ทุเรียนนอกฤดูกาลเพื่อการส่งออก


ใช้ปุ๋ยเลี้ยงยอดให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 20-20-20 จำนวน 1 กก. + น้ำตาลกลูโคส 500 กรัม + ฮิวมิค 300 กรัม / น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 - 10 วัน

 การผลิตทุเรียนหมอนทองนอกฤดูกาลเพื่อการส่งออก ตำบลกรุงชิง กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการปลูกทุเรียนในพื้นที่ บ้านห้วยแห้ง หมู่ที่ 9 ตำบลกรุงชิง เกษตรกรมีการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล จำนวน 13 ราย พื้นที่ 107 ไร่ ซึ่งนายประพันธ์ แดงพรหม ประธานคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกรุงชิง ซึ่งผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลมานานนัน 10 ปี แล้ว เล่าให้ฟังว่า การผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลโดยทั่วไป โดยเฉพาะการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลปัญหาที่พบในภาคใต้ซึ่งมีฝนตกชุก คือปัญหาการที่ทุเรียนมีการแตกยอดอ่อนและสลัดผลอ่อนทิ้ง ตามหลักวิชาการที่แนะนำ เมื่อทุเรียนแตกยอดอ่อนจะมีการให้ปุ๋ยเพื่อหยุดการแตกยอดอ่อน ผลที่ได้คือทุเรียนไม่ทิ้งผลอ่อน แต่หลังจากเก็บผลแล้ว ต้นจะไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ โรคเข้าทำลายได้ง่าย ฟื้นต้นยาก นายประพันธ์ ยังเล่าอีกว่าจากประสบการณ์ที่ผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล ใช้วิธีการที่แตกต่างไปคือ เมื่อทุเรียนแตกยอดอ่อน จะใช้ปุ๋ยเลี้ยงยอดให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 20-20-20 จำนวน 1 กก. + น้ำตาลกลูโคส 500 กรัม + ฮิวมิค 300 กรัม / น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 - 10 วัน ทุเรียนจะไม่สลัดผลอ่อนทิ้ง ผลไม่บิดเบี้ยว ตรงตามความต้องการของตลาด และสามารถใช้ได้หลายรุ่นในต้นเดียวกัน และหลังเก็บเกี่ยวแล้ว ต้นและใบยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม ผลที่ได้จะเล่าให้ฟังครั้งต่อไป


หมายเลขบันทึก: 58164เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จำได้แบบไม่แน่ใจว่าลูกประเป็นเม็ดพืชชนิดแข็งที่เอามาดองหรือต้มแล้วกินเนื้อด้านในของเปลือก รึป่าวครับแต่รสชาติหวานๆมันๆ อร่อย คนใต้จะขายคู่กับสะตอดอง

ยังไงก็ขอความรู้ด้วยนะครับขอบคุณครับ

  ขอแลกเปลี่ยนด้วย..ลูกประ เป็นภาษาใต้ ส่วนภาษากลางเรียก ลูกกระ น่าจะมาจากลักษณะของเปลือกลูกกระมีสัณฐานและสีคล้ายกระดอง เต่ากระ นอกจากจะดองเค็มอร่อยแล้ว คั่วทรายแบบเก๋าลัก ก็อร่อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท