พระคุณครู l รักวัวให้ผู้รักลูกให้ตี


เมื่อเช้าครูเมตตาโทรมา ถามเรื่อง "คิดว่าตนเองสอนยากไหม"

ตอบท่านตามจริงว่า "สุด ๆเจ้าค่ะ"

เมื่อก่อนไม่เคยรู้ว่า ตนเองจะสอนยากสอนเย็นอะไรขนาดนี้ บอกตรง

ติดนิสัย กูเก่งมาแต่ไหนแต่ไร

แต่พอจะลงมือทำจริง ๆ กับ กร่อย ไม่ได้เรื่อง ซะทุกที

ครูบอกว่า "ท่านถามตนเองว่า ทำไมถึงต้องลงไม้ลงมือกับติ๋ว"

คำตอบที่ตอบครูเมื่อเช้าแบบใจสว่างวาบว่า

"ทุกครั้งที่ครู ลงไม้ลงมือ หรือ เอ็ดตะโล"

ใจหนูตอนนั้นมันจะหนัก ๆ แน่น ๆ โกรธ ๆ เครียด ๆเพ้อ ๆ เหม่อ หลง ๆต่างกรรมต่างวาระ"

ทุกครั้งที่ครูลงมือ จิตหนูจะหลุดจากสภาพ เน่า ๆ แน่น ๆ โกรธ เหมือนใจหลุดจากการจองจำของกิเลสก็ว่าได้ค่ะ

อย่างครั้งแรกที่สังเกตเห็นกับตนเอง

คือเกือบจะสี่ปีมาแล้วค่ะตอนนั้นขับรถกลับจากพาครูไปทำธุระจากอุบล

ทั้งขาไปและกลับเป็นความรู้สึกเครียด ๆ กังวล ๆ กลัว

แต่พอกลับเข้าวัดมา หนูพูดจาไม่รู้เรื่อง ถามอะไรตอบมั่ว ๆ ครูฟาดฝ่ามือมาโดนหน้า พลั๊วะ เท่านั้นแหละ

"จิตข้างในสว่างวาบ เกิดปีติน้ำตาคลอ"

จนเป็นสภาวะปีติแบบนั้นค้างอยู่อย่างนั้น 2 วัน จนพี่ที่มาภาวนาด้วยกันทักว่า หน้าเปลี่ยนดูสว่างขึ้น

รู้กับตนเองแล้วยิ้มว่า "ได้ของดี โดนฝ่ามืออรหันต์เข้าให้ จนจิตหลุดจากสภาวะครอบงำของกิเลสไปชั่วขณะ"

แต่เพราะที่ผ่านมาหนูยังมีกิเลส และไม่ค่อยเพียร

เมื่อไหร่ที่กิเลสครอบงำ แล้วหนูไม่สู้ แต่มันยังหน้ามึนไปหาครู

ท่านก็จัดการซะแบบไร้รูปแบบ

ถ้ามองด้วยตาของคนแบบโลก ๆ ก็จะว่า ครูทำร้ายหนู

แต่น้อยคนที่จะมีตาปัญญามองเห็นเข้าไปในจิตว่า

"พอครูลงมือลงไม้ แล้ว จิตข้างในหนูสว่างขึ้น พ้นจากการครอบงำ หรือตกเป็นทาสของกิเลส พอจะมีสติปัญญามาบำเพ็ญเพียรต่อไปได้"

หนูเป็นลูกศิษย์ที่ จิตใจพัฒนาขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ก็เพราะวิธีแบบนี้ของครู

ท่านจะตีกิเลสในใจหนูขึ้นมา แล้วหาวิธีให้หนูได้เห็นมันชัด ๆ แล้วเรียนรู้ทำความเข้าใจ

ถ้าเห็นด้วยสติ ใจที่มีสมาธิ กิเลสในใจจะเหี่ยวแฟ๊บลงทันทีค่ะ แล้วท่านก็ใช้ได้ผลทุก ๆ ครั้งกับหนู

แต่หนูก็รู้อีกว่า ครูใช้กำลังภายในเยอะ แทบหมดแรงทุกครั้งที่ท่านทุ่มพลังช่วยหนู

เป็นความละเอียดที่ลงลึกไปถึงข้างในจิต ที่ผู้ไม่รู้ อาจจะพลาดพลั้งปรามาสครูได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงมากของการมาปรามาสครู เพราะใจท่านบริสุทธิ์มาก ๆ เจตนาต่อลูกศิษย์ หรือ ผู้คนท่านไม่มีเจตนาร้ายเลย มีแต่ช่วยเหลืออย่างไร้ข้อแม้

ท่านถามให้หนูทบทวน

"แล้วทำไมครั้งที่ครูลงมือกับน้องอีกคนที่เคยได้รับการฝึกมาคู่กัน ผู้คนถึงว่าร้ายครู"

หนูคิดย้อนจากตนเองว่า

"เพราะน้องไม่ได้เห็นใจของตนเองที่เปลี่ยนแปลงข้างใน ว่าหลุด หรือ คลายจากสภาวะครอบงำ เพราะมัวแต่โกรธ หรือ กิเลสในใจน้องเองเล่นงาน สิ่งที่ส่งมาจากใจน้องจึงเป็นกิเลสซ้ำว่า ถูกทำร้าย ซึ่งหนูก็เคยเป็น"

ก็เลยเป็นการสร้างบ่วงกรรมต่อไป ของเขาและผู้คนที่มาปรามาสครู

กรรมของการปรามาสผู้มีใจบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนั้นรุนแรงและให้ผลรวดเร็วมาก ในความเขลาของหนูเองก็ได้รับผลมาแล้ว บางเหตุปัจจัยก็ยังเสวยวิบากอยู่ ยังดีที่ครูเมตตาจับมือไว้สม่ำเสมอ จะว่าไปครูไม่เคยปล่อยมือใครเลยต่างหาก มีแต่คนอื่นเท่านั้นแหละที่ปล่อยมือจากครู ครูยังเมตตาผู้คนโดยการทำให้ดู ฝึกให้เป็น ผู้แพ้ แพ้แบบโลก ๆ แต่ชนะโดยธรรม ชนะกิเลสในตนเอง และที่สำคัญหนูได้ทั้งหลวงพี่ รวมถึงหลวงปู่ คอยย้ำเตือนสอนสั่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ชี้ทางว่า สิ่งที่ครูปฏิบัติต่อหนูประเสริฐที่สุดแล้วของผู้เป็นครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติต่อลูกศิษย์

ในประวัติครูบาอาจารย์ไปอ่านโลด องค์ไหนองค์นั้น ยิ่งองค์ที่จิตดื้อด้าน หรือ ติดสภาวะ ท่านไล่ลงเขามาแล้วก็มี

บางองค์แบบถึงใจ เพราะไปส่งการบ้านครูบาอาจารย์ว่า

"ตอนนี้ใจไม่มีความโกรธแล้ว"

ครูบาอาจารย์ไม่รอช้า เอ่ยสอบอารมณ์มาทันที "อีสัตว์นรก"

ผู้ที่กราบเรียนครูบาอาจารย์ว่า ไม่มีความโกรธ โมโหหน้าดำหน้า แดง สะบัดหน้า ชึ้บ แล้วบอกว่า

"หลวงพ่อเป็นพระไม่มีคุณธรรม" ครูบาอาจารย์แท้ ๆ ท่านงามอย่างนี้ ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องในใจลูกศิษย์ลูกหา เพื่อได้ขัดได้เกลา ได้แก้ได้ไข บางเคส ท่านไล่หนีจากวัดก็มี ตามแต่กุศโลบาย แล้วพอท่านเหล่านั้นผ่านสภาวะนั้น ๆ ได้ ก็กลับมากราบขอขมาและเจริญในธรรมกันทุกองค์ ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านท่านก็เคยมีบันทึกไว้ ว่าก็ไปรับกรรมตามเหตุปัจจัย

นำประเด็นที่ครูเมตตาจุดประกายมาใคร่ครวญต่อกับตนเอง

ครูทำให้เห็น เรื่อง "การเป็นผู้แพ้"

บอกให้เป็น ให้ฝึกให้หัด เชื่อฟัง ปฏิบัติตาม คำสอน พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์

บ่ลืนครู เชื่อครู ปฏิบัติข้อวัตร

ทางรอดของหนูมีแค่นี้ ถ้าปฏิบัติได้ยังไงก็รอด

ครูเป็นให้ดูด้วยการปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่างด้วย ความสม่ำเสมอ เสมอต้นเสมอปลาย

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ครูชี้ให้หนูได้ทำ ท่านได้ทำมาหมดแล้ว ผ่านมาหมดแล้ว จนไร้ข้อกังขา ท่านจึงนำมาสอนให้ลูกศิษย์ได้ฝึกฝนเพื่อความก้าวหน้าและเจริญต่อไป

สาธุ กราบขอบพระคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 582602เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท