AAR (After Action Review) ครั้งที่ 2 วันที่ 9 สิงหาคม 2557


หัวข้อ "Flipped Classroom" ห้องเรียนกลับด้าน

คาดหวังว่าจะได้เรียนรู้อะไร

  • 1.Flipped Classroom มีความหมายและที่มาอย่างไร
  • 2.Flipped Classroom มีรูปแบบหรือลักษณะการสอนอย่างไร
  • 3.Flipped Classroom มีความสำคัญอย่างไรในการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน
  • 4.มีตัวอย่าง การสอนแบบ Flipped Classroom ที่จะทำให้ได้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้นหรือไม่

รู้แล้วคิดอย่างไร

ความรู้ที่ได้เป็นไปตามคาดหวังไว้ ก็คือ ได้ทราบความหมายและที่มาของการสอนแบบ Flipped Classroom รวมไปถึงมีรูปแบบหรือลักษณะของการสอน และได้มีตัวอย่างที่จะทำให้ได้เข้าใจชัดเจนขึ้น รวมไปถึงความสำคัญของ ของ Flipped Classroom ในการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันของไทย ดังนี้

แนวการสอนแบบ "ห้องเรียนกลับด้าน" หรือ Flipped Classroom คือ "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" เป็นการนำสิ่งที่เดิมที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยยึดหลักที่ว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการให้ครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อสอนเนื้อหาต่างๆ เพราะเขาสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง

ห้องเรียนกลับด้าน ยังเป็นการเข้าใกล้การจัดการเรียนการสอนแบบ เด็กเป็นศูนย์กลาง Child Center มากขึ้น แทนที่การสอนแบบ Teacher center ซึ่งกำลังจะหายไปทุกทีที่สำคัญช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบ้านด้วย

เช่น ครูแจกสื่อให้เด็กไปศึกษาล่วงหน้าที่บ้าน หรือให้นักเรียนไปดูในยูทูป (youtube) หรือ ตามเว็บไซด์ต่างๆ เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น นักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นก็ลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย และการที่จะตรวจสอบว่า เด็กได้ดูสื่อที่ครูให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าหรือไม่นั้น เด็กจะบันทึกมาส่งครู อาจบันทึกมาในสมุด หรือเข้าไปเขียนไว้ใน Blog ของครู หรือเขียนส่งมาทางอีเมล และอาจจะให้เด็กตั้งคำถาม มาด้วยอย่างน้อย 1 ข้อ เป็นต้น

ส่วนในห้องเรียนแบบเก่า ครูจะให้นักเรียนกลับไปอ่านหนังสือเองที่บ้านแล้วค่อยนำเนื้อหาต่างๆ ที่อ่านมาอภิปรายกันในวันถัดไป จากนั้นนักเรียนจะได้รับการบ้านที่ใช้วัดความเข้าใจต่อหัวข้อการเรียนนั้นๆ แต่ในการเรียนการสอนแบบ แบบ "ห้องเรียนกลับด้าน" นักเรียนจะเรียนรู้หัวข้อต่างๆ ด้วยตนเองก่อน โดยใช้วิดิโอการสอนที่ครูเป็นผู้ทำกลับไปศึกษาเองที่บ้าน จากนั้นในชั้นเรียนนักเรียนจะพยายามนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ในการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆ ในชั้นเรียน

ดังนั้น แนวการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classrooms ) กำลังเป็นที่สนใจของนักการศึกษาและผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศที่จะนำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของแต่ละแห่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนของผู้เรียนให้เกิดขึ้นได้ภายใต้สถานการณ์ของสังคมที่แปรเปลี่ยนไป และในส่วนของไทยโดยสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก็มีแนวคิดที่นำเอานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านหรือ Flipped Classroom เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการบ้านและช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เด็กได้ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการฝึกทักษะในการจดบันทึกให้แก่นักเรียนก่อนช่วงต้นปีการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ห้องเรียนกลับด้านให้เด็ก

จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

1. นำไปแนะนำครูที่โรงเรียนได้ลองปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครู จากการบรรยายหน้าชั้นเรียนหรือจากครูสอนไปเป็นครูฝึก ฝึกการทำแบบฝึกหัดหรือทำกิจกรรมอื่นในชั้นเรียนให้แก่นักเรียนเป็นรายบุคคล และได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการห้องเรียน ช่วยเปิดช่องให้สามารถจัดการชั้นเรียนได้ตามความต้องการที่จะทำ เพื่อสร้างคุณภาพแก่ชั้นเรียน

2. ครูได้ฝึกใช้เทคโนโลยีการเรียนที่เด็กสมัยใหม่ชอบ โดยใช้สื่อ ICT ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการนำโลกของโรงเรียนเข้าสู่โลกของนักเรียนซึ่งเป็นโลกสมัยใหม่

3. เพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กที่มีงานยุ่ง เด็กสมัยนี้มีกิจกรรมมาก ดังนั้น จึงต้องเข้าไปช่วยเหลือในการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทสอนที่สอนด้วยวิดิทัศน์อยู่บนอินเทอร์เน็ต ( Internet ) ช่วยให้เด็กเรียนไว้ล่วงหน้าหรือเรียนตามชั้นเรียนได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเป็นการฝึกเด็กให้รู้จัดการจัดเวลาของตนเอง และช่วยเหลือเด็กเรียนอ่อนให้ขวนขวายหาความรู้ ในชั้นเรียนปกติเด็กเหล่านี้จะถูกทอดทิ้งแต่ในห้องเรียนกลับด้านเด็กจะได้รับการเอาใจใส่จากครูมากที่สุด

4. ช่วยทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครูเพิ่มขึ้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง ในการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน

5. ครูได้รู้จักนักเรียนดีขึ้น หน้าที่ของครูไม่ใช่เพียงช่วยให้ศิษย์ได้ความรู้หรือเนื้อหา แต่ต้องกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจให้กำลังใจ รับฟังและช่วยเหลือ ส่งเสริมผู้เรียนซึ่งเป็นมิติสำคัญที่จะช่วยเสริมพัฒนาการทางการเรียนของเด็ก

คำสำคัญ (Tags): #flipped classroom
หมายเลขบันทึก: 580431เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท