หลักราชการและหลักสมรรถนะข้าราชการไทย


สมรรถนะหลักข้าราชการ ล้วนอาศัยวิธีการต่างๆที่กล่าวไว้ครอบคลุม ในหลักราชการ(พระราชนิพนธ์ ร.๖) หรือหลักการทำราชการ ทุกประการ หรือกล่าวง่ายๆก็คือ หากเราดำรงชีพโดยใช้หลักราชการแล้ว ก็เห็นว่าการประเมิน ผลงานและสมรรถนะนั้น ก็ไม่ใชเรื่องลำบากงานลำบากใจอย่างไรเลย เพราะหลักราชการนั้น กล่าวไว้ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งทำให้เราทราบว่า สมรรถนะที่ กพ. กำหนดนั้น จะใช้หลักการอะไร (ตามหลักราชการ)ในการทำให้ได้มา...เป็นการหาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ Key Success Factor KSF ให้เราทราบได้นั่นเองครับ

เปรียบเทียบหลักราชการ พระราชนิพนธ์รัชการที่ ๖ และหลักสมรรถนะข้าราชการ ถ่ายทอดลงสู่หลักการปฏิบัติงาน

วิธีการปฏิบัติงานให้ได้มาตามสมรรถนะด้านต่างๆ

..........วิธีการปฏิบัติงานให้ได้มาตามสมรรถนะด้านต่างๆโดยใช้แผนภูมิโยงความสัมพันธ์ ซึ่งอาจเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ตามความรู้ในแต่ละด้านที่ได้เรียนมา และแตกต่างกันตามวิธีคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนเทคนิดการแก้ไขปัญหา ความถนัด ทำให้การโยงในแผนภูมิ หรือการเลือกวิธีการปฏิบัติงาน การพัฒนาปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติราชการและการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามแต่บุคคล ซึ่งต่างกันตามประสบการณ์ที่มี และตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ


รูปขยายแบบละเอียดคลิ้กที่นี่ ==>> เปรียบเทียบหลักราชการกับหลักสมรรถนะข้าราชการXPS.xps

. ......จากแผนภูมิโยงทำให้ทราบว่า สมรรถนะหลักข้าราชการ ที่ ก.พ. กำหนด ล้วนอาศัยวิธีการต่างๆที่กล่าวไว้ครอบคลุม ในหลักราชการ(พระราชนิพนธ์ ร.๖) หรือหลักการทำราชการ ทุกประการ หรือกล่าวง่ายๆก็คือ หากเราดำรงชีพโดยใช้หลักราชการแล้ว ก็เห็นว่าการประเมิน ผลงานและสมรรถนะนั้น ก็ไม่ใชเรื่องลำบากงานลำบากใจอย่างไรเลย เพราะหลักราชการนั้น กล่าวไว้ครอบคลุมทุกด้านของสมรรถนะที่ ก.พ.กำหนด ซึ่งการทำแผนภูมิโยงทำให้เราทราบว่า สมรรถนะที่ กพ. กำหนดนั้น เราจะใช้หลักการอะไร (ตามหลักราชการ)ในการทำให้สมรรถนะตัวนั้นสำเร็จ...เป็นการหาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ Key Success Factor... KSF ให้เราทราบได้นั่นเองครับ

สรุปหลักราชการ (พระราชนิพนธ์ ร.๖)

สรุปหลักสมรรถนะข้าราชการ ตาม กพ.กำหนด

1. สมรรถนะหลัก (Core Competency: CC) หมายถึงทักษะ และคุณลักษณะที่ทุก คนในองค์กรจำเป็นต้องมี เป็นพื้นฐานที่จะนำองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสมรรถนะ หลักประกอบไปด้วย

  • รหัส ชื่อสมรรถนะหลัก
  • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation-ACH) ......จะปฏิบัติงานให้ได้ผลสัมฤทธิ์ จะต้องมี 1.ความสามารถ
  • บริการที่ดี (Service Mind-SERV)..........จะปฏิบัติงานให้ได้บริการที่ดี ต้องมี 7.ความรู้จักนิสัยคน ....
  • ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork-TW)...... 7. ความรู้จักนิสัยคน ..... 9.ความมีหลักฐาน......
  • จริยธรรม (Integrity-ING)....5 .ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่... 6. ความซื่อสัตย์ต่อคนทั่วไป .... 10.ความจงรักภักดี...
  • การสั่งสมความชำนาญในงานอาชีพ (Expertise-EXP).....1.ความสามารถ.... 2. ความเพียร........

2. สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency: FC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะที่บุคลากรจำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายที่ วางไว้ สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ ประกอบไปด้วย

  • รหัส ชื่อสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่...... (ตัวสีน้ำตาล คือเทคนิคของผู้เล่านะครับ การนำไปใช้งานกรุณา Fill in U self เพราะว่าเทคนิคของแต่ละคนอาจเหมือนและแตกต่างกันได้ครับ)
  • การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking-AT).....ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้มากกว่าผู้มีความรู้ใกล้เคียงกับเรา คือความรู้อาจเรียนเท่ากัน แต่การคิดวิเคราะห์บ่อยๆนานเข้าก่อให้เกิดปัญญา(1ความสามารถ)......
  • การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking-CT)....เมื่อคิดวิเคราะห์ให้มากให้กว้างแล้วจะเห็นน้ำหนักของปัจจัยเล็กๆหลายๆตัวที่จะนำมาบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้(1ความสามารถ)...
  • การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking-INF)......เมื่อรู้ปัจจัยย่อยแห่งความสำเร็จ ก็พยายามสืบเสาะหาและถามไถ่ ดูว่า จะหาข้อมูลเรื่องนั้นๆได้ที่ไหน ใครทำหน้าที่เก็บข้อมูลนี้ เก็บอย่างไร ได้นำไปวิเคราะห์ไหม นำไปต่อยอดอย่างไรกันดี(1ความสามารถ)...
  • ความเข้าใจข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cultural Sensitivity-CS)...การรู้เท่าถึงการณ์.ต้องทำความเข้าใจวัฒนธรรมธรรมเนียมของต่างชาติ ในเรื่องต่างๆเช่น การเคารพสิทธิเสรีภาพ วัฒนธรรมความปลอดภัย วินัยเรื่องเวลา ความรับผิดชอบ ซื่อตรงคิดตรงๆแบบมีเหตุผลเป็นหลักไม่ใช้อารมณ์เป็นหลัก(4การรู้เท่าถึงการณ์)....
  • ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal Understanding-IU).......กำลังดำเนินการ เดี๋ยวมาต่อครับ
  • การดำเนินการเชิงรุก (Proactiveness-PROAC)
  • ความถูกต้องของงาน (Concern for Order-CO)
  • ความมั่นใจของตนเอง (Self Confidence-SCF)
  • ความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Flexibility-FLX)
  • ศิลปะการสื่อสารจูงใจ (Communication & Influencing-CI)
  • สุนทรียภาพทางศิลปะ (Aesthetic Quality-AQ)
  • การประสานงาน (Coordination-COOR)
  • การวางแผน (Planning-PLAN)
  • การติดตามงาน (Follow up-FO)
  • การเจรจาต่อรอง (Negotiation-NE)
  • การแก้ปัญหา (Problem Solving-PS)
  • การให้คำปรึกษา (Consultation-CONSULT)
  • การบริหารงานวิจัย (Research Management-RM)
  • การบริหารโครงการ (Project Management-PM)
  • การบริหารงบประมาณ (Budget Management-BM)
  • ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Literacy-ENG)
  • ความสามารถในการใช้อุปกรณ์ IT (IT Literacy-IT)
  • ความสามารถในการจัดทำเอกสาร (Writing Literacy-WRITE)

3. สมรรถนะด้านการบริหาร (Management Competency: MC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะด้านการบริหารจัดการที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีหน้าที่ในระดับ จัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายวางไว้ ซึ่งสมรรถนะด้านการบริหาร ประกอบไปด้วย

  • รหัส ชื่อสมรรถนะด้านการบริหาร
  • วิสัยทัศน์ (Visioning-VI)
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management-CM)
  • การให้อำนาจผู้อื่น (Empowerment-EM)
  • การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management-PM)
  • การพัฒนาศักยภาพคน (Caring & Developing Others-DEV)

4. ความรู้ตามสายงาน (Job Competency: JC) หมายถึง ความรู้เฉพาะสายงานที่ จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บรรลุเป้าหมายวางไว้ ซึ่งความรู้ตามสายงาน ประกอบไปด้วย

  • รหัส ชื่อสมรรถนะตามสายงาน
  • ความรู้ด้านงานทรัพยากรบุคคล (Human Resources Knowledge)
  • การบริหารด้านงานสารสนเทศ (Information Technology Management)
  • ความรู้ด้านงานบัญชี (Accounting Knowledge)
  • ความรู้ในด้านงานคลังพัสดุและจัดซื้อ (Store and Purchasing Knowledge)

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/582728

........สรุปว่าการที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเกณฑ์ตามสมรรถนะที่กำหนด ของแต่ละคน แต่ละปสก ที่รับมาล้วนใช้วิธีปฏิบัติหลักๆที่เหมือนกัน แต่อาจแตกต่างในการนำวิธีการ หรือ ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ Key Success Factor.... KSF มาใช้ปรับปรุงการทำงานต่างกัน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้และวิธีคิด ตลอดจนศิลปการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน อาจเด่นด้านที่ไม่เหมือนกัน ถนัดในเรื่องไม่เหมือนกัน แต่สมรรถนะหลักๆจะเหมือนกัน

...... ซึ่งก็คงต้องเรียนรู้ ....ทดลอง...ทำ.....จนเกิดวิธีปฏิบัติงานที่ดี .....แล้วทุกท่านจะหาเทคนิคหรือวิธีการด้วยตนเอง ที่จะทำให้บรรลุผลต่างกัน ทั้งนี้การนำหลักราชการ... มาปฏิบัติล้วนทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสมรรถนะที่ กพ. กำหนดได้แน่นอนครับ ถ้าแต่ละท่านลองทำเชื่อมโยงดูแล้ว น่าจะเห็นภาพแล้วรู้สึกมีแรงบันดาลใจให้ทำงานไม่มากก็น้อย เพราะอย่างน้อยก็ได้รู้ว่า KSF ในแต่ละสมรรถนะ... จะได้มาง่ายหรือต้องใช้เวลา.... แบบนี้ทำให้เกิดความท้าทายในการพัฒนาสมรรถนะของตนเองกันด้วยครับ.....

..... อ่านเรื่องสมรรถนะ Competency และ Functioning Competency ต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/582728

..............................................................................................................

ที่มา : หมอโรจน์

หลักราชการ
พระนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2457 หนทางไปสู่ความสำเร็จประกอบด้วย คุณวิเศษ 10 ประการ

1. ความสามารถ เป็นสิ่งที่ต้องการสำหรับคนที่จะใช้เป็นผู้บังคับบัญชาคน ไม่ว่าในหน้าที่ฝ่ายทหารหรือพลเรือน และเมื่อผู้ใหญ่เขาจะเลือกหาผู้บังคับบัญชาคน เขาย่อมจะเพ่งเล็ง ดูความสามมารถมากกว่าภูมิวิชา (ถ้าเขาคิดถูก)

2. ความเพียร คำว่า " เพียร " แปลว่า " กล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความยากและบากบั่น เพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้ โดยใช้ความอุตสาหะวิริยะภาพ มิให้ลดหย่อน " ผู้ที่ตีราคาว่าเป็นคนมีวิชามักจะลืมคำนึงข้อนี้ จึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดผู้มีวิชาน้อยกว่าตน จึงกลับได้ดีมากกว่า

3. ความไหวพริบ แปลว่า " รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือนว่า เมื่อมีเหตุนั้นๆ จะต้องปฏิบัติอย่างนั้นๆ เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไป และรีบทำการอันเห็นควรนั้นโดยฉับพลันทันท่วงที "

4. ความรู้เท่าถึงการ แปลว่า " รู้จักปฏิบัติการให้เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง "

5. ความซื่อตรงต่อหน้าที่ คือ " ตั้งใจกระทำกิจการซึ่งได้รับมอบให้เป็นของตนนั้นโดยซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความอุตสาหะวิริยะภาพเต็มสติกำลังของตน ด้วยความมุ่งหมายให้กิจการนั้นๆ บรรลุซึ่งความสำเร็จโดยอาการอันงดงามที่สุดที่จะพึงมีหนทางจักไปได้ "

6. ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป หนทางที่ดีที่สุดจะดำเนินไปเพื่อให้เป็นที่นิยมแห่งคนทั้งหลายมีอยู่ ต่อความประพฤติซื่อตรงทั่วไป รักษาตนให้เป็นคนควรที่เขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้ โดยรักษาวาจาสัตย์ พูดอะไรเป็นนั่นไม่เหียนหันเปลี่ยนแปรคำพูดไป เพื่อความสะดวกครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง ไม่คิดเอาเปรียบใครโดยอาการอันเขาแข็งไม่ได้ ไม่ยกตนข่มท่าน หาดีใส่ตัว หาชั่วใส่เขา เมื่อผู้ใดมีไมตรีต่อก็จอบแทนด้วยไมตรีโดยสม่ำเสมอ

7. ความรู้จักนิสัยคน ถ้าเป็นผู้น้อยเป็นหน้าที่จะต้องศึกษาและสังเกตให้รู้นิสัยของผู้ใหญ่ ต้องรู้ว่าความคิดเห็นเป็นอย่างไร ชอบการทำงานอย่างไร ชอบหรือชังอะไร เมื่อทราบแล้วก็อาจที่จะวางความประพฤติและทางการทำงานของตนเองให้ต้องตามอัธยาศัยของผู้ใหญ่นั่นได้ ที่แนะนำเช่นนี้ไม่ใช่แปลว่าให้ สอพลอ เป็นแต่ให้ผ่อนผันให้เป็นการสะดวกที่สุดแก่การเท่านั้น................... .......ถ้าตนเป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาคนมากๆ การรู้จักนิสัยก็ยิ่งมีความจำเป็นยิ่งขึ้น เพราะเราไม่ใช่ฝูงแกะ ซึ่งจะต้องไม่ได้โดยวิธีร้อง " ยอ " หรือเอาไม้ไล่ตี

8. ความรู้จักผ่อนผัน คนโดยมากมีหน้าที่บังคับบัญชา ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนมักเข้าใจคำว่า " ผ่อนผัน " นี้ผิดกันอยู่เป็นสองจำพวกคือ จำพวก ๑ เห็นว่า การผ่อนผันเป็นสิ่งทำเสียระเบียบทางการไป จึงไม่ยอมผ่อนผันเลยและแผลงคำว่า " ผ่อนผัน " ว่า " เหลวไหล " เสียทีเดียว อีกจำพวก ๑ เห็นว่าประการใดๆ ทั้งปวง ควรจะคิดถึงความสะดวกแก่ตัวเองและบุคคลในบังคับบัญชาของตนเป็นที่ ๒ จึงยอมผ่อนผันไปเสียทุกอย่าง จนเสียทั้งวินัยและแบบแผนและหลักการทีเดียว ก็มีทั้ง ๒ จำพวกนี้เข้าใจผิดทั้ง ๒ พวก

9. ความมีหลักฐาน
1.มีบ้านเป็นสำนักมั่นคง คือ ไม่ใช่เที่ยวเกระเกเส ไม่แอบนอนซุกๆ ซ่อนๆ หรือเปลี่ยนย้ายจากที่โน่นไปที่นี่ เป็นหลักลอย
2.มีครอบครัวอันมั่นคง คือ มีภรรยาเป็นเนื้อเป็นตัว ซึ่งจะออกหน้าออกตาไปวัดไปวาได้ ไม่ใช่หาหญิงแพศยามาเลี้ยงไว้สำหรับความพอใจชั่วคราว
3.ตั้งตนไว้ในที่ชอบ คือ ไม่ประพฤติเป็นคนสำมะเลเทเมา สูบฝิ่นกินเหล้าหรือเป็นนักเลงเล่นเลี้ยงและเล่นผู้หญิง ซึ่งล้วนแต่เป็นอบายมุข

10. ความจงรักภักดี แปลว่า " ความสละตน เพื่อประโยชน์แห่งท่าน " คิดถึงแม้ว่าตนตนจะได้รับความเดือดร้อน ความรำคาญ ตกระกำลำบาก หรือจนถึงต้องสิ้นชีวิตเป็นที่รักก็ย่อมได้ทั้งสิ้น เพื่อมุ่งประโยชน์แท้จริงให้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/329611 ข้อความ ร.6 จากเวบเพจหมอโรจน์ ของคุณครับ


.........................................................................................................................................................


หมายเลขบันทึก: 583238เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2014 02:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2017 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท