อนุทินล่าสุด


สิปปวิชญ์ กนกธาดาสกุล
เขียนเมื่อ

ครั้งที่ 6 วันที่ 24 สิงหาคม 2557

หัวข้อ การจัดการความรู้ในสถานศึกษา (Knowledge Management : KM) "เพาะชำโมเดล" โดย นายศักดิ์เดช กองสูงเนิน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)

ความรู้และความเข้าใจที่ได้จากเรียนและการศึกษาเพิ่มเติม

ท่าน ผอ.ศักดิ์เดช กองสูงเนิน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ได้นำเสนอ "เพาะชำโมเดล" ซึ่งเป็นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization:LO) ดังนี้

เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) เป็นเรื่องที่เล่ากระตุ้นความสนใจและนำไปสู่ความรู้ เรื่องเล่าของความสำเร็จ (Best Practice)

บันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ประเมินว่าสมาชิกในองค์กรมีความรู้อยู่ในสถานะที่เป็นผู้พร้อมให้

บันทึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกความก้าวหน้าของบุคลากรที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทบทวนหลังการปฏิบัติ เป็นกิจกรรมที่ประเมินว่า มีความคาดหวังอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ตามคาดหวังหรือไม่

KV (Knowledge Vision) วิสัยทัศน์การจัดการความรู้

M (Mind) ใจ มีคำกล่าวที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" และ 3 S (Share Show Support)

KA (Knowledge Asset) คลังความรู้ คลังความรู้มี 2 คือ คลังความรู้เป็นระบบเอกสารและใช้ Blog เป็นการบันทึกเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จโดยบันทึกลงในระบบอินเตอร์เน็ตจึงเชื่อมโยงไปยัง www.gotoknow.org

L (Learn) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4=4 การจัดการความรู้มีพลังใน 4 กลุ่มงาน 8=8 การจัดการความรู้กับ 8 กลุ่มสาระ 4=4 การจัดการความรู้ใน 4 กลุ่มช่วงชั้น

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน ใช้พัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ของตนเองให้เป็น "บุคคลแห่งการเรียนรู้" อย่างมีคุณภาพ

บรรยากาศการเรียน ได้รับความรู้เป็นไปด้วยความสุข ทั้งยังได้ความรู้ในเนื้อหา มีการซักถาม แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สิปปวิชญ์ กนกธาดาสกุล
เขียนเมื่อ

ครั้งที่ 5 วันที่ 24 สิงหาคม 2557

หัวข้อ Knowledge Management Process 7 ขั้นตอน

ความรู้และความเข้าใจที่ได้จากเรียนและการศึกษาเพิ่มเติม

ขั้นตอนของการจัดทำ KM โดยขั้นแรกจะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร ซึ่งอาจจะพิจารณาจากยุทธศาสตร์หรือปัญหาที่พบก็ได้ ขั้นที่สองคือวางแผนและกิจกรรมที่จะสนับสนุนองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือ การให้ความรู้กับองค์กร การวัดผล และการยกย่องชมเชย และขั้นที่สามคือ การจัดทำ KM process มี 7 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 ค้นหาความรู้

ขั้นที่ 2 สร้างและแสวงหาความรู้

ขั้นที่ 3 จัดการความรู้ให้เป็นระบบ

ขั้นที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้

ขั้นที่ 5 การเข้าถึงความรู้

ขั้นที่ 6 แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขั้นที่ 7 ขั้นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทิศทาง/ค่านิยมขององค์กร

สรุปได้ว่า มีการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน โดยพิจารณาจากยุทธศาสตร์หรือปัญหาที่พบก็ได้ โดยการวางแผนและกิจกรรมที่จะสนับสนุน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือ การให้ความรู้กับองค์กร การวัดผล และการยกย่องชมเชย ทั้งนี้ การจัดทำ KM process มีการจัดการความรู้เป็นแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่มองคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์อันมีค่า มีความมุ่งมั่นต่อองค์กร ทำงานอย่างมีเป้าหมายซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีสมรรถนะสูงในการทำงาน

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน การนำ KM Process ทั้ง 7 ขั้นตอน ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ปรับใช้ในโรงเรียน เพื่อจะได้จัดระบบในองค์กร ให้ทุกคนมีระบบ ระเบียบในองค์กรมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เรามีความรอบคอบในการทำงาน

บรรยากาศการเรียน

อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เรื่อง การจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ให้กับนักศึกษามีการแสดงความคิดเห็น และความรู้ในประเด็นต่างๆ และส่วนห้องเรียนก็สะอาด น่าเรียน สื่ออุปกรณ์ในการเรียนก็สะดวกเรียบร้อยดี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สิปปวิชญ์ กนกธาดาสกุล
เขียนเมื่อ

ครั้งที่ 4วันที่ 16 สิงหาคม 2557

หัวข้อ KM ( Knowledge Management) การจัดการความรู้

ความรู้และความเข้าใจที่ได้จากเรียนและการศึกษาเพิ่มเติม

จากการที่ได้เรียนและศึกษาเพิ่มนั้น พบว่า การจัดการความรู้ (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้

สรุปได้ว่า เหตุผลที่ต้อง มีการจัดการความรู้ เนื่องด้วยการจัดการความรู้เป็นแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่มองคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์อันมีค่าเนื่องจากกระแสยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้คนในองค์กรมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ ต้องสามารถทำงานได้เองอย่างรอบด้าน ให้กลายเป็นความสามารถในแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน นำไปช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้ เช่นเมื่อมีปัญหาในการทำงานเกิดขึ้นผู้ปฏิบัติงานก็จะสามารถหาแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาได้รวดเร็ว โดยค้นคว้าจากผลการจัดการความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้

บรรยากาศการเรียน อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เรื่อง การจัดการความรู้ ให้กับนักศึกษามีการแสดงความคิดเห็น และความรู้ในประเด็นต่างๆ และส่วนห้องเรียนก็สะอาด น่าเรียน สื่ออุปกรณ์ในการเรียนก็สะดวกเรียบร้อยดี และทั้งนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปศึกษาเพิ่มเติมในเรื่อง องค์ประกอบของการจัดการความรู้มีอะไรบ้าง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สิปปวิชญ์ กนกธาดาสกุล
เขียนเมื่อ

ครั้งที่ 3 วันที่ 9 สิงหาคม 2557

หัวข้อ AAR (After Action Review) , LO (Learning Organization) และการสมัคร blog จากเว็บไซด์ www.gotoknow.org

ความรู้และความเข้าใจที่ได้จากการศึกษา จากการที่ได้ศึกษา เรื่อง AAR (After Action Review) หรือชื่อภาษาไทยว่า "เรียนรู้หลังการทำงาน" นั้น AAR ก็คือ ขั้นตอนการทบทวนผลหลังการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของตนเอง ว่าเป็นไปตามที่ตนเองเองคาดหวังไว้หรือไม่ ซึ่งประกอบด้วย 3 คำถาม คือ คาดหวังว่าจะได้เรียนรู้อะไร รู้แล้วคิดอย่างไร และจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร มีวิธีการในการตรวจสอบทบทวนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีการสะท้อนความคิดเห็นของตนและการสมัคร blog จากเว็บไซด์ www.gotoknow.org เพื่อใช้ในการบันทึกความรู้ของตนเอง

LO (Learning Organization) คือ องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมการเรียนรู้เป็นองค์การร่วมกัน ทำงานเป็นทีม เพื่อเปิดโอกาสในการเรียนรู้และมีอิสระในการตัดสินใจ ได้มีการตรวจสอบ ตรวจสอบ คาดการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้น AAR (After Action Review) ก็คือ ขั้นตอนการทบทวนผลหลังการปฏิบัติงานขององค์การ เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่ใช้ในการติดตามทบทวนในการปฏิบัติงานของ LO (Learning Organization) องค์การแห่งการเรียนรู้ ว่าเป็นไปตามที่ตนเองเองคาดหวังไว้หรือไม่ ได้มีการสะท้อนความคิดเห็นขององค์กร ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการใดที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน นำแนวคิดและหลักการไปใช้ในการทบทวนการปฏิบัติงานของตน

บรรยากาศการเรียน อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษามีความเป็นกันเองและสร้างแรงกระตุ้นด้วยคำถาม เพื่อแสดงความคิดเห็น และความรู้ในประเด็นต่างๆ และห้องเรียนก็สะอาด น่าเรียน สื่ออุปกรณ์ในการเรียนก็สะดวกเรียบร้อยดี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สิปปวิชญ์ กนกธาดาสกุล
เขียนเมื่อ

ครั้งที่ 2 วันที่ 3 สิงหาคม 2557

หัวข้อ หลักการและแนวคิดในการจัดการความรู้

ความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาด้วยตนเอง และความคิดเห็นประเด็นที่ได้เรียน

จากการฟังบรรยาย การศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และกัมพูชา ณ หอประชุมฯ 70 ปี สิ่งที่ได้รับคือ การจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ และความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาไทย

ความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ของแต่ละประเทศ เกี่ยวกับการศึกษาไทย การศึกษาฟิลิปปินส์กับไทย ฟิลิปปินส์จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ไม่ใช้ภาษาถิ่น แต่ประเทศไทยใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน ส่วนการประเมินผล ประเทศไทยชอบประเมินให้นักเรียนผ่านโดยไม่ค่อยให้นักเรียนเรียนซ้ำชั้น

การศึกษาประเทศสิงคโปร์กับไทย ประเทศสิงคโปร์เน้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง พ่อแม่ของเด็กคอยผลักดันลูกอยู่ตลอดเวลา แต่ประเทศไทยเด็กไม่ค่อยเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้ครูเป็นคนป้อนความรู้อยู่ตลอดเวลา ทำให้ระเบียบวินัยทั้งครูและนักเรียนยืดหยุ่น จึงเกิดการขาดระเบียบวินัยทั้งครูและนักเรียน

การศึกษาประเทศเวียดนามกับไทย เวียดนามจะเน้นทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไม่มีกิจกรรมเยอะเหมือนประเทศไทย เวียดนามใช้เวลาว่างในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าห้องสมุด เรียนพิเศษ แต่เด็กไทยใช้เวลาว่างในการเล่น เที่ยว หาความสนุก ไม่สนใจหาความรู้ ครูเวียดนามเน้นให้เด็กทำทุกอย่างด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ครูไทยทำทุกอย่างให้เด็ก

การศึกษาประเทศกัมพูชากับไทย เด็กกัมพูชาจะตั้งใจเรียนเพราะกลัวสอบตก ตรงต่อเวลา แต่เด็กไทยไม่ตั้งใจเรียน เรียนพอจบๆ ไป และนักเรียนไทยไม่ตรงต่อเวลา ทำให้ขาดระเบียบวินัยในตนเอง การศึกษาจึงไม่มีประสิทธิภาพ

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน พัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรมีคุณภาพ โดยการนำ "ระเบียบวินัย" มาใช้ในการดำเนินชีวิตของตน เพราะเป็นคุณธรรมพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย

บรรยากาศการเรียน เป็นการฟังบรรยาย เสวนาการจัดการศึกษาในประเทศอาเซียน นักศึกษาที่เข้ารับฟังการบรรยาย มีทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ทั้งยังมีการตอบข้อซักถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สิปปวิชญ์ กนกธาดาสกุล
เขียนเมื่อ

ครั้งที่ 1 วันที่ 27 กรกฎาคม 2557

หัวข้อ แนะนำรายวิชา ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ข้อตกลงในการเรียนการวัดและประเมินผล สภาพแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกตามกระแสโลกาภิวัฒน์

ความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาด้วยตนเอง

ประเด็นที่ 1 กระผมก็ได้เรียนรู้ถึงสังคมแห่งการเรียนรู้ว่าเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา เป็นสังคมที่ให้ความสำคัญของการเรียน ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็น ของการเรียนรู้ เป็นที่ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัยในชีวิตประจำวันของคนทุกคนในชุมชนแห่งนั้น

ประเด็นที่ 2 ด้วยสภาพแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกตามกระแสโลกาภิวัฒน์ เราจึงจำเป็นที่ต้องสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้น สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัยในชีวิตประจำวันของคนทุกคน เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีกระบวนการหรือวิธีการที่ทำให้บุคคลหรือสมาชิกในกลุ่มนั้นได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา ความคิดและพฤติกรรม

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน

1.เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ของตนเองให้เป็น "บุคคลแห่งการเรียนรู้" อย่างมีคุณภาพ

2 เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เป็น "องค์ความรู้" จากภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิมบูรณาการกับฐานความรู้ใหม่ ๆ อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน

บรรยากาศการเรียน มีบรรยากาศการเรียนที่ฝึกให้เราคิด วิเคราะห์ เนื้อหา มีการซักถาม แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เรียนรู้สนุก ได้แง่คิดใหม่ๆ ในการเรียน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท