ศึกษาดูงานการจัดการความรู้ โรงเรียนเทศบาล 4 นครราชสีมา


รหัสวิชา102611 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

อาจารย์ผู้สอนผศ. ดร.อดิศรเนาวนนท์

โดยMissxiaomin Liรหัสนักศึกษา 57D0103101ปริญญาโทภาคพิเศษรุ่น13หมู่ 1

สาขาวิชาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

ในยุคปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีความรู้ใหม่ๆเข้ามาในชีวิตของมนุษย์มากขึ้นทุกวัน ความรู้เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามเทคโนโลยีทำให้ความรู้ที่มี ประโยชน์ต่อสังคมหายไปกับการเปลี่ยนแปลงขอลงยุค องค์กรจึงจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก องค์กรจึงมีการจัดการความรู้และให้ บุคลากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เรา เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้(LearningOrganization:LO)องค์กรจะเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จตามป้าหมายได้จำเป็นต้องพัฒนาบุคลกรอยู่เสมอ เพื่อให้บุคลกรนำความรู้มาพัฒนาองค์กร องค์กรแห่งการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จได้ ผู้บริหารจะต้อง มีลักษณะภาวะความเป็นผู้นำที่จะทำให้โรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงดังนี้

1.มีความสามารถในการดำเนินเรื่อง การจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาโรงเรียน การประเมินและนำผลการประเมินมาปรับปรุงโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง การแสวงหาความคิดและความสามารถของครู นักเรียนและบุคลากร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

2.นำองค์กรให้เจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆและมีความมั่นคง

3.ปกครองดูแล บุคลากรด้วยคุณธรรม จริยธรรม

4. ให้แรงจูงใจกับบุคลากรให้พัฒนาผลงานของตนให้ดีขึ้น

5.สร้างวิสัยทัศน์ ค่านิยมขององค์กรและสร้างพันธะผูกพันต่อการปฏิบัติงานในองค์กร

6.สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้แก่บุคลากรทุกคน

7.ทำงานโดยอาศัยกลุ่มหรือคณะบุคคลเป็นที่ตั้ง

8.มีความจริงใจ เข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

9.ให้รางวัล ยกย่อง ชมเชยบุคลากร นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

การจัดการความแบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ

ความรู้ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge ) เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่อยู่ในในหนังสือเรียนสื่อตำราเรียน

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวตน(Tacit Knowledge ) เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้วิจารณญาณ ไหวพริบปฏิภาณเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละท่านความรู้สองประเภทนี้จึงมีส่วนสำคัญทำให้งานบรรลุผลสำเร็จเช่นกัน

สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคมได้นำเสนอโมเดลองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นปลาทู จะแบ่งปลาทูออกเป็น 3ส่วน คือ KV( Knowledge Vision ), KS(Knowledge Share ), KA(Knowledge Assets)

KV (KnowledgeVision)คือวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธะกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างไร ถ้าประเด็นไม่ตรงกับเป้าหมายทิศทางขององค์กรก็แสดงว่าปลาตัวนี้หลงทิศทาง

KS (Knowledge Sharing)ส่วนนี้สำคัญเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถือว่าเป็นหัวใจของการจัดความรู้ เป็นกระบวนการที่หลายท่านทำได้ไม่ง่ายนักเพราะการที่คนเราจะแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวเองออกมา จะต้องอาศัยความผูกพันเริ่มจากบรรยากาศที่เป็นมิตร ความไว้วางใจ การแบ่งปันจึงจะเกิดสีสัน

KA (Knowledg Asset) หมายถึงคลังความรู้เปรียบเสมือนถัง ที่เราเอาความรู้ที่ได้มาใส่ไว้แล้วใช้ระบบจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่างแท้จริง

Description: http://1.bp.blogspot.com/_lfHmBCtfAD8/TO8mzZY-lTI/AAAAAAAAJjE/Q1ZOmlkoAoY/s1600/TUNA_MODEL.jpg

การจัดการวามรู้ต้องให้เหมาะสมกับองค์กรของตนเองแต่ละองค์กรมีเป้าหมายไม่เหมือนกัน ผู้บริหารโรยเรียนเทศบาลสีจึงสร้างโมเดล เพาะชำโมเดลในการจัดการความรู้

เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling)เป็นเรื่องที่เล่ากระตุ้นความสนใจและนำไปสู่ความรู้ เรื่องเล่าของความสำเร็จ (Best Practice)เรื่องที่เล่าควรจะมีปัญหาที่พบ ความผิดพลาดวิธีการแก้ไขปัญหา

การสกัดขุมความรู้ได้วิธีการที่ปฏิบัติประสบความสำเร็จที่ได้จากเรื่องเล่าเร้าพลัง

นำมาสังเคราะห์ให้เป็นแก่นความรู้

บันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ประเมินว่าสมาชิกในองค์กรมีความรู้อยู่ในสถานะที่เป็นผู้พร้อมให้

บันทึกแลกเปลี่ยนเยนรู้บันทึกความก้าวหน้าของบุคลากรที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทบทวนหลังการปฏิบัติเป็นกิจกรรมที่ประเมินว่า มีความคาดหวังอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ตามคาดหวังหรือไม่

KV=KnowledgeVision วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ ต้องมีความชัดเจนในระดับที่เหมาะสมมองเห็นทิศทางและขอบเขตร่วมกัน

M=Mind= ใจมีคำกล่าวที่ว่า “ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว” มีนัยสำคัญว่า คนเราจะทำสิ่งใดดีหรือไม่ดีทำได้หรือไม่ได้ สำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนมาจากใจเป็นอันดับแรก

3 S= ShareShowSupport

Shareการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Show การจัดการความรู้ช่วยให้ทีมการจัดการความรู้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของทีมแต่ละทีมเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้

งบประมาณวัสดุ เวลา บุคลากรตามความเหมาะสมแหล่งข้อมูลค้นคว้า

KA= Knowledge Asset = คลังความรู้การจัดการความรู้ต่อเนื่องมีการต่อยอดความรู้เป็นอย่างดีระบบ คลังความรู้มี2 คือคลังความรู้เป็นระบบเอกสารเป็นการรวบรวมเรื่องเล่าขุมความรู้แก่นความรู้และคลังความรู้โดยใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีมีความสำคัญ เข้าถึงได้ง่ายกระจายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้กว้างขวางทั่วโลก โดยใช้Blog เป็นการบันทึกเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จโดยบันทึกลงในระบบอินเตอร์เน็ตจึงเชื่อมโยงไปยัง www.gotoknow.org

L=Learn=การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถือเป็นหัวใจหลักการจัดการความรู้ของโรงเรียนเน้นที่บุคลากรที่สามารถเพิ่มค่าได้ถ้าเพิ่มความรู้เช่น ขณะที่ฟังเรื่องเล่าเร้าพลัง จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานที่ดีที่ประสบความสำเร็จของสมาชิกบนพื้นฐานบริบทที่ต่างกันและความสำเร็จที่ต่างกันและวิธีการ (How to)การบันทึกเรื่องเล่าบันทึกขุมความรู้แก่นความรู้การเรียนรู้เป็นทีม

4=4เพื่อให้การจัดการความรู้มีพลังเป็นเครื่องมือในการบริหารและขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาประกอบไปด้วย4 กลุ่มงานคือกลุ่มงานวิชาการกลุ่มงานแผนและงบประมาณกลุ่มงานบุคลากรกลุ่มงานบริหารทั่วไป

8=8การจัดการความรู้ด้านวิชาการซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญของโรงเรียนประสบความสำเร็จจึงให้ความสำคัญของการจัดการความรู้8กลุ่มสาระประกอบด้วยกลุ่มสาระภาษาไทยคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ศิลปะพลศึกษาและสุขศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ

4=4โรงเรียนเปิดทำการสอนสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ช่วงชั้นที่1 ช่วงชั้นที่ 2และช่วงชั้นที่3 แบ่งออกเป็น4 กลุ่มช่วงชั้น โดยเน้นการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการปกครองสายชั้น คุณธรรมจริยธรรมระเบียบวินัยของนักเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ในการจัดการความรู้โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)นำเครื่องมือที่สำคัญมาใช้มีดังนี้

1.เรื่องเล่าเร้าพลัง

2.การสกัดขุมความรู้

3.สังเคราะห์แก่นความรู้

4.ตารางอิสรภาพ

5.บันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้

6.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

7.การทบทวนหลังปฏิบัติการAfter Action Review (AAR)

8.ตลาดนัดความรู้

ผลงานที่ได้

  • 1.Weblog
  • 2.งานวิจัย
  • 3.รูปแบบการสอน
  • 4.วิธีการคำเนินการ
  • 1.ตั้งทีมงาน
  • 2.ให้ความรู้
  • 3.กำหนด KV
  • 4.ฝึกปฏิบัติ
  • 5.ติดตามผลงานและทำต่อเนื่อง
  • 6.เผยแพร่

เพิ่มเต็ม โต๊ะที่ใช้ควร เป็นกลม

หมายเลขบันทึก: 579289เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท