จำอย่างไรให้เก่ง?


ในชีวิตเราต้องรับข้อมูลต่างๆมากมาย เช่น นักศึกษาก็ต้องรับความรู้จากอาจารย์ที่สอน ซึ่งความจำที่ได้รับเข้ามาถ้าเราไม่ได้จดหรือทำความเข้าใจ หาข้อมูลเพิ่มเติม เราก็จะลืมมันไป เราเรียกว่า"จำแลง"ซึ่งจำได้เพียงชั่วครู่ ส่วนถ้าเรามีการบันทึก และจำเป็นที่จะต้องใช้หลายครั้ง เราเรียกว่า"จำลอง" ส่วนการที่เราได้จดบันทึก พบผู้รู้ผู้เชียวชาญ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ลองฝึกทำ เราเรียกว่า"จำเป็นอย่างยิ่ง" และท้ายสุดนั้น การที่เราบันทึกได้อย่างแยบยล เข้าใจลึกซึ้ง นำมาเรียบเรียงข้อมูล จนเกิดเป็นไดอารี่ส่วนตัว หรือตำราชีวิตนั่นเอง เราเรียกว่า"จำเป็นที่สุด"

ตำราชีวิตนั้นก็คือ หลักฐานเชิงประจักษ์นั่นเอง จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ เมื่อกลับมาอ่านแล้วเข้าใจ เมื่อให้ลงมือทำแล้วสามารถทำได้ ถ้าในทางกิจกรรมบำบัด หลักฐานเชิงประจักษ์นี้ก็คือ กรณีศึกษา(Case study)นั่นเอง ซึ่งต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเตืมจากวารสาร(Journal) ถึงข้อมูลเรื่องโรค วิธีการรักษา ที่เขียนเป็นแบบอย่างไว้ ทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพอย่างแท้จริง

ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน(Occupation) ทุกอาชีพสามารถสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ให้แก่ตนเองได้ เริ่มบันทึกอ่างค่อยเป็นค่อยไป มันจะช่วยสร้างประโยชน์ ทำให้เราจดจำข้อมูลนั้นได้นาน เมื่อเวลาผ่านไปเราก็สามารถนำกลับมาเปิดอ่านทบทวนได้ เพราะชีวิตคนเราต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลานั่นเอง


หมายเลขบันทึก: 583563เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2015 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2015 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท