dreams to me 8


กล้อง 

ในปีค.ศ. 1814 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Nicéphore Niépce ได้ทดลองนำสาร silver chloride เคลือบลงบนกระดาษมารับภาพในกล้องออบสคิวรา
โดยเปิดรับแสงอยู่นานถึง 8 ชั่วโมง กระดาษดังกล่าวมีภาพปรากฏขึ้นแต่สามารถอยู่ได้สักพักแล้วก็จางหายไป แม้กระนั้นก็ถือได้ว่า
เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพ

ในปีค.ศ. 1837 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Louis Jacques Mandé Daguerre ผู้เป็นหุ้นส่วนกับนาย Niépce ได้ทำการ
พัฒนาวิธีการสร้างภาพต่อจากนาย Niépce เขาสามารถทำการบันทึกภาพให้อยู่คงทนได้สำเร็จ
อีกทั้งใช้เวลาในการรับแสงน้อยกว่า 30 นาที วิธีการของนาย Daguerre เรียกว่า
"Daguerreotype"

ในปีค.ศ. 1841 นาย William Henry Talbot ได้พัฒนาระบบที่ชื่อ Calotype โดยสร้างภาพจากการบันทึกให้
เป็นภาพกลับสี (Negative Image ขณะนั้นยังเป็นภาพสีขาวกับดำอยู่) จากนั้นนำภาพที่ได้มาทำ
การสำเนาได้เป็นภาพสีเหมือน (Positive Image) ซึ่งวิธีการนี้สามารถทำสำเนาจากภาพต้นฉบับ
ได้หลาย ๆ ชุด ทั้งนาย Daguerre และนาย Talbot ต่างก็ใช้กล้องออบสคิวราแบบติดเลนส์ด้าน
หน้าซึ่งสามารถเลื่อนปรับระยะได้เพื่อหาระยะชัดของภาพ ส่วนแผ่นรับภาพจะติดไว้ด้านหลังที่
ช่องมองภาพ

กล้อง Daguerreotype
ภาพจาก Wikipedia

ในปีค.ศ. 1843 ได้มีการนำภาพถ่ายมาใช้ในการโฆษณาครั้งแรกที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในปีค.ศ. 1851 Frederick Scott Archer ได้คิดค้นระบบที่มีชื่อเรียกว่าระบบ Collodion โดยใช้แผ่นรับภาพ
แบบแห้ง ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ถึง 3 วินาทีในการบันทึกภาพในสภาพแสงปกตินอกอาคาร ใน
ช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองก็มีการทดลองบันทึกภาพถ่ายใต้น้ำด้วย

ในปีค.ศ. 1859 มีการจดสิทธิบัตรกล้องถ่ายภาพแบบ Panorama

ในปีค.ศ. 1871 นาย Richard Leach Maddox ได้คิดค้นแผ่นรับภาพแบบแห้งโดยใช้สารเจลาตินซึ่งมีชื่อเรียก
ระบบนี้ว่า ระบบ Gelatin Dry Plate Silver Bromide แผ่นรับภาพชนิดนี้ทำให้ช่างถ่ายภาพ
ไม่จำเป็นต้องชะโลมด้วยน้ำยาเคมีเพื่อทำการล้างภาพทันทีหลังจากบันทึกภาพเสร็จเหมือน
กรรมวิธีในระบบก่อนหน้านี้ ในช่วงท้ายของทศวรรษ 1870 ความเร็วในการบันทึกภาพเหลือ
เพียง 1 ใน 25 วินาที


Gelatin Dry Plate Silver Bromideภาพจาก www. astro.virginia.edu

ในปีค.ศ. 1880 นาย George Eastman ได้ก่อตั้งบริษัท Eastman dry plate สี่ปีให้หลังทางบริษัทได้
ประดิษฐ์แผ่นรับภาพทำจากกระดาษทำให้โค้งงอได้เป็นที่มาของคำว่า "ฟิล์มถ่ายภาพ
(Photographic Film)"

ในปีค.ศ. 1888 บริษัท Eastman ได้ประดิษฐ์ฟิล์มแบบเป็นม้วนทั้งยังประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพแบบประหยัดใช้
ชื่อว่า "Kodak" ตัวกล้องมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมไม่มีการปรับระยะชัดและมีความเร็วใน
การรับแสงตายตัว อีกทั้งได้ทำการเปลี่ยนฟิล์มแบบกระดาษเป็นแบบเซลลูลอยด์ (Celluloid)ใน
ปีค.ศ. 1889 ผู้ใช้กล้อง Kodak เมื่อถ่ายภาพจนหมดม้วนก็จะนำฟิล์มมาส่งให้บริษัท Kodak
เพื่อเป็นผู้จัดทำขบวนการสร้างภาพ ต่อมาในปีค.ศ. 1900 บริษัทยังได้ออกกล้องรุ่นใหม่มีชื่อว่า
"Brownie" เป็นกล้องราคาประหยัดและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง กล้อง Brownie ออกมา
อีกหลายรุ่น บางรุ่นยังมีจำหน่ายจนสิ้นทศวรรษ 1960 ผลการประดิษฐ์ฟิล์มม้วนของ Kodak ยัง
เป็นก้าวสำคัญในการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนต์ของนาย Thomas Edison's ในปีค.ศ. 1891

ในปีค.ศ. 1913 นาย Oskar Barnack จากสถาบัน Ernst Leitz Optishe Werke ได้มีการประดิษฐ์ต้นแบบ
กล้อง 35 มม. และผลิตออกจำหน่ายในปีค.ศ. 1925 ใช้ชื่อกล้องว่า "Leica I" กล้อง 35 มม.
ได้เป็นที่นิยมเพราะขนาดกระทัดรัด และฟิล์มที่ใช้ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นผลให้ผู้ผลิตกล้องต่างก็ลงมาแข่งขันในตลาดนี้
ในปีค.ศ. 1927 บริษัทไฟฟ้า General Electric ได้ประดิษฐ์หลอดไฟแฟลชใช้สำหรับถ่ายภาพในพื้นที่ที่มี
แสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านี้การให้แสงสว่างทำได้โดยใช้ผงเคมีทำปฏิกริยากันจนเกิด
แสงจ้าซึ่งถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน

ในปีค.ศ. 1928 นาย Franke & Heidecke Roleiflex ได้นำเสนอกล้อง Rolleiflex เป็นกล้องขนาดเหมาะกับ
การพกพาใช้ฟิล์มขนาด 120 ประกอบด้วยเลนส์สองชุด ชุดหนึ่งใช้สำหรับบันทึกภาพ อีกชุดหนึ่ง
ใช้กระจกสะท้อนให้เกิดภาพบนกระจกฝ้าสำหรับมองภาพ เรียกว่า กล้องระบบสะท้อนภาพ
เลนส์คู่ (Twin-lens Reflex Cameras เรียกย่อ ๆ ว่า TLR) ในปีค.ศ. 1933 นาย Ihageen
Exakgta ได้ออกกล้องระบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single-lens Reflex Camera เรียกย่อ ๆ
ว่า SLR) กล้องดังกล่าวใช้ฟิล์ม 120 ความเป็นจริงในยุคนั้นมีการผลิตกล้อง TLR และ SLR
อยู่ก่อนแล้ว แต่กล้องของ Rolleiflex กับ ของ Exakgata มีขนาดกระทัดรัดพกพาสะดวก
จึงเป็นที่นิยมมากกว่า และอีก 3 ปีให้หลัง Kine Exakta ได้ออกกล้อง SLR ที่ใช้ฟิล์มขนาด
35 ม.ม. ซึ่งเป็นแบบที่สามารถทำตลาดได้ดี ทำให้มีผู้ผลิตกล้องประเภทนี้ออกมาเป็นจำนวน
มาก ในปีค.ศ. 1947 กล้อง Duflex ได้มีการใช้ปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) ในการสะท้อน
ภาพทำให้มีช่องมองภาพอยู่ด้านหลังของกล้องแทนที่ดูจากด้านบนเหมือนกล้องอื่น ๆ ในยุคนั้น
ช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ได้กำเนิดกล้อง Hasselblad 1600F ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสำหรับกล้อง
SLR ขนาดกลางซึ่งใช้ฟิล์ม 120

หลักการทำงานของกล้อง SLR
ภาพจาก photos.cristinsculpture.com

กล้อง Kodak ภาพจาก www.inventors.about.com


กล้องจำลองต้นแบบ Leica I
ภาพจาก Wikipedia




กล้อง Rolleiflex แบบ TLRภาพจาก www.goatkarma.com


กล้อง Exakta A, 2nd version,
with 75/2.8 Tessar
ภาพจาก www.pacificrimcamera.com

ในปีค.ศ. 1935 บริษัท Eastman Kodak ได้วางจำหน่ายฟิล์มสไลด์สี "Kodachrome" ซึ่งให้สีสรรที่สวยสด
เป็นที่นิยมของช่างภาพมืออาชีพ เนื่องจากขบวนการสร้างภาพที่ซับซ้อน ฟิล์มรุ่นนี้ขายในราคา
ที่รวมค่าล้างและต้องส่งไปเข้าสู่ขบวนการล้างที่ศูนย์ของ Kodak เท่านั้น ต่อมาในปีค.ศ. 1941
บริษัท ยังได้แนะนำฟิล์ม negative สี "Kodacolor" เข้าสู่ตลาดอีกด้วย
ในปีค.ศ. 1948 นาย Edwin Land ได้นำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ออกสู่ตลาด เป็นกล้องถ่ายภาพแบบสร้างภาพทันที
หลังการบันทึกภาพ (Instant-picture camera) ซึ่งมักเรียกกันว่า "Land Camera" รุ่นของกล้อง
ที่ออกตลาดในตอนนั้นเรียกว่า "Polaroid Model 95" เนื่องจากราคากล้องยังค่อนข้างสูง จึงมี
การออกรุ่นใหม่ ๆ อีกหลายรุ่น ในปีค.ศ. 1963 Polaroid ได้เริ่มจำหน่ายฟิล์มสีสร้างภาพทันที
หลังการบันทึกภาพ (Instant Colour Film) ในปีค.ศ. 1965 Polaroid ได้ออกกล้องรุ่น
"Model 20 Swinger" ซึ่งถือแป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมียอดขายสูงสุดตลอดการณ์
รุ่นหนึ่งของบริษัท

ในปีค.ศ. 1953 นาย Harold Eugene Edgerton จากบริษัท EG&G ได้ร่วมมือกับนาย Jaques Yves
Cousteau นักสำรวจใต้น้ำชาวฝรั่งเศสเริ่มใช้กล้องถ่ายภาพท้องมหาสมุทรโดยใช้คลื่นโซนาร์
ในการวัดระยะระหว่างกล้องกับพื้นมหาสมุทร

ในปีค.ศ. 1968 ยาน Apollo 8 ได้ทำการบันทึกภาพของโลกจากดวงจันทร์เป็นครั้งแรก)

ในปีค.ศ. 1978 บริษัทผลิตกล้อง Konica ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพแบบหาระยะชัดโดยอัตโนมัติ (Automatic
Focus Camera)

ในปีค.ศ. 1980 บริษัท Sony เริ่มแสดงต้นแบบกล้องถ่ายวีดิโอ ในปีถัดมา บริษัท Sony ได้ออกกล้อง
ถ่ายภาพนิ่งแบบอีเลคทรอนิคซึ่งใช้หลักการเดียวกับการบันทึกวีดีโอและใช้แผ่นเก็บข้อมูล
ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถดูภาพและพิมพ์ภาพจากเครื่องอ่านที่สร้างเฉพาะงาน ระบบดังกล่าวคล้าย
กับระบบที่บริษัท Texas Instruments คิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 1972 คุณภาพของภาพที่ได้ยังอยู่
ในเกณฑ์ที่ต่ำเทียบเท่ากับภาพบนจอทีวี

ในปีค.ศ. 1985 บริษัท Pixar ได้นำเสนอเทคโนโลยีการสร้างและประมวลภาพด้วยระบบดิจิตอล

ในปีค.ศ. 1986 บริษัท Fuji ได้ริเริ่มผลิตกล้องแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

ในปีค.ศ. 1988 บริษัท Fuji ได้ออกกล้อง Fuji DS-1P ซึ่งถือเป็นกล้องดิจิตอลแรกที่สร้างไฟล์ภาพนำมาใช้ใน
คอมพิวเตอร์ได้ ตัวกล้องมีการ์ดความจำ 16 MB และต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่รักษาข้อมูล
ตลอดเวลา กล้องดังกล่าวไม่ได้มีการวางจำหน่ายมากนัก

ในปีค.ศ. 1990 กล้องที่มีการวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ คือกล้อง Dycam Model 1 ใช้หน่วยบันทึกภาพแบบ
CCD (Charge Couple Device) และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรงในการส่งข้อมูลภาพ

ในปีค.ศ. 1991 บริษัท Kodak ได้นำกล้อง Kodak DCS-100 ออกจำหน่ายโดยใช้ตัวกล้องแบบใช้ฟิล์มของ
ยี่ห้ออื่นมาดัดแปลง (ใช้กล้องของ Nikon) Kodak ได้ให้การนิยามในการเรียกเม็ดสีแต่ละเม็ด
ของภาพดิจิตอลว่า “พิกเซล” (Pixel) ขนาดของไฟล์ภาพสำหรับกล้องรุ่นนี้อยู่ที่ 1.3 เมกกะ
พิกเซล กล้องดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูงและมีเป้าหมายในการจำหน่ายแก่ช่างภาพมืออาชีพและ
นักข่าว

ในปีค.ศ. 1995 กล้อง Ricoh RDC-1 ได้ถูกวางจำหน่าย ถือเป็นกล้องแรกที่สามารถอัดคลิบวีดีโอได้

ในปีค.ศ. 1995 นาย Phillipe Kahn ได้ประดิษฐ์ระบบบันทึกภาพสำหรับโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องแรก และ
ในปีค.ศ. 2000 บริษัท J-Phone ได้ออกโทรศัพท์มือถือรุ่น J-SH04 ที่สามารถบันทึกภาพได้
จำหน่ายในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก


หลังจากนั้น บริษัทผลิตกล้องชั้นนำต่างก็ผลิตกล้องดิจิตอลที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีหน่วยบันทึกภาพที่ให้คุณภาพ
และความละเอียดสูงขึ้น ในขณะที่ราคาลดต่ำลง มีแบบและรุ่นต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทำให้การถ่ายภาพเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #เรื่องราว
หมายเลขบันทึก: 578204เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2014 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2014 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท