​หลักสูตรปริญญาเอกแบบใหม่


          ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ สภาได้อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (D.Phil.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ระบบโลก (Doctor of Philosophy in Earth System Science) เป็นหลักสูตรนานาชาติ

          นี่คือหลักสูตร D. Phil แบบ อ็อกซฟอร์ด ที่เราไม่คุ้นเคย เพราะเราคุ้นแต่ระบบอเมริกัน ที่เขาจัดระบบ ของหลักสูตร และการฝึกอบรมที่ชัดเจน ในขณะที่ระบบ D. Phil. เน้นที่การทำวิจัย ไม่เน้นรายวิชาที่เรียน เอาผลการวิจัยเป็นมาตรวัดจนมั่นใจว่ามีความรู้เพียงพอ และอาจารย์ที่ปรึกษา (ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือ) เสนอให้ได้รับ ปริญญา

          หัวใจของคุณภาพจึงอยู่ที่ ๒ ปัจจัยคือ (๑) คุณภาพของอาจารย์ที่ปรึกษา (๒) ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง

          สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีมติว่า เกณฑ์ของผลงานวิจัยของหลักสูตรนี้คือ มี ๒ รายงานวิจัย ที่ตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูล ISI จำนวน ๒ บทความ โดยทั้งสองบทความอยู่ใน Q1 และ Q2 และหนึ่งบทความอยู่ใน Q1

          ผู้มีความรู้เรื่องนี้ และส่งเสริมให้ ม. สงขลานครินทร์มีหลักสูตรปริญญาเอกระบบนี้คือ ศ. ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ท่านบอกว่า อังกฤษเอาระบบนี้มาจากเยอรมัน

          ผมมีความเชื่อในการศึกษาปริญญาเอกแบบนี้ ซึ่งอาจเรียกว่าแบบเน้นวิจัย (ไม่เน้นเรียนวิชา) หรือเรียกว่าแบบฝึกฝนกับอาจารย์ ผมเชื่อว่าถ้าได้อาจารย์ชั้นยอด จะได้ความรู้มากกว่าเรียนแบบอเมริกัน ที่จริงผมก็เรียนแบบนี้กับอาจารย์หมอประเวศและอาจารย์หมอสุภา เพียงแต่ได้ความรู้ ไม่ได้ปริญญา

วิจารณ์ พานิช

๕ ก.ค. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 574102เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2014 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2014 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ปริญญาเอก(แบบใหม่จริงหรือ)..จึง..เห็นเป็นเช่น..นั้น..เรียน..ไม่ได้..ศัพท์..จับเอาไป..กระเดียด..(ดรฺ ...).. ๕..ไทย..ลอกเยอรมัน..ผ่านมาจากอังกฤษ..แล้วเลยไปอเมริกา..แล้วกลับมาไทย..เบื่อๆไปรัสเซีย..เล้ย..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท