การจัดกิจกรรมกลุ่ม Group Dynamic


                                        

            สวัสดีค่ะทุกคน ดิฉันเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3  ดิฉันและเพื่อนๆ ในชั้นปีได้รับมอบหมายให้ไปคิดกิจกรรมกลุ่มสำหรับเด็กประถมและผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมภายในเวลา 30 นาทีต่อกลุ่ม มีเวลาให้พวกเราคิดกิจกรรมกัน 1 สัปดาห์ พวกเราจึงไปจัดเตรียมกิจกรรมกันมาโดยได้มีการจับฉลากผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม ผู้ที่คอยกระตุ้น ผู้สังเกตการณ์ และคนไข้

            ก่อนอื่นเลยใครที่ยังไม่เข้าใจการทำกิจกรรมกลุ่มนั้น ดิฉันจะอธิบายขั้นตอนคร่าวๆให้ฟังก่อน

1. Ice Breaking - สลายพฤติกรรม ปกติมนุษย์เมื่อเข้าสู่สังคมใหม่จะมีความรู้สึกว่า ตัวเองไม่คุ้นเคย ไม่ปลอดภัย ระแวง รู้สึกเหมือนถูกจับตามองจากคนที่ไม่รู้จัก จึงเกิดพฤติกรรมที่ปิดกั้น ตัวเอง วางฟอร์ม ไม่พูดคุยกับใคร (คล้ายๆจะฆ่าตัวตายอะไรประมาณนั้น) เหมือนกับมีกรอบน้ำแข็งล้อมรอบตัวเองอยู่ เพราะฉะนั้นขั้นแรกจึงเป็น การละลายน้ำแข็งเพื่อทำให้รู้สึกว่าทุกๆคนก็เหมือนกัน
2. Humanication - สร้างมนุษย์สัมพันธ์+เกิดการปฏิสัมพันธ์ เมื่อน้ำแข็งเกิดละลายและเบาบางลง เขาหรือเธอจะ มีความรู้สึกว่า ทุกๆคนที่อยู่ต่อหน้าเป็นพวกเดียวกันจะเริ่มไม่ รู้สึกเขินอาย และเรื่มกล้าแสดงออก กิจกรรมในขั้นตอนนี้จะเรื่มมีการพูดคุย สัมผัสกันเกิดความไว้วางใจกัน กล้าเล่น จับมือถือแขน โดยไม่คิดมากและขัดเขิน แต่ต้องอยุ่ในกรอบอันดีงาม
3. Creation - สร้างสรรค์ ก่อเกิดความคิดริเริ่ม สำหรับขั้นตอนนี้ จะเริ่มเป็นการยื่นเงื่อนไขบีบ เพื่อให้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล้าแสดงออกต่อเพื่อนๆในกลุ่ม และสาธารณชนมากขึ้น กล้าแสดงความคิดอ่าน ให้เพื่อนๆ รับฟัง ทั้งนี้อาจจะช้าหรือเร็วไม่เท่ากันอย่าซีเรียส กิจกรรมจะเป็นรูปแบบ การกระตุ้นให้คิดภายในกลุ่ม
4. Brain Stroming - การระดมความคิด ปลูกฝังการทำงานร่วมกันในกลุ่ม ให้รู้จักคิดพูดและรับฟังความคิด เห็นของคนอื่น เปิดใจให้กว้าง ยอมรับความคิดแปลก แตกต่างอาจมี การเชื่อมความคิด เชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม นำเสนอความคิดกลุ่มตนต่อกลุ่มอื่นๆ กิจกรรมจะอยู่ในรูปแบบที่ต้องมีการถกเถียงกัน หาข้อสรุปร่วมที่เป็นความคิดของกลุ่ม
5. Evaluation - การประเมินผล ให้รู้จึกการประเมินความสำเร็จของกระบวนการ ในแต่ละขั้นตอน (โดยต้องประเมินอยู่ตลอดเวลา) เพื่อปรับท่าที รวมไปถึงการพิจารณาตัดสินใจในการ ข้ามไปสู่กระบวนการต่อไป (อาจใช้เกมส์บางเกมส์ในการตัดสิน)

           และแล้ววันที่อ.ได้นัดก็ได้มาถึง พวกเราเตรียมตัวมาพร้อมมาก แต่สรุปว่าอ.ให้จับกลุ่มใหม่ เปลี่ยนผู้นำกลุ่ม หรือทุกตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ใหม่ทั้งหมดเลย เวลากิจกรรมก็เพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงต่อกลุ่ม เอาล่ะสิทีนี้ พวกเราจะทำอย่างไรกันดีหนอ....

                                            

           เริ่มจากกิจกรรมกลุ่มเด็กกลุ่มแรกคือกลุ่มเด็กที่ดิฉันมีหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์นั้น ตัวดิฉันเองจะค่อนข้างเห็นปฎิกิริยาของทุกคนทั้งคนไข้ ผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม กิจกรรมที่ให้เด็กๆทำตอนเปิดกลุ่มคือให้เด็กๆ เขียนชื่อตัวเองและตกแต่งให้สวยงาม เพื่อที่จะได้ดูนิสัยของน้องๆแต่ละคนก่อนเริ่มกิจกรรม จากนั้นจึงเล่านิทานให้น้องๆ ฟัง และให้น้องๆได้มีส่วนร่วมแสดงนิทานเรื่องซินเดอเรลล่า ขอชื่นชมเพื่อนที่เป็นผู้นำกลุ่มโดยไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนในกิจกรรมนี้มาก เพราะเพื่อนสามารถควบคุมน้องๆ ได้ในระดับที่ค่อนข้างดี

            

            จากนั้นก็เป็นกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งดิฉันได้รับหน้าที่เป็นคนไข้เบาหวาน ความรู้สึกของการเป็นคนไข้ที่ดิฉันจะต้องแสดงออกไปนั้นทำให้ดิฉันได้ย้อนกลับมาคิดว่า คนไข้ที่ในอนาคตเราจะต้องไปจัดกลุ่มให้กับเขานั้น เราควรจะคำนึงความรู้สึก การกลัวจากประสบการณ์ในชีวิต การระวังไม่ให้เกิดการหกล้มในคนไข้  เป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้เราได้มองกลุ่มในมุมอื่นนอกเหนือจากการเป็นผู้นำกลุ่มหรือผู้บำบัด และสิ่งที่รู้สึกได้เลยคือ การจัดกิจกรรมกลุ่มในผู้สูงอายุมีความยาก เพราะเราต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่คนไข้จะได้รับโดยที่เขารู้สึกได้ถึงคุณค่าในตัวเองด้วย

                           

            การเรียนในคาบนี้ทำให้ดิฉันและเพื่อนๆ ได้ประโยชน์อะไรหลายๆ อย่าง เช่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อ.จัดกลุ่มให้ใหม่ เพราะในอนาคตเราได้เจอกับเหตุการณ์ลักษณะนี้เราต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ได้  อีกทั้งยังทำให้เข้าใจคนไข้มากขึ้น แต่น่าเสียดายที่ดิฉันยังไม่มีโอกาสเป็นผู้นำกลุ่มในครั้งนี้  ตัวดิฉันเองก็อยากจะลองเป็นผู้นำกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะของตนเองในด้านนี้ดูสักครั้งถ้ามีโอกาส :)

อ้างอิง http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=12658#

คำสำคัญ (Tags): #ot#occupational therapy#OTMU
หมายเลขบันทึก: 576318เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2014 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2014 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท