ช็อป(ปิ้ง) อย่างไร จ่ายน้อยกว่า(ประหยัด)


บิสเนซ อินไซเดอร์ ทำสารคดีสั้น

เรื่อง "ร้านค้าปลีก ทำร้าน (แบบแปลน) ให้คุณจ่ายมากขึ้น",

ผู้เขียน ขอนำมาเล่าสู่กันฟัง

และ จะขอแทรกวิธี ประหยัด + ฝึกสมอง 2 ซีก เข้าไปครับ

.

(1). ร้านค้า ออกแบบให้คนเดิน "ทวนเข็มนาฬิกา"

.

คน 90% ถนัดขวา

คนที่ถนัดขวา มีแนวโน้มจะ เดินทวนเข็มนาฬิกา

อีก 10% ถนัดซ้าย

คนที่ถนัดซ้าย มีแนวโน้มจะ เดินตามเข็มนาฬิกา

.

ร้านค้า มักจะ จัดแปลนร้าน ให้คนเดินทวนเข็มนาฬิกา

เรียกว่า "โฟลว์ (flow)"

หรือ ทิศทางการไหลเวียน

ถ้าเดินตามนี้ มีแนวโน้มจะ "จ่ายมากขึ้น"

.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า

ถ้าคน "เดินตามแผน (แปลน)" ทุกอย่าง

จะจ่ายเพิ่ม มากกว่า รายการของต้องซื้อ

หรือ ช็อปปิ้งลิสท์ (shopping list) = 50%

.

วิธีที่อาจทำให้จ่ายน้อยลง คือ

เดินในทิศตรงกันข้าม

หรือเดินตามเข็มนาฬิกา

.

(2). ของแพง อยู่หลังร้าน

.

ของแพง ของลดราคา (sale)

หรือ ของลดกระหน่ำ (clearance sale)

มักจะ อยู่ด้านหลังร้าน

ถ้า ช็อปตามแปลน

.

คือ จากหน้าร้านไปหลังร้าน

จะซื้อมาก

วิธีฝึก คือ

ให้เดินเร็วๆ ไปหาของตามรายการของต้องซื้อ

.

ได้ครบแล้ว

อย่าอ้อยอิ่ง

ยิ่งอยู่นาน ยิ่งจ่ายมาก

ให้ออกจากร้านเลย

.

(3). เลือกเพลง

.

ร้านค้าที่ประสบความสำเร็จ

มักจะ เปิดเพลงตรงตาม "วัย (อายุ) คนซื้อ"

หรือ ตามยุคสมัย, ตามรุ่น (generation)

ของคนซื้อ

.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า

ถ้าผิดเพลง จะทำให้คนซื้อน้อยลง

ถ้าไม่อยากจ่ายมาก

อาจทำได้ โดยการใส่หูฟัง

.

เปิดเพลงที่เราไม่ชอบ

อาจ จะทำให้จ่ายน้อยลง

.

(4). จ่ายให้ใคร

.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า

คุณแม่ มักจะซื้อของให้ (shop for) คุณลูกก่อน

หลังจากนั้น จะเหนื่อยนิดหน่อย

แล้ว จะให้รางวัล (reward) ตัวเอง

.

ทำให้ น้ำหอม (perfume) ราคาแพงขายดี

มากถึง 50-60% ของรายการซื้อทั้งหมด (ในสหรัฐฯ)

การฝึกจ่าย เฉพาะรายการของต้องซื้อ

แล้วเดินออกเลย น่าจะช่วยประหยัดได้

.

(5). ของ "ซื้อด่วน (impulse buy)" อยู่ใกล้แคชเชียร์

.

การศึกษาที่ผ่านมา พบว่า

คนส่วนใหญ่ คนรอจ่ายของที่จุดคิดเงิน (แคชเชียร์)

ได้ไม่เกิน = 60 วินาที = 1 นาที

นานกว่านั้น จะอึดอัด ไม่พอใจ

.

นิสัยคนในการช็อปปิ้ง

คล้าย การล่าสัตว์

คือ ถ้าเครียด จะล่าสัตว์มากขึ้น

= หยิบของ หรือซื้อมากขึ้น

.

ร้านค้า มักจะวางกับดักไว้แถวๆ นั้น

ให้หยิบจับได้ง่าย

เช่น แมกกาซีน (นิตยสาร), ลิปสติกแบบไม่มีสี (ลิปกรอส)

วิธีที่จะ ลดการจ่ายที่จุดนี้

.

คือ ต้องฝึกผ่อนคลาย

ลดความเครียด ให้ได้

เช่น อาจฝึกหายใจเข้าช้าๆ นับ 1-2-3

หยุดสักครู่ ก่อนหายใจออกช้าๆ นับ 3-4-5-6

.

หรือ ไม่ก็ฝึกผ่อนคลายแบบเร็ว

โดยการ "หย่อน (ผ่อนคลาย) ขากรรไกรล่าง"

เวลาคนเราเครียด

มักจะเกร็ง

.

ที่พบบ่อย คือ

ดึงขากรรไกรล่าง ขึ้นบน (สูงขึ้น)

วิธีฝึกแบบเร็ว คือ

ให้ฝึกคิดว่า ขากรรไกรล่าง "หนักขึ้น" เรื่อยๆ

.

แล้ว ปล่อยให้ขากรรไกรหย่อน ลงด้านล่าง

ถ้าวิธีนี้ ทำยาก

วิธีอื่นๆ คือ

เวลารอจ่ายเงิน ให้หาอะไรที่ดึงดูดความสนใจ "ไปนอกร้าน"

.

เช่น

หยิบ โทรศัพท์มือถือ มาไว้ในมือ

ไม่จำเป็นต้อง โทร.ออก

แค่ถือ ก็ทำให้ ใจกระเจิงไปนอกร้านแล้ว

.

อ.อีราน แคทซ์ (Eran Katz)

ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกความจำ-สมอง ชาวอิสราเอล

กล่าวว่า

วิธีฝึกจิต "แบบไทยๆ" อย่างหนึ่ง

.

คือ การฝึกเข้าไปในห้างสรรพสินค้า

แล้ว ไม่ซื้ออะไร

จะพบว่า ทำได้ยากมาก

เพราะ ห้างสรรพสินค้าในไทย ไฮเทค และน่าช็อปมาก!

.

เว็บไซต์ "ช้อยส์ (Choice)" ออสเตรเลีย แนะวิธีประหยัดอย่างนี้

(1). ช็อปคนเดียว

ช็อปเป็นคู่ = จ่ายมากขึ้น

(2). กินก่อนเช็อป

ช็อปตอนหิว = จ่ายมากขึ้น

.

(3). ทำรายการของต้องซื้อ

ถ้าไม่ทำ หรือ โอ้เอ้ อ้อยอิ่ง

ยิ่งอยู่นาน = ยิ่งจ่ายมาก

(4). มองนอกระดับสายตา

ของแพง มักอยู่ในระดับสายตา + หัวท้ายแถว

ของที่ถูกกว่า มักจะอยู่เหนือ หรือ ใต้ระดับสายตา

.

วิธีที่ดี คือ

เวลาช็อป, ให้ "ยืน - แหงนหน้า - นั่ง" สลับกัน

จะได้ ออกกำลังไปในตัวด้วย

เห็น ของถูกกว่าด้วย

.

ความจริง...

ห้างสรรพสินค้าที่คนไม่แน่นมาก

เป็น ที่ออกกำลังในร่ม ที่ดี

อากาศที่เย็นสบาย เหมาะกับ การเดินให้เร็วขึ้น

.

การเดินเร็ว ทำให้สุขภาพดีขึ้น

เปลี่ยนจากอ้วนไม่ฟิต เป็นอ้วนฟิต

เปลี่ยนจากผอมไม่ฟิต เป็นผอมฟิต

เหนือ การเดินช้า มากมาย

.

ภาพรวมของการช็อป คือ

ยิ่งเดินช้า อ้อยอิ่ง ยิ่งหมดตังค์ (สตางค์)

ถ้าเดินเร็ว ตรงไปซื้อตามรายการของต้องซื้อ

แล้ว เดินออกเลย จะประหยัดได้มาก

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

From > http://www.businessinsider.com/retail-store-layout-plans-spend-money-2014-11

.

หมายเลขบันทึก: 581341เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท