อย่าขายเลย บ้านโบราณ 200 ปีบนถนนนครนอก


ดิฉันตามค้นหาข้อมูลของเมืองเก่าสงขลาในอินเทอร์เน็ตไปเรื่อยๆ จนได้พบกับเรื่องดีๆ และเรื่องร้ายๆ ในคราเดียวกันจาก Google ค่ะ

ขอเล่าเรื่องดีก่อนแล้วกันค่ะ ดิฉันได้พบกับงานวิทยานิพนธ์เล่มใหญ่เรื่อง สถาปัตยกรรมของเมืองเก่าสงขลา เป็นไฟล์ pdf ของคุณสุภาวดี เชื้อพราหมณ์ หลักสูตรปริญญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2546 กว่า 10 ปีแล้วค่ะ

อยากขอบคุณคุณสุภาวดีมากเลยค่ะที่ทำวิทยานิพนธ์ชิ้นสำคัญชิ้นนี้ขึ้นมานะคะ เพราะหากอาคารบ้านเรือนในเมืองเก่าสงขลาต้องมีอันพังทลายลงไป อย่างน้อยก็ยังเหลือรูปถ่าย สถาปัตยกรรม และความเป็นมาของตึกเหล่านี้ในหนังสือวิทยานิพนธ์เล่มนี้ค่ะ

ลูกหลานคนสงขลาหากได้ลองเปิดอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะปิดไม่ลงค่ะ เพราะมันคือเรื่องราวของบรรพบุรุษที่ข้ามน้ำข้ามทะเลกันมาจากจีนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 อาจจะมากกว่าเมืองเก่าของภูเก็ตด้วยซ้ำค่ะ

และเมื่อเดือนที่แล้วที่ได้แวะไปสงขลาก็ยังเห็นบ้านหลังหนึ่งค่ะเก่าแก่เหลือเกินอยู่บนถนนนครนอก และเมื่ออ่านจึงทำให้ทราบว่าเป็นตึกแถวแบบไทยชั้นเดียวอายุเกือบ 200 ปีนะคะ ดูตามภาพนะคะ

ส่วนเรื่องเศร้าที่จะบอกก็คือ ดิฉันพบว่าบ้านหลังนี้กำลังถูกประกาศขายพร้อมที่ดินอยู่ค่ะ ทำไมหนอ

ทำอย่างไรที่จะให้เกิดสถานการณ์ Win-Win คงจะดีไม่น้อย ไม่ต้องขายทิ้ง เจ้าของได้เงินค่าที่ไป และแผ่นดินไทยก็ได้เก็บประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญชิ้นนี้ของประเทศชาติเอาไว้ด้วยค่ะ

ดิฉันเชื่อว่านักวิชาการคงได้ไปดูงานการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในต่างประเทศกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา อังกฤษ หรือที่ใดก็ตาม อยากให้มาช่วยอนุรักษ์บ้านของเมืองเก่าสงขลาบนถนนนครนอกอายุ 200 ปีหลังนี้ค่ะ

เห็นอย่างนี้แล้วทำให้นึกถึงว่า ตอนที่เรียนอยู่ที่อเมริกา ดิฉันชอบ Historic homes ของ New orleans มากค่ะ เก่าแก่และสวยงาม ไม่ทราบว่าเขาอนุรักษ์กันได้อย่างไรนะคะ เมือง New orleans ก็ร้อนชื้นอย่างปักต์ใต้บ้านเราค่ะ บ้านของพวกทาสหรือคนจนๆ ในสมัยก่อนที่เรียกว่า Shotgun houses บ้างก็ยังได้รับการอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน บ้างก็ได้รับการ renovate ใหม่แล้วก็นำมาขายต่อเพื่ออยู่อาศัยได้ค่ะ ดูตัวอย่างตามภาพด้านล่างนะคะ

http://www.frenchquartercondotrends.com/?p=3837

http://dornob.com/shotgun-style-historic-small-pla...

หมายเลขบันทึก: 574287เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2014 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2016 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยกับอาจารย์มากครับ น่าจะมีการอนุรักษ์บ้านเก่าเป็นโซน มอบไว้ให้ลูกหลานชื่นชม มากกว่าจะได้เห็นแค่ในหนังสือครับ

เห็นด้วยครับว่าควรอนุรักษ์กันไว้

เห็นด้วยครับ ขอเป็นกระบอกเสียงให้อีก 1เสียงครับ

การ อนุรักษ์..ฝ่ายผังเมือง..คงต้องจริงจังต่อกฎระเบียบ..ผังเมืองที่ถูกกำหนดให้มีขึ้น..(ข้อนี้..บ้านเราวินาศสันตโรไปหมดแล้ว..เพราะกฎระเบียบซื้อขายได้..เป็นกอบเป็นกำ..)...วิชาการมีแค่ในกระดาษ..เพื่อ..ไต่เต้า..ความมีในระดับหนึ่งจึง..ช่วยยาก...(ในประเทศไทย)..

ตัวอย่างในเยอรมัน..ซึ่งเป็นประเทศ..ที่มีคอรัปชั่น..น้อยกว่าบางประเทศหรือบ้านเรา..และเป็นประเทศที่มีเศฐกิจดีล้ำหน้าหลายประเทศ..ที่เห็นๆ..แม้จะทำได้แค่..เพียงรักษาหน้าตาของอาคารเท่านั้น..เขาก็ทำ..ให้คงอยู่ได้เห็นซึ่งความเป็นมาทางประวัติศาตร์...ทั้งนี้ก็ไม่เฉพาะกฎระเบียบหากแต่ผู้นำประเทศ..และนักการเมือง..ก็เป็นผู้ให้ความสำคัญ..และสนับสนุนนโยบาย..เหล่านั้นด้วย...

ชอบบันทึกนี้ สนับสนุนความคิดนี้ค่ะ

เราจะเริ่มกันยังไงดีละคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท