เสียงสะท้อนจากคนด้อยโอกาส : การเอาใจใส่ที่จริงใจจากภาครัฐ


คนด้อยโอกาสในสังคมไทย ที่ภาครัฐกำหนด ขึ้นมาตามสภาพปัญหาและตามความเสี่ยงต่อสภาพปัญหานั้น แม้จะมีความพยายามในการสร้างหรือจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อเข้ามาจัดการปัญหาดังกล่าวให้เป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น แต๋ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากนัก สืบเนื่องมาจาก ระบบระเบียบและวิธีคิด วิธีการทำงานแบบราชการ ยังเป็นกรอบสำคัญในการทำงาน ผู้รับผิดชอบ ในปัญหาคนด้อยโอกาสส่วนหนึ่งยังใช้วิธีการเข้าหากลุ่มเป้าหมายแบเจ้าขุนมูลนาย ทำตัวเป็นผู้มีพระคุณ ทั้งที่ ไม่ได้เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเขาเหล่านั้นสักเท่าไร
การเอาใจใส่ที่จริงใจจากภาครัฐ  

ห้วงเวลาที่ผ่านมาคนด้อยโอกาสในสังคมไทย ยังเป็นยิ่งกว่าประชากรชั้นสอง เป็นยิ่งกว่าคนชายขอบ ที่ ภาครัฐเองยังไม่สามารถสยายปีกแห่งการช่วยเหลือ หรือสนับสนุนเข้าไปหาเขาได้อย่างชัดเจน แต่ เป็นเพียงการสร้างภาพของการสร้างการมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดในการบรรเทาปัญหา แต่เอาเข้าจริงก็กลายเป็นเหมือนเล่นปาหี่กลางสนามหลวงไปเสียทุกครั้ง

 

คนด้อยโอกาสในสังคมไทย ที่ภาครัฐกำหนด ขึ้นมาตามสภาพปัญหาและตามความเสี่ยงต่อสภาพปัญหานั้น แม้จะมีความพยายามในการสร้างหรือจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อเข้ามาจัดการปัญหาดังกล่าวให้เป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น แต๋ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากนัก สืบเนื่องมาจาก ระบบระเบียบและวิธีคิด วิธีการทำงานแบบราชการ ยังเป็นกรอบสำคัญในการทำงาน ผู้รับผิดชอบ ในปัญหาคนด้อยโอกาสส่วนหนึ่งยังใช้วิธีการเข้าหากลุ่มเป้าหมายแบเจ้าขุนมูลนาย ทำตัวเป็นผู้มีพระคุณ ทั้งที่ ไม่ได้เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเขาเหล่านั้นสักเท่าไร

 

การที่ไม่เชื่อและไม่เคารพในศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายที่ได้ชื่อว่าเป็นคนด้อยโอกาส ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรค ในการทำงานเพื่อพัฒนาคนด้อยโอกาสให้อยู่ได้ด้วยตัวของเขาเอง การตีตราพิพากษาว่าคนเหล่านี้ขี้เกียจ มีพฤติกรรมอันน่ารังเกียจ ไม่น่าไว้วางใจ และมีการถ่ายทอดความคิดดังกล่าวไปสู่คนรอบข้าง และ ทำให้ความคิดดังกล่าวฝังแนบแน่นอยู่ในระบบความคิดของข้าราชการและประชาชนทั่วไปจำนวนหนึ่ง ทำให้ การให้ความร่วมมือเพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนด้อยโอกาสเป็นไปด้วยความยากลำบาก หรือ ไม่ได้รับการสนับสนุนเลย

 

สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น ในการทำงานกับคนด้อยโอกาสในมิติใหม่ นั้น คือ การเอาใจใส่ที่มีความจริงใจจากภาครัฐ และ การเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อคนด้อยโอกาส ตลอดจน ต้องมีความเคารพในศักยภาพของคนที่มีความเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่พิพากษาตีตรา แต่ ต้องให้โอกาสที่จะพิสูจน์ ลองผิดลองถูกด้วยความอดทน และ เชื่อมั่นว่า คนด้อยโอกาส สามารถเปลี่ยนแปลงได้จริง

 หากทุกคนสามารถสร้างระบบความคิด และมีความเชื่อเช่นนี้แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใต้พลังแห่งศักยภาพที่คนทุกคนมีเท่า ๆ กัน ไม่นาน โอกาสที่แท้จริง ก็จะ กระจาย และขยายไปอย่างทั่วถึงแก่คนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท