ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๒๔. ชุมชนบริหารจัดการตนเอง



วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ มีการประชุม คณะกรรมการชี้ทิศทาง โครงการสร้างชุมชน บริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ ที่ SCB Park Plaza เป็นการประชุมที่ให้ความสุขแก่ผมอย่างยิ่งเพราะได้ประจักษ์ว่า ผู้ทำงานชุมชนจำนวนหนึ่งได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจความหมายของ ชุมชนบริหารจัดการตัวเอง" ในมิติใหม่ที่น่าจะทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างแท้จริง

ผมได้เล่าเรื่องโครงการนี้ไว้ ที่นี่

ในบันทึกดังกล่าว ผมได้แนะนำให้คนที่ทำงานในโครงการนี้ไปดูงานที่บ้านหนองกลางดง เพื่อตีโจทย์ ชุมชนบริหารจัดการตัวเอง" และบัดนี้ทีมงานได้ไปดูงานที่บ้านหนองกลางดงแล้วและวันนี้ได้มาเล่าให้ที่ประชุมฟังว่า เกิดความเข้าใจใหม่ หรือเข้าใจเพิ่มขึ้น อย่างไร ในนิยามของคำว่าชุมชนบริหารจัดการตัวเอง"

ผมชื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ฟังแกนนำของโครงการ ๔ คน คือ ติ๋ม, ต๋อง, พงษ์, เชษฐ์ ให้นิยามของคำนี้ ออกมาจากใจของตัวเอง โดยที่แต่ละคนให้นิยามในลักษณะ operating definition เชื่อมโยงกับบริบทของงานที่ตนทำ สี่นิยามจึงเติมเต็มซึ่งกันและกัน

ที่ชื่นใจ เพราะผมท้าเขาไว้ ในการประชุมครั้งที่แล้ว ว่าวิธีทำงานที่เขาทำกันอยู่ จะไม่นำไปสู่เป้าหมาย ชุมชนบริหารจัดการตัวเอง"เพราะยังขาดมิติที่สำคัญ ที่จะเห็นเองหากไปดูงานที่บ้านหนองกลางดง เมื่อเขามาเล่าให้ที่ประชุมฟังผมจึงได้เรียนรู้กระบวนการ ดวงตาเห็นธรรม"หรือ กระบวนการเรียนรู้" ที่เป็น reflective learning ที่ทรงพลังยิ่งนักที่นำมาเล่าต่อจะไม่มีทางสื่อสารได้ผมจึงนำบันทึกเสียงของการประชุมมา ลปรร. กับผู้สนใจ ที่นี่

สรุปว่า ชุมชนจะบริหารจัดการตนเองได้ต้องมีสมรรถนะต่อไปนี้

· มีข้อมูลให้มองเห็นภาพรวมและภาพเคลื่อนไหวของประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เป็นข้อมูลที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการประชาธิปไตยทางอ้อม

· มีกระบวนการมีส่วนร่วม ที่ทีมแกนนำของโครงการเรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง"ในการตัดสินใจ ภายใต้ข้อมูล

· จัดการทรัพยากรและกิจกรรมจากภายนอก ที่เข้ามาดำเนินการในชุมชนได้

· ก้าวข้ามการทำงานพัฒนาชุมชนแบบ project-basedไปสู่ community-basedคือสามารถมองเห็นภาพรวม หรือภาพใหญ่ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ของชุมชน

การทำงานพัฒนาชุมชนนั้น ไม่ได้ทำอยู่ในสุญญากาศ แต่ทำอยู่ในท่ามกลางความวุ่นวาย" (chaos) ที่มีสารพัดหน่วยงาน (พอช., สสส., สกว., พช., พม., อบต., ฯลฯ) เอาโครงการ หรือเอาทุนพัฒนาชุมชน เข้าไป โดยที่ชาวบ้านไม่มีกลไก บริหารจัดการด้วยตนเอง"แต่ชาวบ้านต้องทำกิจกรรมพัฒนาเหล่านั้น ตามการบริหารจัดการของแหล่งทุน ซึ่งเป็นคนหรือหน่วยงานภายนอก ชาวบ้านจึงไม่สามารถบริหารจัดการ ตนเองได้

ซาตอริ" ของทีมแกนนำของโครงการนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานพัฒนาชุมชน พันฒนาพื้นที่ เพื่อการเป็นชุมชนจัดการตนเอง พื้นที่จัดการตนเอง ในกระบวนทัศน์ใหม่ ที่ได้ผลจริง


Mapping กิจกรรม และโครงการ ช่วยให้เห็นภาพรวม


โมเดลการทำงานในขั้นตอนต่อไป


วิจารณ์ พานิช

๒๗ พ.ย. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 583697เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2015 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2015 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท