงานทีมบุคลากรทางการแพทย์ในกรณีมีภาวะวิกฤตด้านสุขภาพจิต รวมทั้งเน้นความต่อเนื่องของการรับประทานยาที่ต้องสังเกตและปรึกษาจิตแพทย์ในการจัดการผลข้างเคียงของการใช้ยาและปรับขนานยาให้ลดลงและไม่มีผลกระบบต่อทักษะการเรียนรู้ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ
  • ในเมืองไทย ก็เคยมื "บ้านเติมรัก" และปิดกิจการลงทั้งๆที่ได้ช่วยเหลือผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตถึง 60 รายๆละ 3 เดือนที่กลับไปใช้ชีวิตได้จริงหลังวินิจฉัยทางจิตเวช แล้วก็ทำให้กลับมาเริ่มต้นเป็นหนึ่งในโครงการดีๆของสมาคมสายใยครอบครัว โดยที่ช่วงแรกได้รับความช่วยเหลือในการเกิดกระบวนกรมากมายจากคุณหมอสมรักด้วยการทดลองระบบแม่กุกับลูก ระบบแพทย์ ระบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน คือ ผู้ดูแลสอนผู้ดูแล ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตสอนผู้ที่เพิ่งมีประสบการณ์สุขภาพจิต (โดยไม่จำเป็นต้องแยกโรค) และกำลังพัฒนาให้ระบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นเชิงรุก เช่น โครงการฝึกทักษะชีวิตจิตสังคมที่บ้าน โครงการช่วยเหลือประกอบอาชีพ ฯลฯ
หมายเลขบันทึก: 583812เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2015 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2018 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นเรื่องสุขภาวะที่ช่วยในบ้านเราชัดเจนมาก

เสียดายที่บ้านเติมรักปิดกิจกรรมลงนะครับ

กิจกรรมที่น่าสนใจในปัจจุบันคือ โครงการฝึกทักษะชีวิตจิตสังคมที่บ้านครับ

ขอบคุณมากๆที่เขียนเรื่องดีๆให้อ่านครับ

นับเป็นปัญหาของพิ้นที่ของผมเช่นกัน คนไข้จิตเวชไม่ยอมมารับยา และฉีดยาตามนัด ต้องขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาและแก้ไขปัญหา...สวัสดีปีใหม่นะครับอาจารย์

ยินดีและขอบพระคุณมากครับพี่ขจิตและพี่ทิมดาบ ขอส่งสุขภาวะปีใหม่ครับผม

ขอบพระคุณกำลังใจจากพี่วัลลาด้วยครับผม ขอส่งสุขภาวะปีใหม่ครับผม

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋และพี่นงนาท

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท