บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5 วันที่ 24 สิงหาคม 2557


หัวข้อ Knowledge Management Process 7 ขั้นตอน

ความรู้และความเข้าใจที่ได้จากเรียนและการศึกษาเพิ่มเติม

ขั้นตอนของการจัดทำ KM โดยขั้นแรกจะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร ซึ่งอาจจะพิจารณาจากยุทธศาสตร์หรือปัญหาที่พบก็ได้ ขั้นที่สองคือวางแผนและกิจกรรมที่จะสนับสนุนองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือ การให้ความรู้กับองค์กร การวัดผล และการยกย่องชมเชย และขั้นที่สามคือ การจัดทำ KM process มี 7 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 ค้นหาความรู้ โดยค้นหาว่าองค์กรมีความรู้อะไร รูปแบบใดบ้าง อยู่ที่บุคลากรท่านใด ซึ่งจะใช้ Knowledge Mapping เป็นเครื่องมือ พร้อมทั้งวางกรอบของ KM

ขั้นที่ 2 สร้างและแสวงหาความรู้ โดยการสร้างและแสวงหาความรู้จาก Knowledge Mapping ถ้ารู้ว่ามีความรู้ให้ดึงเอาความรู้มารวบรวม แต่ถ้ายังไม่มีความรู้ ต้องสร้างความรู้เดิมโดยแลกเปลี่ยนจากภายนอก

ขั้นที่ 3 จัดการความรู้ให้เป็นระบบ โดยจัดทำสารบัญ จัดทำหมวดหมู่ แยกประเภท เพื่อการค้นหาข้อมูลนั้นจะได้สะดวกขึ้น ใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น

ขั้นที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ โดยการกลั่นกรองความถูกต้องของเนื้อหา จัดทำให้ได้มาตรฐาน

ขั้นที่ 5 การเข้าถึงความรู้ 2 ลักษณะ คือ1) ป้อนความรู้ ได้แก่ หนังสือเรียน และ 2)ให้โอกาสใช้ โดยใช้เป็นแหล่งความรู้ห้องสมุดสำหรับครู

ขั้นที่ 6 แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการจัดทำเอกสาร จัดทำข้อมูล จัดทำสมุดหนังสือ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้

ขั้นที่ 7 ขั้นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทิศทาง/ค่านิยมขององค์กร

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ KM ประสบความสำเร็จได้แก่

1.Leadership and Strategy ผู้นำต้องเข้าใจ เข้าถึงและตระหนักถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจาก KM สื่อสารและผลักดันให้มี KM ในองค์กร

  • 2.Culture เป็นวัฒนธรรมที่ไม่หวงความรู้ มีวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคคลในองค์กร
  • 3.Technology ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบฐานข้อมูล จะช่วยให้ KM มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 4.Measuremeents การวัดผล KM จะช่วยให้องค์กรนั้น ทบทวน ประเมินผล ปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ให้กับองค์กร
  • 5.Infrastructure ทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ เช่น สถานที่ เครื่องมือ โครงสร้างหน่วยงาน ระบบงาน เป็นต้น

สรุปได้ว่า มีการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน โดยพิจารณาจากยุทธศาสตร์หรือปัญหาที่พบก็ได้ โดยการวางแผนและกิจกรรมที่จะสนับสนุน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือ การให้ความรู้กับองค์กร การวัดผล และการยกย่องชมเชย ทั้งนี้ การจัดทำ KM process มีการจัดการความรู้เป็นแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่มองคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์อันมีค่า มีความมุ่งมั่นต่อองค์กร ทำงานอย่างมีเป้าหมายซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีสมรรถนะสูงในการทำงาน

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน

การนำ KM Process ทั้ง 7 ขั้นตอน ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ปรับใช้ในโรงเรียน เพื่อจะได้จัดระบบในองค์กร ให้ทุกคนมีระบบ ระเบียบในองค์กรมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เรามีความรอบคอบในการทำงาน

บรรยากาศการเรียน

อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เรื่อง การจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ให้กับนักศึกษามีการแสดงความคิดเห็น และความรู้ในประเด็นต่างๆ และส่วนห้องเรียนก็สะอาด น่าเรียน สื่ออุปกรณ์ในการเรียนก็สะดวกเรียบร้อยดี

คำสำคัญ (Tags): #อนุทิน
หมายเลขบันทึก: 580439เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท