แบบจำลองข้อมูล


บทที่ 5

แบบจำลองข้อมูล

แบบจำลองฐานข้อมูลเป็นแบบจำลองเชิงตรรกะ ที่ใช้แสดงโครงสร้างและความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลแบบจำลองนี้ได้มีการแปลงเพื่อนำไปสู่แบบจำลองการใช้งานฐานข้อมูลจริง (สกาวรัตน์ จงพัฒนากร, 2550,น. 96)แบบจำลองฐานข้อมูลจึงเป็นแบบจำลองที่ยากต่อการเข้าใจจึงได้นำแบบจำลองข้อมูล (data model) หรือที่เรียกว่าแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เป็นแผนภาพเชิงกายภาพอธิบายถึงวิธีการจัดเก็บข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล และฐานข้อมูลมีขนาดความจุเท่าไร เพื่อจะได้ง่ายต่อการดึงข้อมูลมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล

แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (entity relationship diagram : E-RD) เป็นแผนภาพที่ถูกแนะนำโดย Peter chen ในปี ค.ศ. 1976 โดยมีวัตถุประสงค์เพี่อนำเสนอโครงสร้างของฐานข้อมูลในระดับแนวคิดในลักษณะของแผนภาพ (diagram) เป็นแผนภาพที่เข้าใจง่าย มองเห็นภาพรวมของเอนทิตีทั้งหมดที่มีในระบบ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี (สมจิตร อาจอินทร์ และงามนิจ อาจอินทร์,2549, น. 69)

ส่วนประกอบของการเขียนแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล

แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างข้อมลเป็นแผนภาพระดับแนวความคิด วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองภาพของข้อมูลในระบบได้ชัดเจนขึ้น มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้

1.เอนทิตี (entity)

2.ลักษณะประจำ (attributes)

3.ความสัมพันธ์ (relationship)

  • 1.เอนทีตี

เอนทีตี (entity) หมายถึง สิ่งต่างๆที่เก็บรวบรวมเป็นข้อมูลทีเกียวข้องไว้ในฐานข้อมูล รวมทังสามารถบ่งชีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ (สมจิตร

อาจอินทร์ และงามนิจ อาจอินทร์, 2549, น. 99) คือ เอนทิตีเชิงรูปธรรม เอนทิตีเชิงแนวคิด เอนทิตีเชิงเหตุการณ์ เอนทิตีเชิงความสัมพันธ์ เอนทิตีแบบอ่อน

สัญลักษณ์ของเอนทิตี

1.ใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (rectangle)

2.มีชื่อกำกับอยู่ภายใน

3.ชื่อควรเป็นคำนาม

4.ภาษาอังกฤษจะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่


1.1เอนทิตีเชิงรูปธรรม

1.2เอนทิตีเชิงแนวคิด

  • 1.3เอนทิตีเชิงเหตุการณ์
  • 1.4เอนทิตีเชิงความสัมพันธ์
  • 1.5เอนทิตีอ่อนแอ

2. ลักษณะประจำ

ลักษณะประจำหรือเรียกว่าแอตทริบิวต์ (attribute) คือข้อมูลที่ใช้อธิบายคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของเอนทิตี เช่นเอนทิตี นักศึกษา จะประกอบด้วย Attribute รหัสนักศึกษา ชื่อ-สกุล เพศ หมายเลขโทรศัพท์ คณะวิชา และวันที่เข้าเรียน

  • ประเภทของลักษณะประจำ
  • 1.ลักษณะประจำแบบธรรมดา (simple attribute)

2.ลักษณะประจำแบบคอมโพสิต (composite attribute)

3. ลักษณะประจำที่มีค่าข้อมูลเพียงค่าเดียว (single-valued attribute)

4. ลักษณะประจำที่มีหลายค่า (multivalued attribute)

3. ความสัมพันธ์

ระหว่างเอนทิตีในระบบ เช่น ในระบบบุคลากร ระกอบด้วยเอนทิตีพนักงาน และ เอนทิตีแผนก ที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะ พนักงานแต่ละคน สังกัดอยู่ในแผนกใดโดยแต่ละความสัมพันธ์จะถูกระบุด้วยสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดและคำาที่อธิบายถึงความสัมพันธ์นั้น ๆ ระบุความสัมพันธ์ข้างในเป็นคำกริยา

ประเภทของความสัมพันธ์ (relationship)

  • 1.ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง (One-to-One)
  • 2.ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม (One-to-Many)
  • 3.ความสัมพันธ์แบบกลุ่ม-ต่อ-กลุ่ม (Many-to-Many)
คำสำคัญ (Tags): #ระบบและออกแบ
หมายเลขบันทึก: 581214เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท