อนาคตการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน


อนาคตการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน

๑.มีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน มองว่ามีการพัฒนาจากอดีตอย่างไรบ้าง

ในทศวรรษ ๒๕๔๐ นี้ถือได้ว่าทศวรรษสำคัญของการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นของไทย เริ่มต้นด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้เน้นในเรื่องของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา

ผลของ ม.๒๘๕ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐

ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในและที่มาของสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในหลายประการคือ

(๑) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบลโครงสร้างขององค์กรบริหารส่วนตำบลก่อนการบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นั้นได้แบ่งเป็นฝ่ายสภาและคณะผู้บริหารอยู่แล้วแต่ที่มาของฝ่ายสภาและคณะผู้บริหารบางส่วนนั้นไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นโดยตำแหน่ง

(๒) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรงจากประชาชน

(๓) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างเทศบาลเทศบาลนอกจากจะมีจำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก ๑๔๙ แห่งเป็น ๑,๑๒๙ แห่งเพราะการยกฐานะของสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลตำบลแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่มาของฝ่ายบริหารอีกด้วย กล่าวคือได้มีการผลักดันจากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และในที่สุดรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยกำหนดให้เทศบาลแต่ละแห่งหากต้องการจะเปลี่ยนแปลงที่มาของฝ่ายบริหารให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เทศบาลนั้นต้องทำประชามติสอบถามความต้องการของประชาชน ๑ ปีก่อนที่เทศบาลจะหมดวาระโดยบทบัญญัตินี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เกิดปัญหาขึ้นแล้วอย่างน้อย ๒ เทศบาล คือเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง และเทศบาลเมืองบ้านพรุ จังหวังสงขลา

(๔) การเปลี่ยนแปลงในเมืองพัทยาเมืองพัทยาก่อนมีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีโครงสร้างภายในแบบ สภา – ผู้จัดการ แก้กฎหมายเมืองพัทยาให้มีโครงสร้างที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญคือให้มีสมาชิกสภาเมืองพัทยาที่มาจากการเลือกตั้ง ๒๔ คน และมีนายกเมืองพัทยาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

๒.คนมักจะมองว่าการทุจริตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าองค์กรอื่นเพราะอะไร ควรจะยุบหรือไม่ อย่างไร

สาเหตุของการทุจริตท้องถิ่นเกิดมาจากการแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยมีผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง แล้วไม่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสาธารณะแล้วยังขาดระบบการควบคุมที่เหมาะสม

ขาดการใช้กระบวนการประชาชน ประชาสังคม (Civil Society) ตรวจสอบการทำงานของ อปท.

ควรจะยุบ อปท. หรือไม่ อย่างไร

การจะยุบหรือไม่ยุบ อปท. เป็นประเด็นปัญหาหลักที่ต้องมีการพูดคุยกันในเวที สปช.

ปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ อปท. มีจำนวนมากและมีขนาดเล็กทำให้ขาดประสิทธิภาพ สิ้นเปลือง ควรมีการยุบรวม อปท. เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม (amalgamation) มีขีดความสามารถสูงในการจัดบริการสาธารณะตอบสนองต่อประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการปรับเปลี่ยน จัดสรรภารกิจของ อปท. ให้เหมาะสม มีอำนาจหน้าที่ที่ไม่ทับซ้อนกัน

การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น

ต่อไปท้องถิ่นจะไม่มี ลับลวงพราง มีแต่ใสแก้ว

หากนักกฎหมายยังประพฤติตนเหลาะแหละไม่มีสภาพบังคับ ก็จะทำให้กฎหมายใช้ไม่ได้

C R : สรณะ เทพเนาว์, สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ,

ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียงจ.แม่ฮ่องสอน , “สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ น.”, ผ่านรายการ เวทีท้องถิ่น สถานีโทรทัศน์ช่องสปริงนิวส์ เวลา ๑๖.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.

หมายเลขบันทึก: 579464เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2014 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ค่อยทราบรายละเอียดของเรื่อง อปท มากนัก แต่เท่าที่เห็นทางบ้าน ซึ่งยกจาก อบต เป็นเทศบาล มองเห็นข้อดีของการมีไว้คือใกล้ชิดประชาชน ให้บริการต่าง ๆได้ดี ข้อเสียคืองบประมาณที่มีอยู่ได้นำมาพัฒนาในด้านวัตถุจนไม่รู้จะทำอะไรเพราะสิ่งจำเป็นก็มีหมดแล้ว จึงเอาแต่ก่อสร้าง สร้างตึก รุกล้ำป่าชายเลนเสียเอง หลาย ๆแห่งก็น่าจะมีปัญหาต่าง ๆกันไป จึงต้องมีระบบควบคุมตรวจสอบที่เข้มแข็ง และควรมีความคิดที่จะเอางบประมาณไปใช้ในเชิงคุณภาพ เช่นสนับสนุนทางด้านการศึกษา อนามัย ผู้สูงอายุ ฯลฯ  บริการเรื่องน้ำ ไฟ ขยะ การคมนาคมให้ดีเลิศ การฝึกอาชีพ อ่านข่าววันนี้เห็นมีแนวคิดที่จะยุบแห่งที่มีรายได้ต่ำกว่า 50 ล้าน ไม่ค่อยเห็นด้วย มีเท่าไรก็พัฒนาภายในงบประมาณที่มีอยู่ อาจลดกำลังคนลง แต่ทำทุกอย่างในหน้าที่ได้อย่างครอบคลุม ถ้ายุบไปดื้อ ๆ ประชาชนคงเหงาและลำบากกว่าเดิมนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท