GotoKnow

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ตัรมีซี
เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2557 16:45 น. ()
แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2557 16:46 น. ()

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิค การศึกษา วิเคราะห์ และการออกแบบสารสนเทศขององค์กร ให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฏฐพันธ์ เขรรนันห์, 2551, น. 87) โดยระเรียกวิธีการ ดำเนินในลักษณะนี้ว่า การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (system analysis and design) เนื่องรากมีการศึกษาและวิเคราะห์ กระแส ข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลรับเช้า กระบวนการ ข้อมูล ส่งออก การพัฒนาโปรแกรม การติดตั้ง และการบำรุงรักษา ตลอดรนกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบในอนาคต

หลักการพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความหมายของการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็น กระบวนการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่ มีอยู่แล้วเพื่อใช้แก้ปัญหา หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหน่วยงาน และให้การทำงานมีประสิทธิภาพตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้ใช้งาน โดยอาจนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการ ดำเนินงาน คือการประมวลผล เรียบเรียง รัดเก็บข้อมูล เปลี่ยนแปลง เพื่อให้โต้สารสนเทศที่ถูกต้องครบถ้วน

สิงสำคัญที่ต้องปฏิบัติในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพ คือ

1.คำนึงถึงเจ้าของระบบและ ผู้ใช้ระบบ

2.พยายามเช้าถึงปัญหาให้ตรงรุด

3.กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการทำงาน

4.แตกระบบใหญ่ให้เป็นระบบย่อย

5.กำหนดมาตรฐานในระหว่างการพัฒนาระบบและจัดทำ เอกสารประกอบในทุกขั้นตอน

6.เตรียมความพร้อมหากแผนงานหรือโครงการต้อง ถูกยกเลิกหรือต้องทบทวนใหม่

7.ออกแบบระบบเพื่อรองรับการเติบโตและการ เปลี่ยนแปลงในอนาคต

ตัวอย่าง การสร้างระบบงานใหม่แทนระบบงานเดิม

การสร้างระบบงานโหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเติมที่ มีอยู่เพื่อใช้แก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น ระบบการลงทะเบียน ระบบเดิมจะทำงานด้วยกระดาษนักศึกษาจะต้องทำการเขียน รายวิชาที่ต้องการลงทะเบียนลงไปในกระดาษ และคิดจำนวน เงินตามหน่วยกิตที่จะต้องชำระ ปัญหาก็คือทำให้เสียเวลา เพราะนักศึกษามีจำนวนมากทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ทำงานช้า

ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาระบบการ ลงทะเบียนออนไลน์ขึ้นมาเพื่อช่วย'ในการลงทะเบียนมีการ จัดการข้อมูลการลงทะเบียนได้อย่างอัตโนมัติ มีการคำนวณ ค่าหน่วยกิตให้ มีผลให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่สะดวกยิ่งขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบ

ปัจจัยที่ล่งผลต่อการพัฒนาระบบใหม่เกิดจากปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน และผู้ใช้ที่มีความหลากหลาย ดังนั้นการที่จะพัฒนาระบบให้สำเร็จ ต้องพิจารณาปัจจัย ดังต่อไปนี้

1.ผู้ใช้ต้องการให้ปรับปรุงหรือต้องการระบบใหม่ เพราะ เป็นผู้ที่เจอปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยตรง

2.ผู้บริหาร หรือเจ้าของระบบต้องการให้มีระบบใหม่ เพราะ เห็นความสำคัญของการทำงานในองค์กรเพื่อความทันสมัย และสามารถช่วยในการคัดสินใจในการ บริหารงานได้

3.ระบบปัจจุบันล้าสมัย มีข้อผิดพลาดหรือมีปัญหาไม่รองรับ การทำงานได้เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย องค์กร กฎหมาย หรือระเบียบใหม่มีการขยายตัวของ องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมอื่น

4.มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว การ เติบโตของระบบการลื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีที่ใช้ อยู่ปัจจุบันล้าสมัย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมี ราคาสูง จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบด้วยนำ การเทคโนโลยีใหม่ มาใช้ในการดำเนินการ เพื่อการทำงานมีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวก ทันสมัยมาก ยิ่งขึ้น และสร้างความได้เปรียบให้กับคู่แช่งขัน เช่น ระบบ ยืม-คืนหนังสือด้วยรหัสแท่ง (bar code)

5.เจ้าหน้าที่สารสนเทศในหน่วยงานแนะนำให้มีการปรับปรุง ระบบเพื่อต้องการให้ระบบมีความทันสมัยรองรับการ เติบโตของเทคโนโลยี เช่น การขยายเครือข่ายที่มีความเร็ว และประสิทธิภาพสูงกว่า

ภาพที่ 2.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบ

วิธีการพัฒนาระบบ

การใช้งานของระบบสารสนเทศในแต่องค์กรมีวิธีการใช้ที่ แตกต่างก้น เพราะมีการดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะงาน โอภาส เอี่ยมสิริวงค์(2555, น. 61) ได้แบ่งวิธีการพัฒนาระบบ สารสนเทศออกเป็น2วิธีหลัก ได้แก่

1.การพัฒนาระบบเซิงโครงสร้าง (structured system development)

2.การพัฒนาระบบเซิงวัตถุ (object-oriented system development)

1. การพัฒนาระบบเซิงโครงสร้าง

เป็นวิธีการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม เกี่ยวช้องกับการ วิเคราะห์เซิงโครงสร้าง การออกแบบเซิงโครงสร้าง และการ โปรแกรมเซิงโครงสร้าง

1.1การโปรแกรมเซิงโครงสร้าง (structured programming technique) ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1960 เพื่อใช้เป็น แนวทางในการปรับปรุงคุณภาพโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดย มีแนวคิดที่ว่าโปรแกรมที่มีคุณภาพสูงต้องเป็น โปรแกรมที่อ่านง่าย และนักเขียนโปรแกรมคนอื่น อ่านแล้วเช้าใจ ปรับปรุงโนภายหลังได้ มีจุดเริ่มต้นและ จุดสิ้นสุดเสมอ

แนวคิดที่ใช้ในการโปรแกรมเซิงโครงสร้างคือ การ โปรแกรมแบบบนลงล่าง (top-down programming) เป็นการ แตกย่อยโปรแกรมออกเป็นส่วน ๆ เพื่อลดความช้ำช้อน แบ่ง โมดูล (module) เป็นระดับ ระดับบนสุดควบคุมการ ประมวลผล เรียกใช้งานจากโมดูลระดับต่ำลงมา

1.2การออกแบบเซิงโครงสร้างพัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1970 ขึ้ง เป็นยุคที่ระบบสารสนเทศเริ่มมีความซับช้อน โดยระบบหนึ่ง อาจประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่าง มากมาย แต่ละฟังก์ชันมีการแตกย่อยออกเป็นโปรแกรมต่างๆ จำนวนมาก (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2555, น. 63) ดั้งนั้น การ ออกแบบเชิงโครงสร้างจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาด้วยการ นำเสนอผ่าน ผังโครงสร้าง (structure chart) เป็นแผนภาพแสดงโมดูลภายโนโปรแกรม และวิธีการรัดการ กับโมดูล

พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1970 ขึ้งเป็นยุคที่ระบบสารสนเทศ เริ่มมีความซับช้อน โดยระบบหนึ่ง อาจประกอบด้วยฟังก์ชั่น ต่าง มากมาย แต่ละฟังก์ชันมีการแตกย่อยออกเป็นโปรแกรม ต่าง ๆ จำนวนมาก (โอกาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2555, น. 63) ดั้งนั้น การออกแบบเซิงโครงสร้างจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาด้วยการ นำเสนอผ่าน ผังโครงสร้าง (structure chart) เป็นแผนภาพแสดง โมดูลภายโนโปรแกรม และวิธีการรัดการกับโมดูล

2. การพัฒนาระบบเชิงวัตถุ

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2555, น. 66) กล่าวว่าวิธีเชิงวัตถุ ถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยภาษา Simula โนประเทศ นอร์เวย์ เมื่อปี ค.ศ. 1960 โดยถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง สถานการณ์จำลองทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับ วัตถุ เช่น เรือ และทุ่นที่ลอยอยู่ตามชายฝั่งขึ้งเป็นเรื่องที่ยาก

ต่อมาในปี ค.ศ.1970 ภาษา Smalltalk ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ แก้ไขปัญหาของการสร้างอินเตอร์เฟสแบบกราฟิก (graphical user interface : GUI) เพื่อตอบโต้กับกับวัตถุ เช่น เมนูแบบ pull ­down ปุ่ม buttons เช็คบ็อกช์ (check boxes) และ ไดอะล็อกบ็อก (dialog boxes) ปัจจุบันมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนระบบ เซิงวัตถุ เช่น C++ Java และ C#

วัฏจักรพัฒนาระบบสารสนเทศ

วัฎจักรพัฒนาระบบ (system development life cycle : SDLC) เป็นการแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงสันสุดโครงการ รูปแบบกัฏจักรการพัฒนาระบบจะมีความ หลากหลายตามการคิดค้นและพัฒนา จึงมีความแตกต่างใน รูปแบบ ปัจจุบันมีรูปแบบอยู่มากมายขึ้นอยู่กับการนำโปใช้งาน ให้เหมาะสมกับงานของแต่ละโครงการ

รูปแบบวัฏจักรการพัฒนาระบบ

ปัจจุบันมีรูปแบบกัฏจักรการพัฒนาระบบอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับงานของแต่ละโครงการ รูปแบบที่นิยมใช้มีรูปแบบต่างๆ กังต่อโปนี้

1.รูปแบบนำตก (waterfall model)

2.รูปแบบวิวัฒนาการ (evolutionary model)

3.รูปแบบการเพิ่มขึ้น (incremental model)

4.รูปแบบวงก้นหอย (Spiral model)

1.รูปแบบนาตก

เป็นรูปแบบวัฏจักรการพัฒนาระบบถูกเผยแพร่ใช้งานเมื่อ ราวปี ค.ศ.1970 และกว่า 30 ปีแล้วรูปแบบนี้ยังได้รับความ นิยมใช้เพื่อการพัฒนาระบบงานจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็น รูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการรวบรวม ความต้องการ การวิเคราะห์ การออกแบบ การเขียนโปรแกรม การทดลอบ และการบำรุงรักษา (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2555,น. 74,)

รูปแบบนี้หากมีข้อผิดพลาด เกิดขั้นที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้ แล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับ มาแก้ไขได้

ภาพที่ 2.2 รูปแบบนาตก

2. รูปแบบวิวัฒนาการ

เป็นรูปแบบที่มีแนวความ คิดที่เกิดมาจากทฤษฎี วิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในรุ่น (version) แรกก่อน จากนั้นจึงพิจารณาข้อดีและข้อเสียของ ระบบ หาข้อผิดพลาดโดยการทดสอบและประเมินระบบ จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบใหม่จนได้ระบบงานใน รุ่นที่สอง รุ่นที่สาม และรุ่นต่อๆ ไปจนกว่าจะได้ระบบที่สมบูรณ์ ที่สุด (ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฏฐพันธ์ เขจรน้นท์, 2551, น. 103)

ภาพที่ 2.3 รูปแบบวิวัฒนาการ

3. รูปแบบการเพิ่มขึ้น

เป็นรูปแบบที่มีแนวความ คิดที่เกิดมาจากทฤษฎี วิวัฒนาการ โดยวิวัฒนาการมาจากรูปแบบน้ำตก มีการแบ่ง ระบบงานออกเป็นระบบย่อยต่าง ๆ ระบบย่อยแต่ละส่วนจะ พัฒนาแบบวนรอบ โดยจะเริ่มพัฒนาระบบงานที่เป็นงานหลัก ของระบบก่อนจนเสร็จสิ้น จากนั้นจึงพิจารณาถึงข้อดี และ ข้อเสียของระบบที่เป็นงานหลักที่ได้พัฒนาผ่านมา จึงเริ่มพัฒนา ต่อเติมกระบวนการพัฒนาระบบงานใหม่จนได้ระบบในงานต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้ระบบที่สมบูรณ์ที่สุด รูปแบบนี้มีการพัฒนา แบบวนซ้ำเป็นรอบสามารถมองเห็นความก้าวหน้าทุก ๆ ระยะ

ภาพที่ 2.4 รูปแบบการเพิ่มขึ้น

4. รูปแบบวงก้นหอย

รูปแบบนี้มีหลักการทำงานวนเป็นรอบคล้ายวงก้นหอย เป็นวิธีการพัฒนาแบบหมุนรอบตามขั้นตอน เมื่อรบการทำงาน แต่ละรอบ กระได้ผลงานที่เพิ่มขึ้นของแต่ละรอบ แต่ละรอบจะมี การวิเคราะห์ความเสียง เพื่อประเมินการวางแผนการทำงานใน รอบถัดไป รูปแบบนี้จะมี 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การวางแผนส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ความเสียง ส่วนที่ 3 การพัฒนาและทดสอบ ตัวผลิตภัณฑ์ และส่วนที่ 4 เป็นส่วนของการประเมิน

ภาพที่ 2.5 รูปแบบ Spiral SDLC

ระเบียบวิธีการพัฒนาระบบ

ระเบียบวิธีการพัฒนาระบบ (system development methodology) เป็นวิธีการหรือแนวทางปฏิบัติที่นำกระบวนการ ทางความคิดของวัฏจักรการพัฒนาระบบสารสนเทศมาปฏิบัติตามกิจกรรมต่าง ด้วยการนำแบบจำลอง (model) เครื่องมือ (tools) เทคนิค (techniques) มาใช้กับกระบวนการพัฒนาระบบ เพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้

แบบจำลอง

รูปแบบของการพัฒนาระบบเป็นสัญลักษณ์นำเสนอสิ่งที่ เกี่ยวกับอินพุต เอาต์พุต โปรเซส ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแบบจำลองจะนำเสนอในรูปแบบ ของภาพ แผนภาพ แผนภูมิ (chat) ไดอะแกรม (diagram) เช่น

1. ผังงาน (flowchart)

2. แผนภาพบริบท (context diagram)

3. แผนภาพกระแสข้อมูล (data flow diagram : DFD)

4. แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (entity relationship diagram : E-RD)

5. แผนผังโครงสร้าง (structure chart)

6. ยูสเคสไดอะแกรม (use cased)

7. แผนภูมิแกนต์ (gant chart)

8.แผนภาพเฟิร์ต (pert chart)

เครื่องมือ

เครื่องมือ (tool) เป็นซอฟต์แวร์ (software) ที่ช่วยสร้าง หรือวาดแบบจำลองชนิดต่าง ตรวจสอบความถูกต้องของ แบบจำลอง ช่วยสร้างรายงานและแบบฟอร์ม รวมทั้งช่วย สร้างรหัสคำสั่ง (code) ให้อัตโนมัติ

ซอฟต์แวร์ที่ช่วยสร้างแบบจำลอง

ซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างหรือวาดแบบจำลองชนิด ต่าง ๆ ได้แก่

1. โปรแกรมประมวลผลคำ

2. โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล

3. โปรแกรมแปลงไดอะแกรมเป็นรหัสคำสั่ง

4. โปรแกรมสร้างรายงาน

5. โปรแกรมจัดการโครงการ

6. โปรแกรมช่วยวาด

7. เคสทูลส์

เทคนิค

เทคนิค (technique) แนวทางในการดำเนินกิจกรรมการ พัฒนาระบบให้เกิดความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1.เทคนิคการบริหารโครงการ

2.เทคนิคการสัมภาษณ์

3.เทคนิคการสร้างแบบจำลองข้อมูล

4.เทคนิคการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

5.เทคนิคการริเคราะห์เชิงโครงสร้าง

6. เทคนิคการออกแบบเชิงโครงสร้าง

7. เทคนิคการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง

8. เทคนิคการทดสอบโปรแกรม

9. เทคนิคการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ

ขั้นตอนการพัฒนาระบบ

การพัฒนาระบบมีขั้นตอนที่แตกต่างกันของผู้เขียนแต่ละ คนที่มีแนวคิดหรือมุมมองแตกต่างกัน แต่รายละเอียดของทุก ขั้นตอนการพัฒนาระบบจะมีการเริ่มจากจุดเดียวกันคือ การ วางแผน สำรวจความต้องการเบื้องต้น และสิ้นสุดด้วยการ บำรุงรักษา

เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้จึงแบ่งขั้นตอนในการพัฒนา ระบบออกเป็น 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1.การวางแผนโครงการ

2.การวิเคราะห์

3.การออกแบบ

4.การนำไปใช้

5.การบำรุงรักษา

ภาพที่ 2.6 ขั้นตอนการพัฒนาระบบ

1. การวางแผนโครงการ

ขั้นการวางแผนโครงการ (project planning phase) เป็น ขั้นตอน ที่ต้องดำเนินการศึกษาองค์กร ปัญหาที่เกิดขึ้นของ กระบวนการทำงาน หรือศึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กร ประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ

1. การศึกษาองค์กร

2. การศึกษาปัญหา

3. การบริหารโครงการ

4. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

5. การจัดตั้งทีมงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ

2. การวิเคราะห์

ขั้นการริเคราะห์ (analysis phase) เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน (end user) ต้องทำความเข้าใจกับระบบงานปัจจุบันเพื่อระได้รู้ถึงปัญหาของระบบงาน ปัจจุบัน และต้องทราบว่าใครเป็นผู้ใช้ระบบนี้ และมีอะไรบ้างที่ระบบต้องทำ

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องของระยะวิเคราะห์ คือ

1. วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน

2. รวบรวมความต้องการ

3. กำหนดความต้องการของระบบใหม่

4. ออกแบบจำลองกระบวนการ

5. ออกแบบจำลองข้อมูล

3. การออกแบบ

ขั้นการออกแบบ (design phase) เป็นขั้นตอนของการนำ ผลจากการวิเคราะห์มาออกแบบทางตรรกะให้เป็นรูปแบบทาง กายภาพมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ

1. ออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ (architecture design)

2. ออกแบบฐานข้อมูล (database design)

3. ออกแบบเอาต์พุต (output design)

4. ออกแบบอินพุต (input design)

5. ออกแบบยูสเชอร์อินเตอร์เฟส (user interface design)

4. การนำไปใช้

ขั้นการนำไปใช้ (implementation phase) เป็นขั้นตอนที ทำหลังจากการวิเคราะห์และออกแบบ ขั้นตอนนี้มีกิจกรรมที่ เกี่ยวข้อง คือ

1. เขียนโปรแกรม

2. ทดลอบโปรแกรม

3. ติดตั้ง

4. จัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม

5. ฝึกอบรมผู้ใช้ที่เกี่ยวช้องโนระบบ

5. การบำรุงรักษา

ขั้นการบำรุงรักษา (maintenance phase) เป็นขั้นตอนที่ ยุ่งยากและยาวนาน เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนอื่น เพราะ ต้องดูแลตลอดการใช้งานของระบบ ดังนั้นการพัฒนาระบบจึง ต้องพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น รองรับเทคโนโลยีใหม่ ขั้นตอนนี้จะมีกิจกรรมที่เกี่ยวช้อง คือ

5.1 การบำรุงรักษาระบบ

5.2 แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบ

5.3 เพิ่มโมดุลหรืออุปกรณ์บางอย่าง

5.4 การบำรุงรักษาทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

เครื่องมือที่ใช้ในการการพัฒนาระบบ

วิศวกรรมระบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือเรียกว่าเคสทูลส์ (computer-aided system engineering tools : CASE Tools) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการสร้างแบบจำลอง หรือไดอะแกรมต่าง ๆเช่น การช่วยสร้างแผนภาพบริบท ผังงาน แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล การสร้าง รายงาน และแบบฟอร์มตลอดจน สร้างรหัสคำสั่งอัตโนมัติ

เคสทูลส

เคสทูลส์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. อัพเปอร์เคสทูลส์ (Upper-CASE tools) เป็นเครื่องมือ ที่สนับสนุนระหว่างการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เช่น ใช้ในการสร้างแบบจำลองการประมวลผล การออกแบบระบบ สารสนเทศในเชิงตรรกะ

2. โลเวอร์เคสทูลส์ (Lower-CASE tools) เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการระหว่างการพัฒนาระบบ ได้แก่

1. ขั้นตอนการออกแบบ

2. ขั้นตอนการพัฒนา

3. ขั้นตอนทดสอบระบบ

4. ขั้นตอนการให้บริการหลังการติดตั้ง

ตัวอย่างเครื่องมือที่นำมาใช้ในการพัฒนาระบบ

1. เครื่องมือสร้างแผนภาพ (diagram tools) เช่น Microsoft Visio Rational Rose SmartDraw Visible Analyst และ PowerDesigner

2. เครื่องมือสร้างแบบจำลองชนิดต่าง ในขั้นตอนการ วิเคราะห์และออกแบบเครื่องมือสร้างส่วนประสานกับผู้ใช้ และรายงาน (user interface and report generator) เช่น Microsoft Visio และVisual Basic

3. เครื่องมือวิเคราะห์ (analyst tools) เช่น Eclipse Rational Rose Visible Analyst และData Architecture ใช้วิเคราะห์ ความถูกต้อง และสอดคล้องของแผนภาพ แบบฟอร์ม และรายงาน

4. เครื่องมือใช้สร้างต้นแบบ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ และ สร้างต้นแบบรายงาน

5. เครื่องมือสร้างฐานข้อมูลใช้จัดเก็บรายละเอียดต่าง ของ โครงการพัฒนาระบบไว้ เช่น รายละเอียดของแบบลำลอง พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) รหัสต้นฉบับ (source code)

6. เครื่องมือสร้างเอกสาร (Documentation Generator) เชน JSDoc และ Doxygen ใช้สร้างเอกสารคู่มือการใช้งานระบบ โดยมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน

7. เครื่องมือสร้างรหัสต้นฉบับ เช่น Rational Rose และ Eclipse ใช้สร้างรหัสคำสั้งบางล่วนจากแบบจำลองได้อัตโนมัติ

บทสรุป

บทนี้ได้กล่าวถึง การพัฒนาระบบระบบสารสนเทศ ที่เป็นกระบวนการสร้างระบบงาน ใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อใช้แก้ปัญหา หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ หน่วยงาน เนื้อหาประกอบด้วยหลักการพัฒนาระบบสารสนเทศ ปัจจัยที่ล่งผลต่อการพัฒนา ระบบเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวช้องกับกระบวนการทำงาน และผู้ใช้ วิธีการพัฒนาระบบมีวิธีการใช้ ที่แตกต่างกัน เพราะมีการดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะงานวัฏจักรการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นการแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมต่าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสินสุดโครงการ รูปแบบวัฏจักรการพัฒนาระบบจะมีความหลากหลายตามการคิดค้นและพัฒนาจึงมีรูปแบบที่ แตกต่างกันออกไประเบียบวิธีการพัฒนาระบบ เป็นวิธีการหรือแนวทางปฏิบัติที่นำกระบวนการทางความคิดของวัฏจักรการพัฒนาระบบสารสนเทศมาปฏิบัติตามกิจกรรมต่าง ๆขั้นตอนการพัฒนาระบบจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ การวางแผนโครงการ การวิเคราะห์ การออกแบบ การนำไปใช้ และการบำรุงรักษา และเรื่องสุดท้ายที่นำเสนอในบทนี้ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการสร้างแบบจำลอง หรือไดอะแกรมต่างๆ ให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

ธีรวัฒน์ ประกอบผล และเอกพันธุ คำปัญโญ . (2552). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

System Analysis and Design. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย.

ฝ่ายผลิตหนังสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์ . (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.

กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่นั

ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฐพันธ์ เขจรพันทน (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

Management Information System. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

รัชนี กัลยาวินัย . (2545). การวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ (ฉบับ ปรับปรุงโหม'). กรุงเทพมหานคร : การศึกษา.

สกาวรัตน์จงพัฒนากร. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โอภาส เอี่ยมลิริวงค์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ ( System Analysis and Design) ฉบับ ปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา 
สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย