วิธีป้องกันโรค อีโบล่า


ภาพ: แผนที่อาฟริกา รูปคล้ายแรด หันหน้าไปทางขวา

อีโบล่าระบาดยกแรกที่อาฟริกากลาง

หรือ ส่วนตา-ด้านหลังขากรรไกร ของแรด

.

ยกสอง ที่อาฟริกาตะวันออก

= ส่วนคอแรด

หรือ กลุ่มประเทศ 'LGs'

ชื่อคล้ายๆ โทรศัพท์มือถือชั้นนำ ยี่ห้อหนึ่ง

  • L = Liberia - ไลบีเรีย
  • G = Guinea - กินี
  • S = Sierra Leone - เซียร์รา ลีโอน

.

คนที่เป็นโรค มีโอกาสตาย = 70%

(เดิมว่า 50%)... ตอนนี้ (พย.57)

ป่วยไปกว่า 5,000 คน

ตายไปกว่า 2,500 คน

.

ภาพ: วิธีป้องกัน ได้แก่

(1). กินสุก ไม่กินดิบ

(2). ล้างมือ ด้วยสบู่

(3). ต้องใส่ชุดคลุม-แว่นตา-ถุงมือ-รองเท้ายาง ทั้งตัว เมื่อสัมผัสคนไข้-ศพ

(4). สู้ด้วยความรู้ ไม่ใช่ความรู้สึก

(5). ไปโรงพยาบาลให้เร็ว

.

สำหรับคนไทย, ที่สำคัญที่สุด คือ

ต้องกักกันคนที่มาจากประเทศ 'LGs' = 21 วัน

.

ภาพ: อาการแบ่งเป็น 2 ช่วง หรือ 2 เฟส

(1). เฟสหนึ่ง = คล้ายไข้หวัดใหญ่ + ไวรัสลำไส้อักเสบ

ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดทั่วตัว ถ่ายเหลว

.

(2). เฟสสอง = คล้ายไข้เลือดออก แต่แรงกว่ามาก

ตกเลือดทาง "จมูก-ปาก-หู", ถ่ายเป็นเลือด

+/- ความดันเลือดต่ำ ช็อค

.

โอกาสรอด น่าจะเพิ่ม

ถ้ารีบดื่มน้ำ น้ำเกลือ อย่าให้ขาดน้ำในเฟสแรก

.

ภาพ: วิธีป้องกัน อีโบล่า

(1). ไม่สัมผัสศพ + ไม่รดน้ำศพ

(2). ไม่สัมผัสของเสีย (อึ ฉี่...)

(3). ไม่กินผลไม้ที่สัตว์ เช่น ค้างคาว กัดแหว่ง

.

(4). ไม่เสพเซ็กส์แบบเสี่ยง

เชื้ออยูใน อสุจิ หลังหายได้ถึง 3 เดือน

(5). ไม่สัมผัสร่างกายคนป่วย

(6). ไม่ฉีดยาเสพติดแบบฉีด

+ ไม่ใช้เข็ม-หลอดฉีดยาร่วมกัน

.

(7). ไม่สัมผัสเลือด + สารคัดหลั่ง

เช่น น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย เลือด

(8). ไม่กินเนื้อสัตว์ป่า

.

อีโบล่า เป็นอย่างไร และทำไม ต้องมาแรง

สำนักข่าวนิคเคะ สรุปไว้อย่างนี้

.

(1). อีโบ(ล่า) ใหญ่ขนาดไหน

.

= รหัสพันธุกรรม (RNA) เส้นเดียว

ยาว 1 ไมครอน = 1/1,000 มม. = 1 ในล้านเมตร

เม็ดเลือดแดงคนเรา = 7 ไมครอน

1 ไมครอน = 1/7 ของเม็ดเลือดแดง

.

(2). มีกี่สายพันธุ์ (strains)

.

ตอนนี้ พบอีโบล่า 5 สายพันธุ์

สายพันธุ์ที่ระบาดอยู่

คือ ซาอี (Zaire)

มาจากอาฟริกากลาง

.

(3). ตายมากไหม

.

ยุคแรก อีโบล่าระบาดในอาฟริกากลาง

โอกาสตาย = 90%

ยุคสอง คือ ยุคนี้ ระบาดในอาฟริกาตะวันตก

โอกาสตาย = 70%

.

สัตว์ที่ติดเชื้อแล้ว อาการหนัก

คือ กอริลล่า โอกาสตาย = 90%

.

(4). ทำไมรอบนี้มาแรง

.

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า

ไวรัสมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา

ทว่า... โครงสร้างหลักๆ

ยังไม่เปลี่ยนไปมาก

.

ปัจจัยที่ทำให้รอบนี้ระบาดมาก คือ

(ก). อาฟริกาตะวันตก มีประชากรอยู่หนาแน่นกว่า (อาฟริกากลาง)

(ข). ประเพณี รดน้ำศพ ทำให้คนที่ร่วมงานศพติดเชื้อ

(ค). มีการเนื้อสัตว์ป่า (ลิง ค้างคาว ฯลฯ)

.

(5). ทำไมบางคนตาย บางคนรอด

.

ทีมวิจัยจากสหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง

คนไข้ 106 รายใน เซียร์รา ลีโอน

พบว่า

โอกาสตาย แปรตาม 'จำนวนเชื้อ'

.

โอกาสตาย ในคนที่มีเชื้อไม่เท่ากัน คือ

เชื้อมาก โอกาสตายมาก

เชื้อน้อย โอกาสตายน้อย

(ลบ.มม. = ลูกบาศก์ มิลลิเมตร)

.

(1). น้อยกว่า 100,000 ตัว/ลบ.มม. = 30%

(2). มากกว่า 100,000 ตัว/ลบ.มม. = เกิน 70%

.

(6). รักษาเร็ว เพิ่มโอกาสรอด

.

เรื่องนี้ คล้ายกับไข้เลือดออก

คือ ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งเพิ่มโอกาสรอด

อีโบล่า ยังไม่มียาหลัก

การรักษาหลัก คือ

  • ให้กินน้ำเกลือ
  • ให้ยาแก้อาเจียน
  • ให้น้ำเกลือ ถ้าช็อค

.

การรักษาหลักจริงๆ ในอาฟริกา

คือ น้ำเกลือแบบกิน

ไม่ใช่แบบฉีด (ส่วนใหญ่ไม่มี)

ยิ่งกินน้ำเกลือเร็ว ยิ่งเพิ่มโอกาสรอด

.

(7). อีโบล่า ชอบเด็กหรือคนแก่

.

อีโบล่า ชอบคนแก่

โอกาสตาย แปรตามอายุ

อายุยิ่งมาก ยิ่งตายง่าย คือ

(ก). อายุน้อยกว่า 20 ปี > โอกาสตาย = น้อยกว่า 60% เล็กน้อย

(ข). อายุ 46 ปีขึ้นไป > โอกาสตาย = เกิน 90%

.

อ.ชีฟเฟลิน ผู้วิจัย สันนิษฐานว่า

ปัจจัยร่วมที่ทำให้ คุณ สว.(สูงวัย) กลับบ้าน (เก่า) กันมาก คือ

(ก). เบาหวาน

(ข). ความดันเลือดสูง

.

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศ

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ว่า

ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีแนวโน้มลดลง

ทว่า... ถ้าจะให้ลดลงได้มากจริงๆ .

.

จะขึ้นกับปัจจัย 3 ข้อ ได้แก่

(ก). ตรวจพบ คนไข้รายใหม่ได้ "เร็ว"

(ข). แยก หรือ กักกันไว้

(ค). รักษา ให้เร็ว

.

อีโบล่า ที่ว่าร้าย

ก็อาจ พ่ายน้ำใจคนทั่วโลกได้

หลัง คนทั่วโลก ช่วยกันบริจาค

และ ให้ความช่วยเหลือ อาฟริกา

.

ขอกราบ อนุโมทนาในกุศลเจตนาของทุกๆ ท่าน

ที่มีส่วนร่วม ในการบริจาค ช่วยเหลือ ชาวอาฟริกา

และ อย่าประมาท

เพราะ ถ้ามีอีโบล่าในไทย

.

การท่องเที่ยว จะทรุดนาน... เป็นเดือน เป็นปีได้

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

From > http://asia.nikkei.com/Tech-Science/Science/Scientists-slowly-unmasking-Ebola

หมายเลขบันทึก: 581342เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท