ฝึกเป็น Reflective teacher 4: การใช้คำถามท้ายบทเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้


คำถามหนึ่งเกิดขึ้นเสมอค่ะเมื่อดิฉันต้องรับงานสอน คำถามนั้นคือ สอนแล้วนักศึกษาจะได้ทักษะวิชาชีพของวิชานั้นไปหรือไม่ เช่น เทอมนี้ดิฉันมีสอนวิชา Knowledge management systems ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ค่ะ ดิฉันต้องพยายามตอบตัวเองให้ได้ว่า สอนอย่างไรให้นักศึกษาเข้าใจและปฏิบัติด้านการจัดการความรู้สำหรับตนเองและไปเริ่มต้นการจัดการความรู้สำหรับองค์กรได้

จากที่ได้ศึกษาเรื่องการทำห้องเรียนกลับทางมาพอสมควรและเห็นสถิติในด้านบวกของพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนในห้องเรียนลักษณะนี้จากทั่วโลก ในเทอมนี้ดิฉันจึงทำการ Flip ห้องเรียนวิชานี้อย่างเต็มรูปแบบ เรียกว่าไม่มีการ lecture ให้ฟังกันในห้องเรียนนะคะ

และเช่นเคยสำหรับวันนี้นักศึกษาต้องดูคลิปการสอนของดิฉันในบทที่ได้วางกันไว้แล้วก่อนล่วงหน้าค่ะ สอนผ่านมา 3-4 ครั้งแล้วค่ะมาถึงครั้งนี้นักศึกษาประมาณ 50% ที่ดูคลิปมาก่อนเรียน

ดิฉันก็ยังคงต้องย้ำเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปและความมีความรับผิดชอบของผู้เรียน เราดูคลิปกันอีกครั้งในห้องเรียนซึ่งมีความยาวไม่เกิน 10 นาทีค่ะ

ดิฉันนำคำถามท้ายบทมาใช้เป็นคำถามในการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนค่ะ คำถามที่ดูจะยากหน่อยก็จะถามเป็นกลุ่มค่ะและจะให้เวลาในการระดมสมองก่อนตอบค่ะ

คำถามที่ดูเหมือนง่ายสำหรับผู้สอน แต่ผู้เรียนกลับใช้เวลาคิดนานมาก และตอบได้ไม่ตรงใจนักค่ะ ยิ่งถ้าให้คิดกันเป็นกลุ่มก็ยิ่งใช้เวลานานค่ะเพราะระดมสมองกันอย่างสนุกสนานจนหาคำตอบที่มีมติเอกฉันท์กันไม่ค่อยลงตัว

ดิฉันพบว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คำถามท้ายบทเป็นตัวช่วยในการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้มากกว่ากว่าการฟัง lecture อย่างเดียว

ส่วนปัญหาที่ดิฉันเจอและยังไม่เก่งในการจัดการคือ ปัญหาเรื่องเวลา เขาบอกกันว่าการทำการสอนแบบห้องเรียนกลับทางต้องลงกันเป็นหลักนาทีในกระบวนการแต่ละกิจกรรม ดิฉันเชื่อแล้วค่ะเพราะมันยากจริงๆ วันนี้ยังไม่ได้พูดเรื่องโครงงานตามที่ตั้งใจไว้เลยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 575654เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2014 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2014 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นกำลังใจให้ค่ะ..หากเริ่มต้นดี ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งหนึ่งนะคะ...

นักศึกษาได้ฝึกคิดวิเคราะห์นะคะ  การเปลี่ยนเครืองมือตัวใหม่  การเรียนรู้น่าจะดีขึ้นนะคะ  ขอบคุณค่ะ

BAR และ ALR จะทำให้ นักศึกษา ตั้งใจ เรียนรู้ ครับท่าน 21-23 กย มาช่วย อ.อานุภาพ ที่ สงขลาครับ

อ่านบันทึกนี้แล้วนึกถึงครั้งหนึ่งเคยเป็นวิทยากรชั้นเรียน participatory learning ก็มีปัญหาเรื่องคุมเวลาแต่ละกิจกรรม กับ การอภิปรายกันในกลุ่มแล้วไม่มีการสรุป หรือสรุปไม่กระชับ ต้องช่วยตะล่อมอีกแรงในตอนท้าย ตบๆ ตีๆ แตะๆ หลายๆ หนก็เป็นรูปเป็นร่างกระจ่างชัดขึ้น ชั้นเรียนสนุกและ active กว่าบรรยาย

ถ้าในกลุ่มมีนักสรุปที่เก่งๆ ที่คอยช่วยขมวดสักซักคนก็จะช่วยกลุ่มได้  พี่สังเกตว่าคนที่สรุปเก่งมักเป็นคนที่อ่านมาเยอะ ฟังมาเยอะ มีข้อมูลเรื่องนั้นๆ เยอะ  เรียกว่าเตรียมตัวมาก่อน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท