การจัดการความรู้สำคัญขององค์กร


ผู้ประพันธ์ได้บรรยายถึงกระบวนการจัดทำ สินทรัพย์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพันธกิจ (Mission–Critical Knowledge Assets) ความท้าทายต่อไปคือ วินัยในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (รวมถึงการจะไม่ทำสิ่งใดด้วย) เพื่อความเจริญก้าวหน้าในอนาคต เป็นการใช้ประโยชน์จากความรู้เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantages)

การจัดการความรู้สำคัญขององค์กร

Managing Your Mission-Critical Knowledge

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

10 มกราคม 2558

บทความเรื่อง การจัดการความรู้สำคัญขององค์กร นำมาจาก Managing Your Mission- Critical Knowledge ประพันธ์โดย Martin Thrig และ Ian MacMillan ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review, January-February 2015

ผู้สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) มีรูปประกอบ สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/managing-your-mission-critical-knowledge

การจัดการความรู้

  • เมื่อผู้บริหารกล่าวถึง การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การสนทนามักจะเป็นเรื่องความท้าทายของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ (Analytics)
  • เพราะมีข้อมูลที่มากมายและสลับซับซ้อน เกี่ยวกับลูกค้า การปฏิบัติการ และบุคลากร
  • แต่เป็นการยากที่จะแปลงข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นความรู้ ที่ใช้ประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ได้

แผนที่สินทรัพย์ความรู้

  • ขั้นตอนแรก คือวางขอบเขตของความรู้สำคัญที่ต้องการ นั่นคือความรู้ที่มีสำคัญต่อพันธกิจ (Mission–Critical Knowledge)
  • ความรู้ในองค์กรมีอยู่มากมาย การจัดการความรู้แบบทั่ว ๆ ไปที่ใช้อยู่ จะเป็นภาระมากกว่าเป็นตัวช่วย
  • เป้าประสงค์ความรู้ที่ต้องการ คือความรู้ที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตในอนาคต (Future Growth) โดยให้แต่ละหน่วยงาน ระบุความรู้ระดับสูงที่มีความจำเป็นต่อความสำเร็จ (High Level Critical Knowledge) เพื่อจัดหมวดหมู่ความรู้ (Domains)

สินทรัพย์ด้านแข็งและด้านอ่อน

  • ความรู้ที่ต้องการคว้าไว้ มีทั้งสิ่งที่เป็นความรู้ด้านแข็ง (Hard) เช่น ด้านเทคนิค (Technical Proficiency) และความรู้ด้านอ่อน (Soft) เช่น วัฒนธรรมการเสี่ยงอย่างฉลาด (intelligent Risk Taking Culture)
  • ทั้งนี้ ยังหมายรวมถึงความรู้ที่ควรจะมี แต่ยังไม่มีด้วย

ความรู้นามธรรมกับความรู้รูปธรรม

  • ขั้นที่สองคือทำแผนที่เป็นช่องตะแกรง (Grid) แบ่งออกเป็น ความรู้ที่ไม่มีรูปแบบกับความรู้ที่มีรูปแบบ (Unstructured versus Structured) กับความรู้เฉพาะที่กับความรู้กระจัดกระจายทั่วไป (Undiffused versus Diffused)
  • เพื่อจะได้วางตำแหน่งของความรู้บนแผนที่ได้ถูกต้อง (ตามแนวคิดของ Sidney G Winter, Ikujiro Nonaka และ Max Boisot)

ความรู้ที่ไม่มีรูปแบบ (Unstructured or Tacit) และความรู้ที่มีรูปแบบ (Structured or Explicit)

  • ความรู้ของบุคคลที่เชี่ยวชาญ (Tacit Knowledge) มีประสบการณ์การทำงานสูง แก้ปัญหาที่ผู้อื่นแก้ไม่ได้ เป็นสิ่งที่บางครั้งอธิบายออกมาได้ยาก
  • ส่วนความรู้ที่เป็นรูปแบบ (Explicit Knowledge) จับต้องได้ สามารถถ่ายทอดได้ง่าย มีความชัดเจน อยู่ในรูปแบบของ ลิขสิทธิ์ ซอฟท์แวร์ หรือ สินทรัพย์ทางปัญญา

ความรู้เฉพาะ และความรู้ทั่วไป

  • ความรู้ที่หน่วยหนึ่งมี แต่หน่วยอื่นไม่มี ถือว่าเป็นความรู้เฉพาะที่ (Undiffused) เช่น ความสามารถในการติดต่อกับต่างประเทศ
  • แต่องค์กรโดยมาก ความรู้ขององค์กร จะรู้กันทั่วไป หรือ อาจเผยแพร่สู่นอกองค์กรก็ได้ เรียกว่า ความรู้ทั่วไป (Diffused) เช่น การพัฒนาตราสัญลักษณ์สินค้าสำหรับตลาดใหม่ เป็นต้น

การแปลผลแผนที่ความรู้

  • การอภิปรายแผนที่ความรู้ที่สำคัญขององค์กรกับผู้บริหารระดับสูง จะทำให้ค้นพบความคิดการสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต (Future Value Creation) ให้กับองค์กร
  • ข้อสังเกตจากความสัมพันธ์ของความรู้บนแผนที่ จะทำให้องค์กรรู้ว่ากลยุทธ์จะมุ่งเน้นทิศทางใด และมีแนวทางในการที่จะนำความรู้ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) เผยแพร่ให้กับบุคคลอื่นหรือหน่วยอื่นในองค์กรต่อไป

การระบุโอกาสใหม่

  • การอภิปรายแผนที่ความรู้ ก่อเกิดกลยุทธ์ใหม่
  • รวมถึงการทดลองเลื่อนหมวดหมู่ของความรู้ไปตามแกนแนวตั้งหรือแนวนอน ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ได้
  • แกนแนวตั้ง เป็นความรู้ในตัวบุคคล (อยู่ต่ำสุด) ถึงความรู้ที่เป็นรูปแบบ (อยู่สูงสุด)
  • แกนแนวนอน ความรู้เฉพาะ (อยู่ซ้ายสุด) จนถึงความรู้ทั่วไป (อยู่ขวาสุด)

การทดลองเคลื่อนย้ายหมวดหมู่ความรู้

  • เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่ง ว่าสมควรจะนำความรู้นั้น มาใช้ประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรได้อย่างไร เช่น ความรู้บางอย่างไม่ควรเปิดเผยทั้งหมด แม้จะจดลิขสิทธิ์ไว้ก็ตาม เพราะเมื่อถึงเวลาลิขสิทธิ์หมดอายุ ความลับบางอย่างก็ยังคงอยู่ในองค์กร
  • หรือความรู้บางอย่าง ควรให้ทุกหน่วยงาน ทุกสาขา หรือทุกภูมิภาค ได้มีความรู้ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ก็จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ทั่วไปได้ เป็นการแบ่งปันความรู้

กระบวนการพัฒนาความรู้

  • การนำความรู้ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) และการศึกษาแผนที่ความรู้ (Knowledge Assets Map) เป็นสิ่งที่คู่แข่ง (competitors) ไม่สามารถเลียนแบบได้ ไม่เหมือนกับความรู้หรือข้อมูลที่มีอยู่ทั่วไป ที่ใคร ๆ ก็สามารถเสาะแสวงหามาได้โดยง่าย
  • เพราะองค์กรเป็นเจ้าของความรู้นั้น ๆ โดยเฉพาะ และใช้ความรู้นี้ เป็นกลยุทธ์ในการยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

สรุป

  • ผู้ประพันธ์ได้บรรยายถึงกระบวนการจัดทำ สินทรัพย์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพันธกิจ (Mission–Critical Knowledge Assets) ความท้าทายต่อไปคือ วินัยในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (รวมถึงการจะไม่ทำสิ่งใดด้วย) เพื่อความเจริญก้าวหน้าในอนาคต เป็นการใช้ประโยชน์จากความรู้เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantages)

*****************************************

หมายเลขบันทึก: 583774เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2015 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2015 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท