การจัดการความรู้เบื้องต้น


การจัดการความรู้

คือ เครื่องมือที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมาย อย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมยการพัฒนาองค์กร ไปสู้การเป็นองค์กรแห่งเรียนรู้โดยมีแรงจูนใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายของงานเป้าหมายการพัฒนาคน และเป้าหมายการพัฒนาองค์กร ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้

ข้อมูล

คือ ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวหนังสือ

สารสนเทศ

คือ กลุ่มของกลุ่มข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายขึ้น

ระบบสารสนเทศ

คือ เป็นพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การประมวลผล (processing) เผยแพร่ (Output) และมีส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage)

ระบบ

คือ การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน ทรัพยากร แนวคิดและกระบวนการ มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้โดยภายในระบบ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง การสื่อสารสำหรับการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
  2. ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
  3. ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบ
  4. บุคลากร ในระดับผู้ใช้ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ และนักเขียนโปรแกรม เพื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
  5. ขั้นตอนการปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากร ที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่อง ชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการ ซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

วิเคราะห์และออกแบสารสนทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ระบบปิด เป็นระบบมีอิสระ ไม่มีการควบคุมจากภายนอก มีจุดหมายการทำงานภายในระบบของตัวเอง ไม่มีการใช้ข้อมูลร่วมกับระบบอื่น เช่น เครื่องปรับอากาศมีการจัดตั้งเวลาเปิดปิด การทำงาน โดยการตั้งเวลา

ระบบเปิด เป็นที่ทำงานร่วมกับมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารระบบอื่นๆ มีการรับข้อมูลจากระบบภายนอกมาประมวลผล เช่น ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ ที่มีการเพิ่มลดการทำงานของระดับอุณหภูมิ

ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในองค์กรถูกใช้โดยผู้ใช้แต่ละระดับของบุคลากรในองค์กร

ประเภทของระบบสารสนเทศ มีดังนี้

  • ระบบประมวลผลรายการ
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
  • ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
  • ระบบสารสนเทศสำนักงาน
  • ระบบปัญญาประดิษฐ์

จาก ความรู้ในห้องเรียน

หมายเลขบันทึก: 581220เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท