AAR (After Action Review) ครั้งที่ 3 วันที่ 31 สิงหาคม 2557


หัวข้อ โครงการอบรมทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

โดย ผศ.ดร. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์

คาดหวังว่าจะได้เรียนรู้อะไร

  • -ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร

รู้แล้วคิดอย่างไร

วันนี้ ท่าน ผศ.ดร. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการอบรม วิทยากรได้แนะนำตัวเองก่อนและผู้ช่วยในการบรรยาย เริ่มจากการรู้จักนักศึกษาก่อน ว่ามีอาชีพอะไรกันบ้าง สอนรายวิชาใด โรงเรียนที่ท่านสอนมีการจัดการเรียนการสอนแบบใด เช่น โรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นการทราบข้อมูลเบื้องตนนักศึกษาก่อนการเข้าเนื้อหาที่จะอบรม อาจารย์ได้นำเสนอหนังสือที่น่าสนใจ และควรมีไว้ในการประกอบการศึกษา ดังนี้

1. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (2545)

2. พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ A-Lและ H-Z

กลยุทธ์การเรียนการสอนที่ใช้เสริมสร้างผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้

1. วิธีการสอน มี 3 วิธี วิธีสอนแบบสืบสวน วิธีสอนแบบโครงงาน และวิธีสอนแบบอุปนัย

2. รูปแบบการสอน มี 4 รูปแบบคือ รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA รูปแบบการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน รูปแบบการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน และรูปแบบการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน

3. แนวการสอน มีดังนี้ การจัดการเรียนการสอนเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ใช้โครงงานเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้วิจัยเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้กิจกรรมเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้สถานการณ์จำลองเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้ประเด็นสังคมเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้ประเด็นสังคมเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เป็นฐาน และกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระบวนการสืบสอบและกระบวนการทำโครงงาน กระบวนการวิเคราะห์ กระบวนการสื่อความหมาย กระบวนการสร้างความรู้ กรบวนการสร้างสิ่งประดิษฐ์ กระบวนการที่ครูนำไปใช้ในการเรียนกาสอน ในรายวิชาคือกรบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน(5 STEP) มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ระบุคำถาม ขั้น 2 แสวงหาสารสนเทศ ขั้น 3 สร้างความรู้ ขั้น 4 สื่อสาร ขั้น 5 ตอบแทนสังคม ในขั้นที่ 1 ระบุคำถาม ขั้น 2 แสวงหาสารสนเทศ ขั้น 3 สร้างความ เป็นบทบาทหน้าที่ครูควรรู้ เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ขั้น 4 สื่อสาร บทบาทหลักของครูผู้สอน และ ขั้น 5 ตอบแทนสังคม บทบาทหน้าที่ครูควรรู้ให้คำปรึกษา

ได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและกิจกรรมต่อมา ท่านวิทยากรได้ดำเนินการ ดังนี้

1. กำหนดให้แต่ละกลุ่มไปรับแผ่นป้ายที่ทำจากฟิวเจอร์บอร์ดแล้วมีตัวภาษาอังกฤษ A B Cแต่ละคำจะใช้คนละสีกัน

2. อาจารย์มีคำถามให้นักศึกษาตอบ ในคำถาม 1 ข้อ อาจมีหลายคำตอบก็ได้

กิจกรรมนี้สนุกคิดว่าจะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยที่ตนเองรับผิดชอบ บางเรื่องครูต้องบรรยายให้เข้าใจก่อนเมื่อเวลาครูถามนักเรียนจะไม่ค่อยตอบ จะนำวิธีการนี้ไปใช้ในห้องเรียน

กิจกรรมตอนบ่ายแบ่งกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่ม เปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนของครูว่าระหว่าง Teacher –center และ Child centered ได้ดังนี้ การจัดการเรียนการสอนแบบ Teacher –center ครูจะเป็นผู้อธิบายเนื้อหาต่างๆลดบทบาทนักเรียน ครูมีบทบาทมาก การประเมินผลใช้แบบทดสอบหรือแบบฝึกที่ครูเตรียมให้ ส่วนการจัดการเรียนการสอนแบบ Child centered เด็กค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ สร้างชิ้นงาน ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา การสอนแบบ Child centered นักเรียนจะได้ ความรู้ การปฏิบัติจริง และคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือทุกคนร่วมกันทำงาน หลังจากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเพื่อต่างกลุ่มแล้วให้เพื่อนมีส่วนร่วมในการประเมินการผลการนำเสนอของกลุ่มนั้น

จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

นำความรู้ที่ได้รับนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการศึกษาต่อในการทำผลงานทางวิชาการการและการทำงานหรือนำเสนอผลงานเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าแล้วต้องอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน ทั้งยังสามารถนำกระบวนการและรูปแบบต่างๆที่ได้รับนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเองและกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการอบรมนำไปใช้ในห้องเรียนที่รับผิดชอบ

คำสำคัญ (Tags): #5 steps
หมายเลขบันทึก: 580432เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท