Ebola(อีโบล่า)มาแรง และเร็ว


ภาพ__ วิธีป้องกันโรค "น้องโบ" หรือ อีโบล่า

  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ป่า + กินสุก (ไม่กินดิบ)
  • ล้างมือด้วยสบู่ ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ, สัมผัสใบหน้า, เข้าบ้าน, ก่อนนอน
  • พยาบาล หมอ ผู้ช่วยเหลือคนไข้, ต้องสวมถุงมือแบบหนา (แบบบางสั้น และรั่วซึมได้ 10-15%)
  • อย่าเชื่อข่าวลือ (ไม่เฉพาะอาฟริกา... ข่าวลือในไทย ก็เชื่อไม่ได้!)
  • ไปโรงพยาบาล-สถานีอนามัย ทันทีที่ป่วย

.

ภาพ__ การ์ตูนล้อน้องโบ (อีโบล่า) คล้ายกับว่า ทำไมถล่มประเทศยากจน (อาฟริกา)

ผู้เชี่ยวชาญ เชื่อว่า

  • แหล่งสะสมเชื้อ อยู่ในลิง + กอริลล่า
  • ชาวอาฟริกา ได้รับเชื้อจากการสัมผัส เนื้อลิง + เนื้อค้างคาว เป็นหลัก

.

ภาพ__ น้องโบ (อีโบล่า) มี 2 ระยะ หรือ 2 เฟส

  1. เฟสหนึ่ง - ระยะแรก = ไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ = คล้าย ไข้หวัดใหญ่
  2. เฟสสอง - ระยะสอง = อาเจียน ท้องเสีย เลือดออกทาง "ตา-จมูก-ปาก", ถ่ายเป็นเลือด +/- ไตเสื่อม-ไตวาย, ตับเสื่อม-ตับวาย

คนที่มี อาการเด่นแบบ เฟสหนึ่ง มักจะรอด

คนที่มี อาการเด่นแบบ เฟสสอง มักจะตาย

.

ภาพ__ อาการ 2 เฟส หรือ 2 ระยะ

  • (1). เฟส 1 - ระยะ 1 (สีฟ้า) > ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อย หมดแรง = คล้ายไข้หวัดใหญ่
  • (2). เฟส 2 - ระยะ 2 (สีเขียว) > คลื่นไส้ อาเจียน ตกเลือด, ถ่ายเป็นเลือด = คล้ายไข้เลือดออก แต่แรงกว่ากันมาก

คนไข้ที่มีอาการ เฟส 2 ชัดเจน มักจะตาย โดยเฉพาะ...

  • เลือดออก > ถ่ายเป็นเลือด - ตกเลือดภายใน - ตกเลือดภายนอก ที่ผิวหนัง
  • ตับเสื่อม-ตับวาย
  • ไตเสื่อม-ไตวาย

.

ภาพ__ ภาพแผนที่อาฟริกา มีรูปคล้ายแรด มองจากด้านขวา หันหน้าไปทางตะวันออก

น้องโบ หรืออีโบล่า... ชอบอาฟริกาตะวันตก ซึ่งมีชื่อรวมๆ กัน คล้ายมือถือ (แอลจี + โนเกีย) ได้แก่

  • LGs = ไลบีเรีย - กินี - เซียร์ร่า ลีโอน
  • N = ไนจีเรีย

.

สายพันธุ์ที่พบอยู่ตอนนี้ ส่วนใหญ่ เป็นสายพันธุ์ "แซร์อี (Zaire)"

ชื่อใหม่ของ แซร์อี คือ DRC = สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย คองโก + ซูดาน

สัตว์ที่เป็นพาหะ สำคัญ ได้แก่

  • สัตว์ปีก = ค้างคาว
  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม = ลิง วัว กวาง  

                                                                    

                                                                    

วิดีโอ__ กินลิง ในไลบีเรีย 

วิดีโอ__ ไลบีเรีย มีสงครามกลางเมืองหลายสิบปี

คนที่นั่น บางคน เชื่อว่า ถ้ากินเนื้อศัตรูได้ จะทำคุณไสยให้ล่องหน (ในเรื่อง ใช้ศัพท์ 'naked' ที่แปลว่า เปลือย; 'hannibal' ที่แปลว่า กินเนื้อตัวเอง)

  • สีส้มๆ เหลืองๆ คือ ไขมันในสายรัดลำไส้ = อันตคุนัง (ภาษาบาลี) ในอาการ 32
  • อันตะ = ลำไส้, คุนัง = ร้อยรัด
  • สีชมพูๆ ในภาพ คือ ลำไส้ (อันตัง)

                                                               

                                                               

มีคำ กล่าวว่า "อีโบล่า ไม่เคยฆ่าใคร"

แต่น้องโบ ไปตีรวน ระบบ "ภูมิคุ้มกันโรค" 

ภูมิคุ้มกันโรค จะไปทำลายตัวเอง ที่เซลล์ทั่วร่างกาย

โดย ทำร้าย เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด มากที่สุด

.

เยื่อบุผนังหลอดเลือด ทำหน้าที่คล้ายตะแกรง + แผ่นกรอง

ปกติ จะยอมให้ออกซิเจน น้ำ เกลือแร่ สารอาหาร ฮอร์โมน ซึมผ่านไปได้ อย่างพอดี

คล้ายกับ ด่านศุลกากร ที่ยอมให้ อะไรดีๆ เช่น นักท่องเที่ยว สินค้า-บริการ ฯลฯ เข้าประเทศ

ไม่ยอมให้ อะไรร้ายๆ เช่น ผู้ก่อการร้าย ยาเสพติด ของหนีภาษี ฯลฯ เข้าประเทศ

.

ระบบภูมิคุ้มกันที่ตีรวน จะทำลายตัวเอง ที่ผนังหลอดเลือด

ทำให้ "รั้ว" ของกระแสเลือด รั่วซึม

น้ำเลือด +/- เลือด จะรั่วออกไป

คล้ายๆ เขื่อน ที่รั่วซึม หรือ แตกปริ

.

น้องโบ (อีโบล่า) เป็นไวรัสที่ แบ่งตัวเร็ว ลูกดก

พบเชื้อจำนวนมากในเลือด น้ำลาย สารคัดหลั่ง (เช่น เสมหะ ฯลฯ), เหงื่อ และอาเจียน (อ้วก)

วันที่พบเชื้อมากที่สุด คือ วันที่ 5 ขึ้นไป (หลังมีไข้)

นิวยอร์ค ไทมส์ รายงานว่า

.

ถ้าเทียบปริมาณเชื้อ ในเลือดคนที่ติดเชื้อ 1/5 ช้อนชา = 1 มล. = 1 cc. จะพบว่า

อีโบล่า มีความเข้มข้นเชื้อสูงกว่า โรคอื่นๆ คือ

(1). อีโบล่า > 10,000 ล้านตัว

(2). เอดส์ (HIV) + ไม่กินยาต้าน > 50,000-10,000 ตัว

(3). ไวรัสตับอักเสบ > 5-20 ล้านตัว

การที่พยาบาลสหรัฐฯ ติดเชื้อได้ง่าย

ทั้งๆ ที่ใส่ชุดป้องกัน - หน้ากาก - ถุงมือ - พ่นยาฆ่าเชื้อ - ล้างมือ อย่างดี อาจเป็นจาก...

(1). ความเข้มข้นเชื้อในของเหลวสุงมาก

(2). เชื้อจำนวนน้อย ก็ทำให้ติดเชื้อได้ (น่าจะไม่ถึง 1 หยด)

(3). การสวมชุดพลาสติกทั้งตัว ทำให้เหงื่อซึม หรือคัน ได้ง่าย

ถ้าเผลอไปเกา หรือใช้มือที่ปนเปื้อน สัมผัส ตา-จมูก-ปาก ก็ติดเชื้อได้

. 

โอกาสตาย...

  • ในคน = 70%
  • ในลิงกอริลล่า = 90%

ข่าวดี คือ น้องโบ ไม่ติดต่อทางลมหายใจ

ทีนี้ ข่าวดี มักจะมาคู่ข่าวร้าย

.

ข่าวร้าย ที่ว่า คือ น้องโบ "อึด + อายุยืน" เมื่อเทียบกับไวรัสอื่นๆ

(1). ทนแห้ง

อยู่ในที่แห้ง เช่น ลูกบิดประตู ฯลฯ ได้ หลายชั่วโมง คล้ายไข้หวัด

(2). ชอบเปียก 

อยู่ในของเหลว เช่น เลือด เสมหะ ฯลฯ ได้ หลายวัน

(3). ทนนาน ถ้าอยู่ใต้สะดือ

พบเชื้อในอสุจิ (semen) ในคนที่รอดชีวิต ได้นานถึง 3 เดือน

ข้อนี้น่ากลัว เพราะ อีโบล่า อาจเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ หรือกามโรคได้

.

การรักษาในอาฟริกา

จะเน้นให้ยาบรรเทาอาการแบบกิน

ไม่ค่อยฉีดยา ไม่ให้น้ำเกลือ

เพราะ อะไรๆ ก็ขาดแคลนไปหมด

.

ทำให้โอกาส พยาบาล-หมอ ติดเชื้อต่ำกว่าในสหรัฐฯ

สหรัฐฯ ให้น้ำเกลือ ฉีดยา ใช้เครื่องช่วยหายใจ...

ยิ่งเจาะ ยิ่งฉีดมาก... พยาบาล ยิ่งเสี่ยงมาก

เพราะ พยาบาล + ผู้ช่วยพยาบาล สัมผัส คนป่วยมากกว่าคนอื่น

.

ค่ารักษาพยาบาลอเมริกัน 2 ท่าน (ที่ติดโรค จากคนไข้)

  • = 1,000 ดอลลาร์ฯ/คน/ชั่วโมง
  • = 64,820 บาท/คน/ชั่วโมง
  • = 1,557,261.92 บาท/คน/วัน 

ค่ารักษา 1.56 ล้านบาท/คน/วัน แบบนี้

ประเทศในอาฟริกา คงจะสู้ไม่ไหว

การที่อีโบล่า มีความเข้มข้นเชื้อในคนสูง

บวก จำนวนคนติดเชื้อ เพิ่มขึ้นเร็ว

.

ทำให้ ไวรัส มีโอกาสกลายพันธุ์ สูงขึ้นเรื่อยๆ

อีโบล่า ไปถึงไหน

สายการบิน จะพังก่อน

หลังจากนั้น การท่องเที่ยว จะทรุดตาม

.

ปีนี้ (2557) มีคนตายจากโรคไปแล้ว มากกว่า 4,000 คน

ผู้เชี่ยวชาญ เชื่อว่า ยอดคนป่วย-ตาย น่าจะสูงกว่าที่รายงานไว้ 2.5 เท่า

= น่าจะตาย 10,000 คน ขึ้นไป

.

3 สัปดาห์ที่ผ่านมา...

เฉพาะ บุคลากรสุขภาพ คือ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล หมอ (ในอาฟริกา)

  • ป่วย 427 ท่าน
  • ตาย 236 ท่าน

.

อัตราตาย = 55.3%

แม้จะต่ำกว่าคนทั่วไป มีตาย = 70%

ทว่า... ตายแบบนี้ จะทำให้การหาอาสาสมัครนานาชาติเข้าไป ได้ยากขึ้นเรื่อยๆ

.

ถ้ามีค่าตอบแทนสูงพอ

ประเทศที่ไม่รวย + มีหมอมากเป็นพิเศษ คือ คิวบา

คิวบา... ส่งออกพยาบาล หมอ ไปช่วยประเทศทั่วเขตอเมริกากลาง

ประเทศไทย อาจจะบริจาคข้าว ยา อุปกรณ์การแพทย์

.

เรา อาจจะ ช่วยสร้างโรงพยาบาล ติดฉนวนไม่ให้ร้อน

และ ขอความช่วยเหลือ คิวบา

ทำการฝึกอบรม ผู้ช่วยพยาบาลที่นั่น

อย่าลืม จ่ายค้าจ้างให้ คิวบา แบบคุ้มค่าเสี่ยงด้วย

.

ใช้เทคโนฯ สร้างโรงเลี้ยงไก่ของไทย

ทำโรงพยาบาล ขนาดเล็ก ที่ "เย็นๆ เป็นต้นแบบ (model)" ในอาฟริกา

ถ้าทำได้,

จะสร้างชื่อเสียงให้ไทยได้มาก

.

การเฝ้าระวัง ไม่ให้อีโบล่า เข้าไทย

เป็นทางเลือก และทางรอด ของการท่องเที่ยว

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

From Businessinsider > http://www.businessinsider.com/what-makes-ebola-virus-so-deadly-2014-10

From Businessinsider > http://www.businessinsider.com/ebola-spreading-in-west-africa-2014-10

หมายเลขบันทึก: 579119เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะคุณหมอ...แม้ประเทศไทยจะอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการระบาดต่ำ แต่การทราบข้อมูลของเชื้อโรค  และการไม่ประมาทที่จะป้องกันตัวเอาไว้ก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท