มุมมองทางปัญญา 3


ปรัชญาเป็นเรื่องเข้าใจยากแม้แต่คนฉลาดก็มีสิทธิ์พลาดได้เพราะเนื้อหาปรัชญาเป็นเรื่องครอบคลุมจักรวาล ด้วยสิ่งมีชีวิตอุบัติขึ้นมาในโลกราว 1,200 ปี และคนเราเกิดมาในโลกนี้ราว 1,000 ปี และวัฒนธรรมคนเราก็เริ่มมาได้ 2,000 กว่าปีมานี้ สะท้อนถึงคนเรานอนหลับใหลลืมตื่นมานานแสนนานแล้ว คนเราพึ่งมาตื่นนี้เองและตราบใดคนเรายังตื่นอยู่ยังไม่หยุดคิดอยู่วัฒนธรรมของเราก็ก้าวต่อไปเรื่อย ๆ


ความรู้ที่คนเรามีอยู่ดุจแสงเทียนเล่มเล็ก ๆ ที่ส่องสว่างในความมืดยามราตรีกาลย่อมคาดเดาได้ว่าสิ่งที่เรารู้มีนิดเดียวส่วนที่ไม่รู้ยังมีมาก คนฉลาดมักถ่อมตนเพราะรู้จักความสามารถของตนดีพอ ขณะที่คนเขลาก้าวไปในเส้นทางที่แม้แต่คนฉลาดยังไม่กล้าเดินผ่าน เกี่ยวกับเนื้อหาปรัชญานั้นจำเป็นต้องคลุมเครือซึ่งเป็นหน้าที่ของนักปรัชญาที่ต้องชี้แจงแถลงไขตามเหตุผล คนที่อธิบายได้แจ่มแจ้งต้องเป็นคนที่เข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างแท้จริง การทำความเข้าใจปรัชญาจึงค่อยเป็นค่อยไปอย่ารีบร้อนตีตนไปก่อนไข้


การอ่านงานทางปรัชญานั้นไม่ต้องการว่าเขาบันทึกสิ่งนั้นออกมาจริงหรือไม่จริง แต่อยู่ที่เขาให้ความหมายของสิ่งนั้นว่าอย่างไรและผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์ต่อยอดมุมคิดนั้นได้ ข้อควรคำนึงของนักอ่านงานทางปรัชญาคือต้องศึกษามุมคิดของนักปรัชญาผู้นั้นอย่างลุ่มลึกและควรมีครูคอยแนะนำร่วมกันคิดร่วมกันอภิปรายในประเด็นที่สนใจ อย่าพยายามตะลุยอ่านให้จบเล่มโดยไม่ได้รับการพิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน


การอ่านนั้นผู้อ่านต้องแน่ใจชัดแจ้งแล้วว่าเข้าใจจึงหาบทใหม่มาอ่านต้องเรียนรู้จักการข้ามบทด้วย ผู้อ่านโปรดอย่านำลูกท้อมาถือเรื่องนั้นเอาไว้ให้ลิงถือเถิด ขณะอ่านงานทางปรัชญาต้องใช้ดุลพินิจอย่างเต็มกำลัง


ถามว่าเรียนรู้ปรัชญาไปทำไม ตอบยากเหมือนกัน เพราะปรัชญาไม่มีค่าเป็นเงินทอง ปรัชญาไม่ได้ช่วยให้คนเรามีบ้านสวยหรู ปรัชญาไม่ได้ช่วยให้คนเรียนร่ำรวย ปรัชญาไม่ได้ให้คนเรามีท้องอิ่มตลอดเวลา ปรัชญาไม่ได้ช่วยให้คนเราค้นหามิตรแท้หรือมิตรเทียม ปรัชญาไม่ได้ช่วยให้เราพบกับคนรักจนถึงกับแต่งงานเป็นเป็นคู่ชีวิตได้ และปรัชญาไม่ได้ช่วยให้คนเรามีชื่อเสียงโด่งดังจนคับฟ้าได้ มีเพียงสิ่งเดียวที่ปรัชญานี้ช่วยได้คือการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียนเท่านั้น คนที่พอใจท่องไปในโลกแห่งปัญญานี้เขาเรียกว่านักปรัชญา

..............................................................

เก็บมุมคิดมาจากหนังสือ ปรัชญา โดย ซี อี เอ็ม โจด ( แต่ง ) วิทย์ วิศทเวทย์ ( แปล ) พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2513 . ท่านผู้สนใจโปรดหาอ่านเพิ่มเติมได้

หมายเลขบันทึก: 576095เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2014 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2014 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ปรัชญา กินไม่ได้แต่เท่ 555555

"กิน  ขี้  ซี่..นอน"..เป็น..ปรัชญา..ที่ล้ำลึก..หากตื้นเขิน..คนเลย..ตายแบบ..ปลา..ใน  (วันนี้)..อิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท