AAR (After Action Review) ครั้งที่ 4 วันที่ 7 กันยายน 2557


หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โดย ท่าน รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

คาดหวังว่าจะได้เรียนรู้อะไร

  • -การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลักการ แนวทางและรูปแบบวิธีการการสอนอย่างไรบ้าง

รู้แล้วคิดอย่างไร

ท่าน รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ได้เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการอบรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งความรู้ที่ได้จากการเข้ารับฟังอบรม คือ หลักการจัดการเรียนรู้ว่า 1)จะต้องมีความรู้ความสามารถตาม มาตรฐานการเรียนรู้ มีความรู้ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ 2)ยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด 3)เชื่อว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ 4)พัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ 5)คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

สมองกับการเรียนรู้ โดยทั่วไปสมองจะแบ่งออกเป็น 2 ซีก ซกซ้ายจะถนัดทางด้าน สัญลักษณ์ การคิด วิเคราะห์ การจัดระบบ วางแผน การคำนวณ วิทยาศาสตร์ ส่วนซีกขวาจะถนัดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ศิลปะ คิดสังเคราะห์ การเคลื่อนไหว จังหวะ ชอบสนุกสนาน ตื่นเต้น

แบบการเรียนรู้ของผู้เรียนมี 4 แบบ 1)เรียนรู้ด้วยการดู สังเกต ซักถาม พูดคุย 2)เรียนรู้จากการฟัง คิดวิเคราะห์ การอ่าน และจดจำข้อมูล 3)เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ 4) เรียนรู้จากการคิดค้น ทดลอง พิสูจน์

ทฤษฏีพหุปัญญา 8 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา ด้านเหตุผล/คณิตศาสตร์ ด้านศิลปะ/ช่าง/มิติสัมพันธ์ ด้านดนตรี/จังหวะ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกีฬา ด้านความเข้าใจธรรมชาติ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการรู้ตน รู้คิด

ทฤษฏีหมวก 6 ใบ ได้แก่ สีขาว=>ความจริง เป็นกลาง สีดำ=>ผลเสีย ข้อเสีย สีเหลือง =>ความคิดดีๆ เชิดชู ข้อดี สีเขียว =>ความสร้างสรรค์ การหาทางออก สีน้ำเงิน => การจัดการ ความเป็นผู้นำ สีแดง => อารมณ์ ความรู้สึก

จากนั้นท่าน รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ก็ได้เน้นในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ซึ่งวิธีนี้จะให้ความสำคัญต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล มุ่งพัฒนาสมองของมนุษย์ทั้ง 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการเรียนรู้แบบ 4MAT มี 4 ขั้นได้แก่ 1) ขั้น Why นักเรียนสังเกต ดู ฟัง ครูคือผู้กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก 2) ขั้น What นักเรียนเรียนรู้ จดจำ บันทึก ครูคือผู้สอน ผู้บอก 3) ขั้น How นักเรียนลงมือปฏิบัติ ครูคือโค้ช คอยกำกับ คอยดูแล ให้ความช่วยเหลือ 4) ขั้น If นักเรียนคิดค้นหาความรู้ สร้างผลงานใหม่ ครูคือผู้ร่วมเรียนและผู้ประเมิน

จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

จากความรู้ที่ได้ในวันนี้ กระผมคิดว่า เหมาะกับการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและธรรมชาติของรายวิชานั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT เหมาะสมกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ และได้ลงมือปฏิบัติจริง ก่อนที่จะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้อีกครั้ง หรือการนำไปสร้างผลงานใหม่ ซึ่งเป็นเทคนิคดีๆที่ท่าน รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ได้นำมาให้ทุกคนได้เรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #4 mat
หมายเลขบันทึก: 580433เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท