15 คำ เดือน 11 : ภาพสะท้อนวัฒนธรรมภูมิปัญญาอีสาน


15 คำ เดือน 11 : ภาพสะท้อนวัฒนธรรมภูมิปัญญาอีสาน

แสงไฟกลมสีส้มลูกแล้ว ลูกเล่าพุ่งทยานจากท้องขึ้นสู่ฟากฟ้าแล้วหายวับดับไป ไร้เสียง ไร้กลิ่น เป็นการจุดบูชาต่อพระพุทธเจ้าของพญานาคที่สถิตย์ในลุ่มแม่โขง

ปรากฎการ์บั่งไฟพญานาค ไม่อาจอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน ไม่มีใครรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม สิ่งเหนื่อยธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมานานแล้ว นานเกินกว่าคนกรุงจะรับรู้เสียอีก แต่ชาวบ้านสามารถอธิบายด้วยนิทานปรัมปรา ที่สอดคล้องกับพุทธศาสนาแบบฉบับวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีนาคเป็นตัวละครสำคัญ

นาคในความเชื่อของวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมีความสำคัญต่อวิถีความคิดและการดำรงชีวิตของผู้คนมากมายเช่น นาคคือตัวแทนของความศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนาจนถึงขนาดปลอมตัวเป็นมนุษย์มาขอบวช นาคคือผู้พิทักษ์พุทธศาสนา นาคคือผู้ให้น้ำฝน นาคคือสะพานเชื่อมโยงจากโลกมนุษย์สู่สวรรค์ นาคคือผู้ขุดแผ่นดินขนกลายเป็นสายน้ำใหญ่ทำให้เกิดเมือง ฯลฯ นาคแทนอำนาจ วาสนา บารมี นาคแทนวิญญาณบรรพบุรุษ ฯลฯ

เก้ง จิระ มะลิกุล อธิบายคติความเชื่อนี้ผ่าน 15 ค่ำ เดือน 11 ว่าบั่งไฟพญานาคเกิดขึ้นโดยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาของมนุษย์ โดยได้รับถ่ายทอดจากพญานาคในรูปของ "ไข่พญานาค" เพื่อเป็นพุทธบูชาในคืนวันออกพรรษา และถ่ายทอดวิธีการไปสู่ศิษย์รักอีดต่อหนึ่ง

เมื่อเกิดบังไฟพญานาคขึ้นในแม่โขง ผู้คนก็ค่อย ๆ ไปชมบั่งไฟพญานาคจากน้อยสู่มากขึ้น จากจากความบริสุทธิใจกลายเป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยว

และแล้วคติความเชื่อชาวบ้านก็ถูกแทรกแซงด้วยวิทยาศาสตร์ พญานาคถูกพิสูจน์การมีตัวตน

ความชาญฉลาดของผู้กำกับและคนเขียนบทได้สร้างสัญลักษณ์มากมายในภาพยนตร์ เช่นไข่พญานาค คือความหมายขององค์ความรู้ทั้งปวงของวัฒนธรรมอีสานลุ่มแม่น้ำโขงที่ไม่สามารถสืบค้นผู้คิดค้นได้ จึงยกให้เป็นการให้ของพญานาคที่ออกมาในรูปไข่ ที่จะฟูมฟักเป็นความรู้ของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาไข้ การกินอยู่ไปจนถึงการห้ามหมาขี้ องค์ความรู้นี้แสดงให้เห็นในภาพยายสอน (สั่ง) ให้หลานทำ แต่ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้ด้านศาสนาจะถูกถ่ายทอดจาดสงฆ์สู่ฆารวาส

แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปตามระบบการศึกษาที่เจริญก็ตาม องค์ความรู้จาก "พญานาค" ก็ยังสอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างไม่อาจแยกได้

"เคน" คือตัวแทนวัยรุ่นของยุคเปลี่ยนผ่าน ที่สองเท้าเหยือบเท้าละวัฒนธรรม เขาเกิดอีสานได้รับความรู้แบบชาวบ้าน แต่พอไปเรียนที่กรุงเทพฯ ก็ได้รับความรู้แบบคนเมือง เขายังทำตามคติชาวบ้านที่ย้ายสั่งสอน เขายังเคารพในพระศาสนา แต่เขาเริ่มตั้งคำถามกับคำว่าศรัทธา เขาเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำทั้งหมดว่า งมงายหรือศรัทธา ทำไมบางคนยอมตายไปพร้อมกับศรัทธานั้น? แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ยังปกป้องมันจากการท้าทายของผู้อื่น

การย้อนแย้งเช่นนี้คือหัวใจของหนัง ที่ทำให้ 15 ค่ำ เดือน 11 น่าติดตาม โดยไม่ได้ชี้นำให้เชื่อ แต่ให้ชี้นำให้คิด

"เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ"

เทศกาลออกพรรษามาถึง ผู้เขียนจึงขอแนะนำภาพยนตร์ดี ๆ ที่สะอาดไปด้วยความคิด บริสุทธิไปด้วยแรงศรัทธา งดงามไปด้วยวัฒนธรรมลุุ่มแม่โขง

แสงไฟกลมสีส้มลูกแล้ว ลูกเล่าพุ่งทยานจากท้องขึ้นสู่ฟากฟ้าแล้วหายวับดับไป ไร้เสียง ไร้กลิ่น ประกอบกับเสียงไชโยโห่ร้องรับลูกไฟแต่ละลูก เสียงอึ่งอลของผู้คนนับแสนที่หลังไหลมานั่งชมมีเสียงมโหรสพเป็นฉากหลัง กลิ่นอาหารสุรายาเมาคละคลุ้งไปทั่วอาณาฝั่งลำน้ำแห่งศรัทธา

วาทิน ศานติ์ สันติ 8 ตุลาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 578486เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2014 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2014 07:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"กลิ่นอาหารสุรายาเมา..คละคลุ้้งไปทั่วฝั่งอาณาฝั่งลำน้ำแห่งศรัทรา.."..เออเฮ้อ...หนอ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท