ที่หลบภัยสไตล์ใหม่__เพื่อคนไทย[ใกล้กาซ่านิดเดียว]


ภาพ 1: ที่หลบภัย (จาก เจรูซาเล็ม โพสต์)

.

สำนักข่าวเดอะ เจรูซาเล็ม โพสต์ ตีพิมพ์ข่าว "ที่หลบภัยสไตล์ใหม่___ เพื่อคนไทย+ใกล้กาซานิดเดียว", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

อิสราเอลมีพื้นที่ทำการเกษตรมากทางภาคใต้... ค่าแรงที่นั่นตกประมาณ 8 เท่าของค่าแรงไทย ทำให้หลายชาติจากอาเซียนชอบไปทำงานที่นั่น โดยเฉพาะคนฟิลิปปินส์กับคนไทย

คนฟิลิปปินส์ เก่งภาษาอังกฤษมากกว่า ทำให้มีโอกาสทำงานรายได้สูงกว่า เช่น ขับรถ ดูแลเด็ก_ผู้สูงอายุ_คนไข้ (รวมเรียกว่า 'care givers / แคร์ กีฟเว่อร์')

ชาวฟิลิปปินส์ท่านหนึ่งเล่าว่า คนไทยมีอะไรแปลก คือ เรียนภาษาฮิบรู หรือภาษาของชาวยิว ได้เร็วกว่าภาษาอังกฤษ 

.

กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ คนไทยส่วนใหญ่ทำงานด้านเกษตร... ทำ(งาน)ไปฟังไป

เลยเรียนแบบ "ครูพัก ลักจำ" หรือเรียนจากการฟัง แล้วหัดพูดตาม (ภาษาฮิบรู หรือภาษาของชาวยิว)

อิสราเอลมีระบบป้องกันจรวด_ขีปนาวุธหลักๆ 3 ระดับ (ระยะใกล้ ระยะกลาง ระยะไกล ตามลำดับ) [ economist ]

เปรียบคล้่ายฝาชีที่ครอบกับข้าว ป้องกันแมลงวันตอม ซ้อนกัน 3 ชั้น

  • iron dome/ไอออน โดม = ระยะใกล้
  • David's sling/เดวิด สลิง = ระยะกลาง (กำลังพัฒนา)
  • Arrow system / แอร์โร่ ซิสเทม = ระยะไกล

.

จรวดของฮามาสส่วนใหญ่เป็นแบบระยะใกล้

อาจเทียบได้คล้ายกับจรวดของกัมพูชาที่ถล่มชายแดนไทยเมื่อไม่กี่ปีก่อน

และมีแบบใกล้ที่สุด

คือ ปืนครก... อีกต่างหาก

.

ภาพ 2: ที่หลบภัย (จาก เจรูซาเล็ม โพสต์)

.

ระบบที่ใช้ป้องกันระยะใกล้ คือ "โดมเหล็ก" หรือ "ไอออน โดม / iron dome"

ระบบนี้ป้องกันจรวด หรือขีปนาวุธได้ในระยะ = 4-70 กิโลเมตร [ wikipedia ]

ประเทศในอาเซียนที่ใช้ระบบ "โดมเหล็ก / ไอออน โดม" แบบนี้ คือ สิงคโปร์

ระบบนี้ดี ประสิทธิผลในการป้องกันประมาณ = 87-95% = ประมาณ 90% ของการยิงต้านทั้งหมด
.

ข้อดี คือ ดีมาก_เร็วมาก (ระยะเวลายิงจนถึงจุดสกัดจรวด = 15 วินาที)

ข้อเสีย คือ แพง

ทั้งระบบราคาประมาณ 32,000 ล้านบาท

สหรัฐฯ สนับสนุนเงินบางส่วน

.

ฝ่ายฮามาสทำจรวด ใช้ต้นทุนระดับหลายหมื่นบาท

ฝ่ายอิสราเอลยิงจรวดต้าน 1 ลูก = 60,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 1,916,400 บาท = 1.9 ล้านบาท

ทำให้มีการใช้งานหลักเฉพาะตัวเมือง + ที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น = 30% ของพื้นที่ทั้งหมด [ economist ]

พื้นที่อีก = 70%... ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ไม่ได้ติดตั้งระบบไอออน โดม

.

ระบบนี้มีเรดาห์หลักๆ อยู่ที่ชายแดน โดยเฉพาะทางใต้ที่กลุ่มฮามาส แฝงตัวทั้งบนดิน และใต้ดิน (อยู่ในอุโมงค์ลึก = 10-20 เมตร)

ตึก 1 ชั้นสูงประมาณ = 2.3-3 เมตร [ diw.go.th ]

อุโมงค์ฮามาสน่าจะมีความลึกประมาณเทียบเท่าอาคารหรือตึก = 3-9 ชั้น 

แถมยังมีหลายระดับ... ที่ตื้นกว่านี้ก็มี

.

ภาพ 3: แผนที่อิสราเอล... ทางเหนือติดกับเลบานอน, ตะวันออกติดกับซีเรีย_จอร์แดน, ทางตะวันตกและใต้ติดกับอียิปต์

ฉนวนกาซาอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ (ใต้สุด)

.

ภาพ 4: แหล่งแก๊สธรรมชาติใหญ่ ค้นพบตอนต้นปี 2556

เส้นตาราง (สเกล) ทางขวามือเป็นระยะทาง 0-125-250 กิโลเมตร ตามลำดับ

.

ภาพ 5: จรวดของฝ่ายฮามาสมีหลายรุ่น แต่ละรุ่นมีรัศมีการยิงไกลไม่เท่ากัน (Gaza Strip ทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน + อียิปต์)

(1). คัสซัม / จรวดฮามาสทำเอง > 20 กิโลเมตร

(2). FAJ5 / จรวดนำเข้าจากอิหร่าน > 75 กิโลเมตร

จรวดนี้มีรัศมีทำการ ครอบคลุมเมืองสำคัญ = เทลอาวีฟ + เยรูซาเล็ม

(3). M302s / จรวดนำเข้าจากซีเรีย > 150 กิโลเมตร

.

ฮามาสมีความได้เปรียบตรงที่ "ผลุบ (ลงไปใต้ดิน)" ตรงโน้นบ้าง

"โผล่ (ขึ้นสู่ผิวดิน)" ตรงนี้บ้าง ทำได้หลายช่องทาง

พื้นที่เกษตรอยู่กระจัดกระจายกันไปในทะเลทรายเนเกฟทางใต้

เร็วๆ นี้กลุ่มฮามาสยิงจรวด และปืนครกถล่มอิสราเอลหลายครั้ง

.

ทำแรงงานไทยเสียชีวิตไป 1 ท่าน (23 กรกฎาคม 2557)

ทางการอิสราเอล จึงสั่งซื้อที่หลบภัยใหม่ และทำการติดตั้งเมื่อวันพุธที่ 20 สิงหาคม 2557

.

ภาพ 3: การเพาะเมล็ดพืชที่เมืองอาชเคลอน ทางใต้ของอิสราเอล (จากเดอะ ไทมส์ ออฟ อิสราเอล)

.

ภาพ 4: คนงานไทยที่โมชาฟ บีท ฮากาดิ, ทางใต้ของอิสราเอล (20 สิงหาคม 2557 จาก ไทมส์ ออฟ อิสราเอล)

.

คนงานไทยในอิสราเอลมีประมาณ 24,000 คน

ส่วนใหญ่ทำงานในไร่

ชาวฟิลิปปินส์ท่านหนึ่ง แต่งงานกับคนอิสราเอลกล่าวว่า คนฟิลิปปินส์มีประมาณ 30,000-45,000 คน

ทว่า... ส่วนใหญ่ทำงานในเมือง เช่น ขับรถ เป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้_ดูแลเด็ก_ดูแลคนสูงอายุ ฯลฯ

.

ภาพรวมแล้ว, คนไทยที่เสี่ยงมากหน่อย อยู่ทางใต้สุด ใกล้ฉนวนกาซา

ที่นั่นมีคนทำงานเกือบ 5,700 คน

หลังโดนปืนครกเสียชีวิต 1 คน, มีคนขอย้ายไปทำงานที่อื่น = 30% = ประมาณ 1,700 คน

อีก 70% ไม่ย้ายออก

.

ที่หลบภัยใหม่ 119 ชุด จะติดตั้งกระจายในระยะ = 7-20 กิโลเมตร (จากฉนวนกาซา)

น่าจะทำให้คนไทยปลอดภัยขึ้น

ขอให้ชาวอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ ชาวฟิลิปปินส์ คนไทย แรงงานต่างชาติ และชนเผ่าเร่ร่อน (เบดูอินมีประมาณ 200,000 คน) ทุกๆ ท่าน อยู่รอด ปลอดภัย มีสันติ มีความสงบ

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ

.

Thank The Jerusalem Post > http://www.jpost.com/Israel-News/Agriculture-Ministry-installing-shelters-on-farmland-on-Gazan-perimeter-371686

Thank The Times of Israel > http://www.timesofisrael.com/port-o-shelters-placed-in-fields-to-shield-vulnerable-farmers/

Thank The Economist > http://www.economist.com/blogs/economist-explains/2014/07/economist-explains-12

.

หมายเลขบันทึก: 575031เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2014 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2014 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณมาก ความจริงเรื่องที่คุณหมอเขียนดีมาก ๆทุกเรื่องเลยค่ะ

สงสัยว่ากองทัพไทยผลิตจรวดเองบ้างหรือเปล่าคะ หรือเป็นความลับทางทหารคะ

ที่เคยได้ยินบ่อย ๆก็เป็นจรวดน้ำที่นักเรียนนักศึกษาจัดโชว์หรือแข่งขันกันในงานวันวิทยาศาสตร์หลายปีที่ผ่านมาเท่านั้นค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท