ราคาน้ำมันจะต่ำอีกเท่าไร แล้วใครจะเดือดร้อน...


ภาพ: ระดับราคาน้ำมัน (ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล) ที่ ภาครัฐในแต่ละประเทศ ไม่ขาดดุลงบประมาณ

หรือ ไม่ต้องกู้ + ไม่ต้องนำเงินคงคลัง (เงินสำรอง) ออกมาโปะหนี้

ประเทศที่ค่าตัวเลขเกิน 70 = เดือดร้อน

เดือดร้อนมากที่สุด = 130 ขึ้นไป ได้แก่

  • อิหร่าน = 130
  • อัลจีเรีย = 132
  • เยเมน = 160
  • ลิเบีย = 317

.

ภาพ: ระดับราคาน้ำมันที่จะทำให้ งบประมาณสมดุล ไม่ต้องกู้ หรือนำเงินคงคลังออกมาใช้พอดี

ประเทศที่มีค่า 130 ขึ้นไป เดือดร้อนมากที่สุด = อิหร่าน (130) + เวเนซูเอล่า (160)

.

บิสเนซอินไซเดอร์ ตีพิมพ์เรื่อง "น้ำมันลงนานไหม ใครเดือดร้อนสุด",

ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ราคาน้ำมันดิบอยู่ในช่วง = 70-80 (ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล)

ทำให้เหลือแต่คูเวต กับกาตาร์ที่ยัง ไม่ต้องกู้ หรือนำเงินคงคลังออกมาใช้

.

สมดุลน้ำมัน ขึ้นกับ ปัจจัยหลัก 2 ข้อ คือ

  • ความต้องการ (demand)
  • การผลิต หรือ ปริมาณสินค้า (supply)

.

ช่วง 2-5 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่

(1). ความต้องการน้ำมันลดลง

จากเศรษฐกิจจีน ยุโรป ญี่ปุ่น ที่โตช้าลง

.

(2). ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหม่ ผลิตน้ำมันได้มากขึ้น

เช่น หินน้ำมันหรือเชลล์แก๊สจากสหรัฐฯ

ทรายน้ำมันจากแคนาดา

น้ำมันจากรัสเซีย ฯลฯ

.

ตอนนี้... ซาอุฯ อยากให้ราคาน้ำมันตก เพราะ

.

(1). เพื่อให้บริษัทผลิตแก๊ส-น้ำมัน (shell gas) ในสหรัฐฯ ขาดทุน

ซาอุฯ มีเงินสำรองมาก

.

แถมมีเหลือไปลงทุนต่างประเทศ

เช่น ซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น ฯลฯ

บริษัทในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ลงทุนด้วยเงินกู้

สายป่านไม่ยาว เท่าซาอุฯ

.

(2). เพื่อกดดันประเทศที่ไม่เป็นมิตรกับซาอุฯ เช่น

  • อิหร่าน ผู้สนับสนุนกลุ่มกบฏในเยเมน ทางใต้ของซาอุฯ
  • อิหร่าน ผู้สนับสนุน รัฐบาลซีเรีย
  • รัสเซีย ซึ่งสหรัฐฯ (พันธมิตรกับซาอุฯ) ไม่ชอบ

.

(3). เพื่อชะลอ การขุดเจาะแหล่งน้ำมัน-แก๊สใหม่ๆ

ข้อนี้ คล้ายๆ กับการ "สะกัดดาวรุ่ง" ไปในตัว

.

(4). เพื่อชะลอการ วิจัย-พัฒนา-ลงทุน พลังงานทางเลือก

พลังงานทางเลือกยิ่งโต โอเปคยิ่งเจ๊ง

ทุกวันนี้ ไม่ได้มีแต่พลังงานทางเลือกแบบเดิมๆ

เช่น แสงแดด พลังน้ำ พลังลม ความร้อนใต้ดิน

.............................................................

นักวิจัยทั่วโลก กำลังมองหาพลังงานทางเลือกใหม่ เช่น

.

(1). อิสราเอล

.

นักวิจัยอิสราเอล พัฒนาระบบการเปลี่ยนพลังงานเหลือใช้

เช่น ความร้อนจากโรงงาน โรงไฟฟ้า แสงแดด

เปลี่ยนแก๊สจากการเผาไหม้ หรือ คาร์บอนไดออกไซด์

รวมกับแก๊สในอากาศ

.

ได้เป็น "ซินแก๊ส (syngas)"

= คาร์บอนมอนอกไซด์ มีเธน ไฮโดรเจน รวมกัน

แก๊สนี้ นำกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิงใหม่ได้อีกรอบหนึ่ง

ทำให้ ได้พลังงาน

.

และ คาร์บอน เครดิต จากการลดแก๊สเรือนกระจกในยุโรป

การวิจัย-พัฒนา ก้าวไปถึง ระดับเตรียมผลิตจริงในเบลเยียมแล้ว

.

(2). จีน

ปีนี้ (2557) นักวิจัยจีนพบว่า

วัสดุคาร์บอนนาโน ที่ชื่อ "กราฟีน (graphene)"

มีคุณสมบัติเป็นสารตัวกรองพิเศษ (semipermeable membrane)

.

ยอมให้โปรตอน (H+) ผ่านได้

ไม่ยอมให้สารอื่นผ่าน

โปรตอน + อีเล็คตรอนรอบๆ = ไฮโดรเจน (H2)

ไฮโดรเจน ใช้ในเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell)

เพื่อสร้างพลังงาน + น้ำได้

.

(3). ญี่ปุ่น

.

นักวิจัยญี่ปุ่น กำลังศึกษาวิธีใช้ตัวเร่งปฏิกริยา (catalyst)

โครงสร้างคล้ายคะทาไลติก คอนเวอร์เตอร์ ที่กำจัดแก๊สพิษจากรถยนต์

ต่างกันตรงที่ว่า

ถ้าให้พลังงาน เช่น ความร้อนที่เหลือใช้จากโรงไฟฟ้า โรงงาน แสงแดด ฯลฯ

.

จะสร้างคาร์บอนมอนอกไซด์ + ไฮโดรเจน

เป็นเชื้อเพลิงได้

.

ทั้งพลังงานทางเลือกเดิม เช่น แสงแดด

และ พลังงานทางเลือกใหม่ ที่กำลังวิจัย

ก้าวไปอย่างเร็ว

ถ้าประสิทธิภาพในการเปลี่ยนรูปพลังงานมากพอ

.

จะเข้าสู่การผลิตจริง

และ จะทำให้ความต้องการน้ำมัน-แก๊สลดลง ทันที

ทั้งหมดนี้บอกเราว่า

ราคาน้ำมัน น่าจะต่ำลงไปประมาณ 2-3 ปี

.

แล้ว จะแพงขึ้นใหม่

ถ้า พลังงานทดแทนยังไม่โต

แต่ ถ้าพลังงานทดแทนโต

ราคาน้ำมัน น่าจะต่ำไปอีกนาน

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

ขอแนะนำ

.

From > http://www.businessinsider.com/oil-production-breakeven-prices-2014-11

From > http://www.businessinsider.com/oil-company-stocks-tumble-november-28-2014-11

From > http://www.businessinsider.com/how-low-oil-prices-could-crush-the-economy-2014-11

From > http://www.businessinsider.com/crude-oil-breaks-67-2014-11

From > http://www.nature.com/nature/journal/vaop/ncurrent/full/nature14015.html

From > http://www.businessinsider.com/graphene-could-lead-to-better-bullet-proof-vests-and-hydrogen-fuel-cells-2014-11

From > http://www.iflscience.com/technology/how-drop-seawater-graphene-generates-electricity

From > http://www.iflscience.com/technology/graphene-could-lead-better-bullet-proof-vests-and-hydrogen-fuel-cells

หมายเลขบันทึก: 581401เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you Doctor.

May I add that low crude oil price can add 'many millions more tons' of CO2 and pollutants into the atmosphere -- all of us are 'losers'.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท