ความแตกต่างในการเข้าถึงแก่นธรรมของคนไทยกับคนตะวันตกที่สนใจพุทธศาสนา


การที่คนตะวันตกสามารถเข้าถึงแก่นธรรมได้มากกว่าคนไทยนั้น มีข้อสังเกตว่า คนตะวันตกที่ลงทุนเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนา ได้ผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว สนใจที่จะมาศึกษาจริงๆ และเอาจริงเอาจัง ในการหาความรู้

ทำไมคนไทยที่อยู่ใกล้ชิดกับพุทธศาสนามากกว่า รู้จักมาตั้งแต่เกิด ได้พบเห็น สัมผัสพิธีกรรม ประเพณี เห็นวัดมาตลอด แต่คนชาติตะวันที่บินข้ามน้ำข้ามทะเลมาศึกษาพุทธศาสนาในเวลาไม่นาน..

 

จึงสามารถเข้าถึงแก่นธรรมได้มากกว่าคนไทย ที่อยู่ใกล้ชิดกับพุทธศาสนามานานกว่า

 

มองอย่างพิเคราะห์ วิธีการสอนพุทธศานาสู่การรับรู้นั้น แตกต่างกัน

 

คนไทยนั้น เรียนรู้พุทธศาสนา จากการเรียนภาษาบาลี แล้วจึงแปลออกมา กว่าจะเข้าใจความหมายก็ต้องใช้เวลาตีความให้ตกผลึกในความรู้ เช่น ศึกษาเรื่อง ญาณ เพื่อให้เข้าใจถึง สมาธิ

 

แต่เมื่อสอนชาวตะวันตก สอนเรื่องสมาธิเลย ไม่ต้องไปแปล ใช้ภาษาง่ายๆ สอนถึงการมีสติ สมาธิในชีวิตประจำวัน

 

เมื่อคนตะวันตก เห็นหัวข้อ ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดความสนใจว่า อะไรคือแก่นแท้ จึงสามารถใช้เวลาศึกษาและเข้าถึงแก่นธรรมในเวลาไม่นานนัก

 

แต่คนไทย ต้องแปลความ และตีความจนตกผลึก

 

การที่คนตะวันตกสามารถเข้าถึงแก่นธรรมได้มากกว่าคนไทยนั้น มีข้อสังเกตว่า คนตะวันตกที่ลงทุนเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนา ได้ผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว สนใจที่จะมาศึกษาจริงๆ และเอาจริงเอาจัง ในการหาความรู้

 

แต่คนไทยหลายคน คุ้นเคยกับพุทธศาสนา เห็นมาตั้งแต่เกิด เลยอาจคิดว่า ตนเองรู้จักพุทธศาสนาดีอยู่แล้ว..

เมื่อเกิดมาก็มีระบุไว้ในทะเบียนบ้านแล้วว่า นับถือศาสนาพุทธ

 

แต่ศีล 5 ข้อ หลายคนยังไม่สามารถรักษาศีลได้เลย

 

ปัจจุบัน การปฏิรูปการให้ความรู้ในพุทธศาสนาจึงเปลี่ยนไป พระ ฆราวาส เอาหลักธรรมมาย่อยให้ง่ายขึ้น เช่น ท่าน ว.วชิรเมธี, ดังตฤณ  กับหนังสือที่หลายคนชื่นชอบอย่าง เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน, อย่าให้ความตายทำร้ายท่าน

เป็นการสอนโดยใช้คำธรรมดา ที่น่าสนใจและคนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

 

คนเขียนหนังสือธรรมะก็สามารถที่จะร่ำรวยได้ โดยไม่ต้องอิงกระแสตะวันออกมากนัก

 

ข้อคิดจากบันทึกนี้

  1. การปรับตัวให้เข้ากับวิถีปัจจุบัน จะทำให้เดินทางไปสู่เป้าหมายได้ดีขึ้น

  2. ควรคิดนอกกรอบบ้าง เพราะกรอบไม่ได้มีไว้ครอบหัวของคุณ

  3. จับจ้องที่จุดหมาย วิธีการปรับให้เข้ากับปัจจุบัน

  4. การประยุกต์ไปตามกระแสโลก รักษาจุดยืนของเป้าหมายนั้นไว้

 


 

หมายเลขบันทึก: 57897เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท