หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด(ตามรอย 6 วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร 2)


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เชียงใหม่ เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนานที่เกี่ยวข้องกับเจ้านายฝ่ายเหนืออย่างไม่มีข้อสงสัย

แต่ผู้เขียนอยากจะเพิ่มเติมข้อมูลจากคำบอกเล่าภายในครอบครัวเกี่ยวกับหลวงโยฯและวัดพระสิงห์

หลวงโยฯกับหอไตรวัดพระสิงห์

ขอเริ่มจากภาพปริศนาที่เกี่ยวข้องกับหอไตรวัดพระสิงห์

ภาพที่๑ เป็นภาพวัดพระสิงห์ครั้งที่ยังรกเรื้ออยู่ มีวิหารใหญ่ ๑ หลัง( ภาพจากหนังสือประวัติวัดพระสิงห์ )

ภาพที่ ๒ เป็นภาพวิหารหลังเดิม แต่มีรูปเจดีย์องค์เล็กทรงพม่า มีสิงห์ประดับ มีกำแพงวัด มีพระเจดีย์องค์ใหญ่และหน้าพระเจดีย์น่าจะเป็นอุโบสถสองสงฆ์ (ภาพจากหนังสือประวัติวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ )

โปรดสังเกตว่ามีเจดีย์พม่าองค์เล็ก มีสิงห์ประดับ แต่ระหว่างเจดีย์องค์เล็กและสิงห์เป็นที่ว่างมีแต่ต้นไม้เป็นฉากอยู่ไกลๆแต่ไม่มีหอไตร

ภาพที่ ๓ เป็นภาพหอไตรวัดพระสิงห์ ซึ่งมีเจดีย์แบบพม่าองค์เล็กอยู่ด้านหน้าหอไตร

ซึ่งเป็นเจดีย์ที่หลวงโยฯสร้าง (จากคำบอกเล่าของพระครูวรกิจวิวัฒน์) เจดีย์ถูกรื้อทิ้งในปี ๒๕๐๔ ( ภาพจากหนังสือประวัติวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ )

ภาพที่ 3.1เจดีย์เล็กหน้าหอไตรอีกมุมหนึ่ง ภาพจากหนังสือประวัติวัดพระสิงห์

3.2 หอไตรวัดพระสิงห์ในปัจจุบัน

3.3 ภาพปัจจุบันของหอไตรวัดพระสิงห์ที่ปราศจากเจดีย์องค์เล็ก เพราะเจดีย์ถูกรื้อทิ้งตั้งแต่ปี ๒๕๐๔

จากภาพ 1-3 น่าจะเป็นหลักฐานที่ทำให้สรุปได้ว่า หอไตรที่เข้าใจกันว่ามีประวัติการสร้างมายาวนานนั้น ตามความเป็นจริงสร้างเมื่อไม่นานนี้เอง (ประมาณร้อยกว่าปี) และสร้างหลังเจดีย์พม่าองค์เล็ก

3.4 ด้านหน้าหอไตรวัดพระสิงห์ มีดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯคล้ายดอกจันประดับอยู่ทั่วไป

3.5 ด้านหลังหอไตรก็ยังคงประดับด้วยดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯ

เหตุใดหอไตรวัดพระสิงห์จึงมีดอกสัญลักษณ์ของหลวงโยฯอยู่ทั่วไป?

3.6 ซูมดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯที่ด้านหน้าหอไตรวัดพระสิงห์ เชียงใหม่



3.7 ด้านข้างหอไตรวัดพระสิงห์ ที่นอกจากจะมีดอกสัญลักษณ์รูปดอกจันไปทั่ว แม้แต่หม้อดอกยังมีดอกสัญลักษณ์เป็นดอกไม้หลายกลีบประดับ

เนื่องจากพระครูวรกิจวิวัฒน์เล่าไว้ด้วยว่าหลวงโยฯได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการบูรณะวัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน โดยเฉพาะที่เป็นศิลปะพม่า และพบว่าหอไตรวัดพระธาตุหริภุญไชยมีความคล้ายคลึงกับหอไตรวัดพระสิงห์ ทั้งยังมีดอกสัญลักษณ์คล้ายดอกจันประดับอยู่จึงขอนำเสนอไว้ด้วย

3.8 หอไตรวัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน


3.9 ดอกจันสัญลักษณ์หลวงโยฯที่หน้าประตูเข้าที่เก็บคัมภีร์ใบลานหอไตรวัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน

3.10 เทวดาปูนปั้นที่หอไตรวัดพระสิงห์

3.11เทวดาอีกองค์ที่หอไตรวัดพระสิงห์

เนื่องจากนักโบราณคดีได้ข้อสรุปแล้วว่า เทวดาที่วัดพระสิงห์มีต้นแบบจากเทวดาวัดเจ็ดยอด จึงขอนำเสนอรูปเทวดาวัดเจ็ดยอดให้พิจารณาดังนี้


3.12 พระเจดีย์วัดเจ็ดยอดที่เลียนแบบมาจากพุทธคยา ประดับด้วยเทวดาในอิริยาบถต่างๆ

3.13 อีกมุมหนึ่งของพระเจดีย์วัดเจ็ดยอดที่ประดับด้วยเทวดาปูนปั้นที่งดงาม

เทวดาแต่ละองค์ประดับองค์ด้วยดอกไม้ทั้งสิ้น แต่ขอนำเสนอเฉพาะองค์ที่ประดับด้วยดอกไม้หลายกลีบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหลวงโยฯเท่านั้น

3.14 เทวดาองค์ขวาเป็นองค์ที่น่าจะงดงามที่สุดและถูกนำเสนอในเอกสารทางวิชาการมากมายมีดอกสัญลักษณ์ประดับอยู่ที่พระนลาฎ ส่วนองค์ซ้ายประดับด้วยดอกสี่กลีบ

3.15 ซูมเทวดาองค์ขวามีดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯประดับอยู่ที่พระนลาฏเป็นดอกไม้หลายกลีบ

3.16 ดอกไม้ประดับฉากของเทวดาองค์นี้ก็เป็นดอกไม้หลายกลีบสัญลักษณ์ของหลวงโยฯ

********

3.17 มีดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯเป็นดอกไม้หลายกลีบที่พระนลาฏของเทวดาองค์นี้เช่นกัน

3.18 ซูมดอกไม้หลายกลีบที่ฉากหลังเทวดา


3.19 จุดนี้ก็มีดอกไม้หลายกลีบสัญลักษณ์ของหลวงโยฯ

3.20 เทวดาองค์มีดอกไม้หลายกลีบแอบอยู่ใต้ท้องแขน

หากดอกไม้หลายกลีบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหลวงโยฯในรูปเทวดาที่นำเสนอก่อนหน้านี้

เป็นความบังเอิญ เหตุใดช่างจึงมีความจำเป็นต้องแปะดอกไม้หลายกลีบที่ใต้ท้องแขนเทวดาองค์นี้ด้วย (ปัจจุบันในปี พ.ศ.๒๕๕๗ อาจจะสังเกตเห็นยากเพราะคราบตะไคร่เกาะ)

อนึ่งหอไตรวัดพระสิงห์นี้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมคล้ายกับหอไตรวัดพระธาตุหริภุญไชยที่พระครูวรกิจวิวัฒน์เล่าไว้เช่นกันว่าหลวงโยฯได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการสร้างหรือบูรณะโดยเฉพาะที่เป็นศิลปะพม่า

4. หอไตรวัดพระธาตุหริภุญไชย


หลวงโยฯร่วมสร้าง/บูรณะวิหารวัดพระสิงห์

5 ภาพครูบาศรีวิชัยครั้งรับนิมนต์เจ้าแก้วนวรัฐมาบูรณะวัดพระสิงห์ในเดือนพ.ค.๒๔๖๗

หลวงโยนะการพิจิตรในฐานะศรัทธาหลักนั่งกับพื้นตรงกลางหน้าครูบาศรีวิชัย และยังมีบุตรชายหลวงโยฯในภาพอีก ๕ คน สามเณรที่ยืนด้านหน้าครูบาฯคือครูบาดวงดี วัดท่าจำปี

ภาพนี้ยืนยันว่าหลวงโยฯเคยไปร่วมสร้าง/บูรณะวิหารหลังนี้อย่างแน่นอน

(ภาพจากบ้านคุณอรอนงค์ อุปโยคิน เหลนหลวงโยฯสายนายโมส่วย)

6. ภาพวิหารหลังที่ครูบาศรีวิชัยถ่ายภาพกับเจ้าแก้วนวรัฐ หลวงโยฯและสานุศิษย์

(ภาพจากหนังสือประวัติวัดพระสิงห์ เชียงใหม่)


หลวงโยฯ กับวิหารลายคำวัดพระสิงห์ ฯ เชียงใหม่


สำหรับวิหารลายคำวัดพระสิงห์ มีคำบอกเล่าจากบุคคลในครอบครัวดังนี้

ตัวข้าพเจ้าเองทราบจากญาติผู้ใหญ่ตั้งแต่ข้าพเจ้ายังเล็กว่า หลวงโยนะการพิจิตรเป็นผู้สร้างวิหารลายคำวัดพระสิงห์ นอกจากนั้นยังได้รับคำยืนยันอีกจาก

พระครูวรกิจวิวัฒน์ (ตุ๊เติง)(มรณภาพ) อดีตเจ้าคณะเขตคลองเตย-วัฒนา อดีตเลขานุการรองแม่กองธรรมสนามหลวง อดีตเจ้าอาวาสวัดภาษี คณะทำงานเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร

โดยท่านเล่าให้ข้าพเจ้าเมื่อครั้งที่ท่านมาอาพาธที่เชียงใหม่ฟังว่า เมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาที่วัดพระสิงห์ (ประมาณปี๒๔๙๕) ท่านเห็นชื่อของหลวงโยฯหน้าวิหารลายคำว่า โยนะการพิจิตรผู้สร้าง

ภายหลังท่านย้ายไปจำพรรษาที่วัดหนองคำและวัดปากน้ำตามลำดับ ท่านพระครูไม่เข้าใจว่าเหตุใดชื่อหลวงโยฯหน้าวิหารลายคำจึงหายไป

เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๘ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบช่างอุดม ไชยวังโส(ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔) ท่านเคยช่วยบิดาของท่านบูรณะวิหารลายคำวัดพระสิงห์ ท่านเล่าว่า เคยมีตัวหนังสือเขียนหน้าวิหารลายคำว่า โยนะการพิจิตร ผู้สร้าง เมื่อมีการทาสี ทางวัดได้บอกให้ช่างทาสีทับไป

7. มีดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯที่โขงทางเข้าวิหารลายคำวัดพระสิงห์ ฯ

7.2 มีดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯถึงสามชั้น คือ ชั้นที่๑ ที่ฐานพระพุทธสิหิงห์

และชั้นที่สองที่แท่นแก้ว(ฐานชุกชี)


8 ดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯสองชั้นที่แท่นแก้วในวิหารลายคำวัดพระสิงห์

9 มีดอกสัญลักษณ์และงูเล็กทั่ววิหาร (หลวงโยฯเกิดปีมะเส็ง)

10 แม้แต่สัตภัณฑ์ในวิหารลายคำวัดพระสิงห์ก็ยังมีดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯประดับอยู่


11. ดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯเป็นดอกไม้หลายกลีบที่โขงทางเข้าอุโบสถสองสงฆ์วัดพระสิงห์ เชียงใหม่


12. ดอกสัญลักษณ์สำคัญของหลวงโยฯที่หน้ามุขห้องพระหลวงโยฯที่เฮือนหลวงบ้านของหลวงโย ฯ

(ปัจจุบันอยูในโรงแรมเพชรงามเชียงใหม่ )

13.ดอกสัญลักษณ์อีกแบบหนึ่งของหลวงโยฯที่ด้านข้างวิหารลายคำวัดแสนฝาง เชียงใหม่

อีกวัดหนึ่งที่หลวงโย ฯมีส่วนสร้าง/บูรณะ

14. ดอกสัญลักษณ์หลวงโยฯที่พระเจดีย์วัดเสาหิน เชียงใหม่





เรื่องโดยนางศรีสุดา ธรรมพงษา หลานหลวงโยนะการพิจิตร

ภาพโดย อ.ไพศาล สุกใส

นำเสนอ โดย ผ.ศ.ดร.กัลยา ธรรมพงษา



หมายเลขบันทึก: 583191เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2014 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2014 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จากหลักฐานที่อาจารย์เล่าว่าพบดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำหลวงโยนะการพิจิตรในหลายๆ ที่ แสดงว่าท่านได้เป็นผู้มีส่วนอันสำคัญในการบูรณะวัดต่างๆ ทั้งในเชียงใหม่ และลำพูนใช่มั๊ยคะ

ขอประทานโทษนะคะถ้าจะขอเรียนถามว่า อาจารย์น่าจะเป็นญาติของหลวงโยฯ ถูกมั๊ยคะ


ต้องขอบคุณมากนะคะที่ให้ความสนใจในเรื่องราวของหลวงโย ฯ

GD ไม่ได้เป็นญาติของหลวงโย ฯค่ะ แต่ผู้ที่ศึกษาเรื่องราวของท่านอย่างจริงจังมานานคือ คุณศรีสุดา ธรรมพงษา เป็นหลานแท้ ๆของหลวงโย มารดาของคุณศรีสุดา เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของหลวงโย ฯ เพิ่งเสียชีวิตประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาค่ะ คุณศรีสุดาและ GD ใชันามสกุลเดียวกันเพราะต่างก็เป็นสะใภ้ของ ธรรมพงษา ค่ะ

คุณศรีสุดาปรารภว่า คุณตาคือหลวงโย ฯ ได้ทำคุณประโยชน์ไว้มากมายต่อแผ่นดินล้านนาและเชียงใหม่ในยุคสมัยของท่าน จึงอยากรวบรวมและเผยแพร่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่าน

การพบดอกสัญลักษณ์หลวงโย ฯในหลาย ๆที่ แสดงว่าท่านได้มีส่วนอันสำคัญในการบูรณะ หรือสร้างเอาไว้เป็นการยืนยันคำบอกเล่าที่เราทราบมาก่อน ในกรณีที่เราไม่มีข้อมูลมากนักมาก่อน แม้ว่าเราค่อนข้างมั่นใจก็ยังมิอาจฟันธง จึงเป็นสมมุติฐานที่รอการตรวจสอบต่อไปจากผู้รู้และนักวิชาการที่สนใจค่ะ

...ด้วยความชื่นชมในความงดงามของสถาปัตยกรรมที่มีประวัติเรื่องราวความเป็นมา...มีคุณค่ามากนะคะ...

ขอส่งสุขภาวะปีใหม่ด้วยความเคารพ นับถือ และขอบพระคุณมากครับผม

ขอสาธุๆที่อาจารย์นำเสนอด้วยครับ

ได้ข้อมูลจำนวนมาก

ชอบใจลายปูนปั้น

ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆในปีใหม่นี้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท