คู่มือชาวพุทธ บทสวดมนต์ต่างๆ วัดท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย




บทเริ่มบูชาพระรัตนตรัย

ก่อนทำวัตรเช้า –แปล

................................

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด, เป็นพระอรหันต์,ผู้ไกลจาก

กิเลส ตรัสรู้ชอบเองแล้ว,

ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว,

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง ,อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาโดยความเคารพ ซึ่งพระผู้มีพระภาค เจ้าพระองค์นั้น, ทั้งพระธรรม ทั้งพระอริยสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้ายกขึ้นไว้ตามสมควรแล้ว,

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ แม้ปรินิพพานนานแล้ว

ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา, อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณา การะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,

จงรับสักการะบรรณาการของคนยากเหล่านี้ ของข้าพเจ้า

ทั้งหลาย, ด้วยหฤทัยอนุเคราะห์ประชุมชนภายหลัง,

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ

เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

คำบูชาพระรัตนตรัย

................................

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาโดยยิ่งซึ่งพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยเครื่องสักการะอันนี้

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาโดยยิ่งซึ่งพระธรรม พร้อมด้วยเครื่องสักการะอันนี้

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาโดยยิ่งซึ่งพระสงฆ์ พร้อมด้วยเครื่องสักการะอันนี้

คำขอขมาโทษ

................................

กายกรรมสาม วจีกรรมสี่ มโนกรรมสาม ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ที่ได้สบประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกิน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ไม่มีเจตนาก็ดี รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ต่อหน้ากันก็ดี หลับหลังกันก็ดี ต่อหน้าพระพุทธเจ้าก็ดี ต่อพระธรรม พระสังฆะเจ้าก็ดี ขออโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อย่ามีเวรภัย เกิดชาติหนึ่ง ภพใด ขอให้สร้างแต่กรรมดี สร้างบารมีของตน ให้พ้นภัยพาล ลุล่วงบ่วงมาร ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ

ภาคที่ ๑

บททำวัตรเช้า-เย็น แปล

................................

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิง ทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

พุทธัง ภควันตัง อะภิวาเทมิ.

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบา

(กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;

ธัมมัง นะนัสสามิ.

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.

(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;

สังฆัง นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.

(กราบ)

คำทำวัตรเช้า

ปุพพภาคนมการ

................................

หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค

เจ้า พระองค์นั้น ;

อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;

สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

( ว่า ๓ ครั้ง )

๑. พุทธาภิถุติ

................................


(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส ตะถาคะโต, พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด

อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;

สัมมาสัมพุทโธ , เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ;

โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ;

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควร

ฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;

สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอน ของเทวคาและ

มนุษย์ทั้งหลาย ;

พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ;

ภะคะวา, เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม

สั่งสอนสัตว์ ;

โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง, สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้เเจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

โย ธัมมัง เทเสสิ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,

ทรงแสดงธรรมแล้ว ;

อาทิกัลยาณัง, ไพเราะในเบื้องต้น,

มัชเฌกัลยาณัง, ไพเราะในท่ามกลาง,

ปะริโยสานะกัลยาณัง, ไพเราะในที่สุด,

สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะ จะริยัง ปะกาเสสิ,

ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ

ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ

ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

มะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วย

เศียรเกล้า

(กราบรำลึกพระพุทธคุณ)

๒. ธัมมาภิถุติ

................................

หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.

โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดี

แล้ว ;

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วย

ตนเอง ;

อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ;

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจง

มาดูเถิด ;

โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะ

พระธรรมนั้น ;

ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ, ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น

ด้วยเศียรเกล้า ;

(กราบรำลึกพระธรรมคุณ)

๓. สังฆาภิถุติ

................................

(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,

คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;

อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;

ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;

ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;

อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,

เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;

ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,

ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;

ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า

(กราบรำลึกพระสังฆคุณ)

๔. รตนัตตยัปปณามคาถา

................................

หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.)

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว

พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,

พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,

เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,

พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป ;

โย มัคคะปากามะเภทะภินนะโก,

จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด

โลกุตตระ โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,

ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น ;

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต,

พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย ;

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,

เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด ;

โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,

เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี ;

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.

บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัททวะทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.

๕. สังเวคปริกิตตนปาฐะ

................................

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน

พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ;

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,

และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,

เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ;

เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ ;

มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ :

พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า :

ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ;

ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;

มะระณัมปิ ทุกขัง แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ;

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่ สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,

มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ;

เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-

รูปูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ;

เวทะนูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ;

สัญญูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ;

สังขารูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ;

วิญญาณูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ

เยสัง ปะริญญายะ,

เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง,

ธะระมาโน โส ภะคะวา,

จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,

ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;

เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตติตะติ,

อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :-

รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง ;

เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง ;

สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง ;

สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง ;

วิญญาณัง อะนิจจัง วิญญาณไม่เที่ยง ;

รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน ;

เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน ;

สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน ;

สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน ;

วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน ;

สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง..

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน

ดังนี้.

เต (หญิงว่า ตา) มะยัง โอติณณามหะ,

พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ;

ชาติยา, โดยความเกิด

ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่และความตาย ;

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ,

โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย ;

ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว ;

ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว ;

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ . จะพึ่งปรากฏชัด

แก่เราได้.

(สำหรับพระภิกษุสามเณร)

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง

เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส

ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์

นั้น

สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา

เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว

ตัสมิง ภะคะวะติ พรัห์มะจะริยัง จะรามะ

ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา

ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย

ที่ขีดเส้นใต้สามเณรควรเว้นประโยคนี้ หรือจะเปลี่ยนเป็น “สามะเณรานังสิกขาสาชีวะสะมาปันนา” แปลว่า “ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพของสามเณรทั้งหลาย” อย่างนี้ก็ได้

ตัง โน พรัห์มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ

ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ

(สำหรับอุบาสก อุบาสิกาสวด)

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,

เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ

ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย ;

ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,

จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง

สา สา โน ปะฏิปัตติ,

ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ;

อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.

จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ

(จบคำทำวัตรเช้า)

  • ๑.ถ้าอุบาสกสวดคนเดียว ให้ใช้ว่า คะโต ถ้าสวดหลายคนจึงใช้ว่า คะตา ได้ ส่วนอุบาสิกา จะสวดคนเดียวหรือหลายคนก็ใช้ คะตา
  • ๒.ถ้าสวดคนเดียวให้ใช้ มิ แทน มะ

๖. บทสวดมนต์แปลตังขณิกปัจจเวขณปาฐะ

................................

(หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.)

(พิจารณาขณะใช้สอยจีวร)

ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วนุ่งห่มจีวร,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เพียงเพื่อบำบัดความหนาว

อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อทำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และ

สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง,

และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย.

(พิจารณาขณะบริโภคบิณฑบาต)

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วฉันบิณฑบาต,

เนวะ ทะวายะ,

ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน,

นะ มะทายะ,

ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย

นะ มัณฑะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,

นะ วิภูสะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,

แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะ, เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยา, เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พ์รัหมะจะริยานุคคะหายะ, เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติ

พรหมจรรย์,

อิติ ปุรานัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,

ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว,

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,

และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาต์รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,

อนึ่ง, ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย, และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย,จักมีแก่เรา,ดังนี้.

(พิจารณาขณะใช้สอยเสนาสนะ)

ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เพียงเพื่อบำบัดความหนาว

อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตาย

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง,

เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ, และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.

(พิจารณาขณะบริโภคคิลานเภสัช)

ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคเภสัชบริขาร

อันเกื้อกูลแก่คนไข้,

ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธ

ต่าง ๆ เป็นมูล,

อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติ,

เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

๗. กรวดน้ำตอนเช้า

................................

(หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะเส)

ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม

เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกา

สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว

เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย

ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐา วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน

คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ

เช่น มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น ก็ดี; ที่ข้าพเจ้าเห็น

แล้วหรือไม่ได้เห็น ก็ดี สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลาง ๆ หรือ เป็นคู่เวรกันก็ดี

สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เตภุมมา จะตุโยนิกา

ปัจเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว

สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโลก, อยู่ในภูมิทั้งสาม, อยู่ใน

กำเนิดทั้งสี่, มีขันธ์ห้าขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว มีขันธ์ ๔

ขันธ์ กำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ก็ดี

ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง

เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง

สัตว์เหล่าใด รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว สัตว์เหล่านั้นจง อนุโมทนาเองเถิด ส่วนสัตว์เหล่าใดยังไม่รู้ส่วนบุญนี้ ขอเทวดาทั้งหลายจงบอกสัตว์เหล่านั้นให้รู้

มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะเหตุนา

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน

เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา

เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว สัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ จงถึงบทอันเกษม กล่าวคือพระนิพพาน ความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์เหล่านั้น จงสำเร็จเถิด

คำทำวัตรเย็น

(คำบูชาพระและปุพพภาคมนการ ใช้อย่างเดียวกับำวัตรเช้า)

๑. พุทธาภิถุติ(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.)

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตังเอวัง กัลฺยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต

ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้ว

อย่างนี้ว่า

อิติปิ โส ภะคะวา เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระ ภาคเจ้า

นั้น

อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ

สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ,

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย

พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

ภะคะวา ติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่ง

สอนสัตว์ดังนี้

๒. พุทธาภิคีติง (หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.)

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,

พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่ง อรหันตคุณ เป็นต้น

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,

มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณา

อันบริสุทธิ์

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,

พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้

บาน

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง.

ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียร

เกล้า

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์

ทั้งหลาย

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.

ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียร เกล้า

พุทธัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระ เหนือข้าพเจ้า

พุทโธ ทุกขัสสะฆาตา จะวิธาตาจะหิตัสสะ เม.

พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ ข้าพเจ้า

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า

วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของ

พระพุทธเจ้า

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐ ของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา

ของพระศาสดา

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่พระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.

อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงแล้วว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,

ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,

กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า

พุทโธ ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง,

ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ .

เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป

๓ . ธัมมานุสสติ
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยังกะโรมะ เส
.)


สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก,เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ.เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

๔. ธัมมาภิคีติ (หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.)

สฺวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,

พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ ความ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น

โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,

เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,

เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่ง ความมืด

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,

พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สอง ด้วยเศียรเกล้า

ธัมมัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือ ข้าพเจ้า

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,

พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่

ข้าพเจ้า

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม

วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของ

พระธรรม

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของ ข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,

ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.

อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงแล้วว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,

ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,

กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม

ธัมโม ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง,

ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.

เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป

๕. สังฆานุสสติ (หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยังกะโรมะ เส.)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็น เครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,

คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.

เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

๖. สังฆาภิคีติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.)

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,

พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติ ดี เป็นต้น

โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,

เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,

มีกายและจิต อันอาศัยธรรม มีศีลเป็นต้น อันบวร

วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง.

ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี

สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,

พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.

ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็ที่ตั้งแห่งความระลึกองค์

ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า

สังฆัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม.

พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์

วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของ ข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,

ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนา ของ

พระศาสดา

สังฆัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.

อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงแล้วว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,

ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,

กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์

สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระสงฆ์

จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.

เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป

(จบทำวัตรเย็น)

๗. อดีตปัจจเวขณปาฐะ

………………….

(หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.)

(พิจารณาหลังใช้สอยจีวร)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต์วา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง,

จีวรใดอันเรานุ่งห่มแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

จีวรนั้น เรานุ่งห่มแล้ว เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ์หัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดดและ

สัตว์เลื้อยคลาน ทั้งหลาย

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง,

และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันเกิดความละอาย.

(พิจารณาหลังบริโภคบิณฑบาต)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต์วา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตตัง,

บิณฑบาตใด อันเราฉันแล้ว ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส เนวะ ทะวายะ,

บิณฑบาตนั้น เราฉันแล้ว ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน,

นะ มะทายะ,

ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย,

นะ มัณฑะนายะ, ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ,

นะ วิภูสะนายะ, ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,

แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะ, เพื่อความเป็นได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยา,เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พ์รัห์มะจะริยานุคคะหายะ, เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,

ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว,

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,

และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาต์รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร

อนึ่ง, ความเป็นไปได้โดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่เรา, ดังนี้.

(พิจารณาหลังการใช้สอยเสนาสนะ)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต์วา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง, เสนาสนะใด อันเราใช้สอยแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง,

เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา,

(พิจารณาหลังบริโภคคิลานเภสัช)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิ์ตวา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ปะริภุตโต,

คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้ว ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆา

ตายะ,

คิลานเภสัชบริขารนั้น เราบริโภคแล้ว เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่าง ๆ เป็นมูล,

อัพ์ยาปัชฌะปะระมะตายาติ,

เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

(กรวดน้ำตอนเย็น)

………………….

(หันทะ มะยัง อุทิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส.)

บทที่ ๑

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ อุทิศให้

อุปัชฌายา คุณุตตะรา อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ

อาจะริยูปะการา จะ แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน

มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ

สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์ แลราชา

คุณะวันตา นะราปิ จะ ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ

พรหมะมารา จะ อินทา จะ พรหม มาร และอินทราช

โลกะปาลา จะ เทวะตา ทั้งทวยเทพ และโลกบาล

ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ยมราช มนุษย์มิตร

มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ขอให้ เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้า

อย่าทุกข์ทน

ปุญญานิ ปะกะตานิ เม บุญผอง ที่ข้าทำจงช่วยอำนวย

ศุภผล

สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ให้สุข สามอย่างล้น

ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง ให้ลุถึง นิพพานพลัน

บทที่ ๒

เย เกจิ ขุททะกา ปาณา สัตว์เล็ก ทั้งหลายใด

มะหันตาปิ มะยา หะตา ทั้งสัตว์ใหญ่ เราห้ำหั่น

เย จาเนเก ปะมาเทนะ มิใช่น้อย เพราะเผลอพลัน

กายะวาจามะเนเหวะ ทั้งกายา วาจาจิต

ปุญญัง เม อะนุโมทันตุ จงอนุโมทนากุศล

คัณหันตุ ผะละมุตตะมัง ถือเอาผล อันอุกฤษฏ์

เวรา โน เจ ปะมุญจันตุ ถ้ามีเวร จงเปลื้องปลิด

สัพพะโทสัง ขะมันตุ เม อดโทษข้า อย่าผูกไว้

บทที่ ๓

ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง กุศลกรรม อย่างใดหนึ่ง

กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ เป็นกิจซึ่ง ควรฝักใฝ่

กาเยนะ วาจามะนะสา ด้วยกาย วาจาใจ

ติทะเส สุคะตัง กะตัง เราทำแล้ว เพื่อไปสวรรค์

เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ สัตว์ใด มีสัญญา

เย จะ สัตตา อะสัญญิโน หรือหาไม่ เป็นอสัญญ์

กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง ผลบุญ ข้าทำนั้น

สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต ทุก ๆ สัตว์ จงมีส่วน

เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง สัตว์ใดรู้ ก็เป็นอัน

ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา ว่าข้าให้ แล้วตามควร

เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ สัตว์ใด มิรู้ถ้วน

เทวา คันตวา นิเวทะยุง ขอเทพเจ้า จงเล่าขาน

สัพเพ โลกัมหิ เย สัตตา ปวงสัตว์ ในโลกีย์

ชีวันตาหาระเหตุกา มีชีวิต ด้วยอาหาร

มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ จงได้ โภชน์สำราญ

ละภันตุ มะมะ เจตะสา ตามเจตนา ข้าอาณัติ

บทที่ ๔

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ

อิมินา อุททิเสนะ จะ แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์

ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ เราพลันได้ ซึ่งการตัด

ตัณหุปาทานะเฉทะนัง ตัวตัณหา อุปาทาน

เย สันตาเน หินา ธัมมา สิ่งชั่ว ในดวงใจ

ยาวะ นิพพานะโต มะมัง กว่าเราจะ ถึงนิพพาน

นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ มลายสิ้น จากสันดาน

ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว ทุก ๆ ภพที่เราเกิด

อุชุจิตตัง สะติปัญญา มีจิตตรงและสติทั้งปัญญา

อันประเสริฐ

สัลเลโข วิริยัมหินา, พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่อง

ขูด กิเลสหาย

มารา ละภันตุ โนกาสัง โอกาส อย่าพึงมี แก่หมู่มาร สิ้น

ทั้งหลาย

กาตุญจะ วิริเยสุ เม เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง

ความเพียรจม

พุทธาทิปะวะโร นาโถ พระพุทธผู้บวรนาถ

ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม พระธรรมที่ พึ่งอุดม

นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ พระปัจเจกะพุทธสม-

สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง

เตโสตตะมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพนั้น

มาโรกาสัง ละภันตุ มา ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง

ทะสะปุญญานุภาเวนะ ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง

มาโรกาสัง ละภันตุ มา อย่าเปิดโอ กาสแก่มาร (เทอญ)

๔.คำไหว้ป๋าระมี ๓๐ ดัศ

................................

ทานะ ปาระมี สัมปันโน ทานะ อุปะปาระมี สัมปันโน ทานะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

สีละ ปาระมี สัมปันโน สีละ อุปะปาระมี สัมปันโน สีละ ปะระมัตถะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

เนกขัมมะปาระมี สัมปันโน เนกขัมมะอุปะปาระมี สัมปันโน เนกขัมมะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา

อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

ปัญญาปาระมี สัมปันโน ปัญญา อุปะปาระมี สัมปันโน ปัญญา ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

วิริยะ ปาระมี สัมปันโน วิริยะ อุปะปาระมี สัมปันโน วิริยะ ประระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

ขันติปาระมี สัมปันโน ขันติ อุปะปาระมี สัมปันโน ขันติ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

สัจจะ ปาระมี สัมปันโน สัจจะ อุปะปาระมี สัมปันโน สัจจะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

อธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน อธิฏฐานะ อุปะปาระมี สัมปันโน อธิฏฐานะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตาอุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

เมตตา ปาระมี สัมปันโน เมตตา อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อุเบกขา อุปะปาระมี สัมปันโน อุเบกขาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

ทะสะ ปาระมี สัมปันโน ทะสะ อุปะปาระมี สัมปันโน ทะสะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหังฯ

ภาคที่ ๔

หมวดทั่วไป

บทสวดนมัสการพระอรหันต์๘ ทิศ

................................

(หันทะ มะยัง สะระภัญเญนะ พุทธะมังคะละคาถาโย ภะณามะ เส)

สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิมา

โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคะเนยเย จะ กัสสะโป

สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะ

ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ

โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล

อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา

วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา

เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถิ ภะวันตุ โนฯ

อิจเจวะมัจจัน ตะนะมัสสะเนยยัง

นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง

ปุญญาภิสสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง

ตัสสานุภาเว นะ หะตันตะราโย ฯ

๒.คาถานมัสการพระพุทธสิหิงค์

................................

(หันทะ มะยัง พุทธะปะสังสา คาถาโย พุทธะสิหิงโค

นามะ ภะณามะ เส.)

อิติปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยะโสปิ เตโช

ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร อุปาโท

สะกาละพุทธะสาสะนัง โชตะยันโต วะ ทีโป

สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโน วะ พุทโธติ

พุทธะสิหิงคา อุบัติมา ณ แดนใด

ประเสริฐ ธ เกริกไกร ดุจกายพระศาสดา

เป็นที่เคารพน้อม มนุษย์พร้อมทั้งเทวา

เปรียบเช่นชวาลา ศาสนาที่ยืนยง

เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ สุวิสุทธิ์พระชนม์คง

แดนใดพระดำรง พระศาสน์คงก็จำรูญ

ด้วยเดชสิทธิศักดิ์ ธ พิทักษ์อนุกูล

พระศาสน์บ่มีสูญ พระเพิ่มพูนมหิทธา

ข้าฯ ขอเคารพน้อม วจีค้อมขึ้นบูชา

พิทักษ์ ธ รักษา พระศาสน์มาตลอดกาล

*ปวงข้า ฯ จะประกาศ พุทธศาสน์ให้ไพศาล

ขอพระอภิบาล ชินมารนิรันดร์ เทอญฯ

๓.พระคาถาป้องกันภัยทั้งสิบทิศ

................................

บูรพารัสมิง พระพุทธะคุณัง บูรพารัสมิง พระธัมเมตตัง บูรพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

อาคะเนย์รัสมิง พระพุทธะคุณัง อาคะเนย์รัสมิง พระธัมเมตตัง อาคะเนย์รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเยสัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตตัง ทักษิณ รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเยสัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง หรดีรัสมิง พระธัมเมตตัง หรดีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะ ธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตตัง ปัจจิม รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

พายัพ รัสมิง พระพุทธะคุณัง พายัพ รัสมิง พระธัมเมตตัง พายัพ รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

อุดร รัสมิง พระพุทธะคุณัง อุดร รัสมิง พระธัมเมตตัง อุดร รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร วิวัญชัยเยสัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

อีสาน รัสมิง พระพุทธะคุณัง อีสาน รัสมิง พระธัมเมตตัง อีสาน รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร วิวัญชัยเยสัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

อากาศ รัสมิง พระพุทธะคุณัง อากาศ รัสมิง พระธัมเมตตัง อากาศ รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

ปฐวี รัสมิง พระพุทธะคุณัง ปฐวี รัสมิง พระธัมเมตตัง ปฐวี รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเยสัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

๔.บทปลงสังขาร

................................

มนุษย์เราเอ๋ย เกิดมาทำไม นิพพานมีสุข

อยู่ไยมิไป ตัณหาหน่วงหนัก หน่วงชักหน่วงไว้

ฉันไปมิได้ ตัณหาผูกพัน ห่วงนั้นพันผูก

ห่วงลูกห่วงหลาน ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร จงสละเสียเถิด

จะได้ไปนิพพาน ข้ามพ้นภพสาม ยามหนุ่มสาวน้อย

หน้าตาแช่มช้อย งามแล้วทุกประการ แก่เถ้าหนังยาน

แก่ล้วนเครื่องเหม็น เอ็นใหญ่เก้าร้อย เอ็นน้อยเก้าพัน

มันมาทำเข็ญใจ ให้ร้อนให้เย็น เมื่อยขบทั้งตัว

ขนคิ้วก็ขาว นัยน์ตาก็มัว เส้นผมบนหัว

ดำแล้วกลับหงอก หน้าตาเว้าวอก ดูหน้าบัดสี

จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย เหมือนดอกไม้โรย

ไม่มีเกสร จะเข้าที่นอน พึงสอนภาวนา

พระอนิจจัง พระอนัตตา เราท่านเกิดมา

รั้งแต่จะตาย ผู้ดีเข็ญใจ ก็ตายเหมือนกัน

เงินทองทั้งนั้น มิติดตัวไป ตายไปเป็นผี

ลูกเมียผัวรัก เขาชักหน้าหนี เขาเหม็นซากผี

เปื่อยเน่าพุพอง หมู่ญาติพี่น้อง เขาหามเอาไป

เขาวางลงไว้ เขานั่งร้องไห้ แล้วกลับคืนมา

อยู่แต่ผู้เดียว ป่าไม้ชายเขียว เหลียวไม่เห็นใคร

เห็นแต่ฝูงแร้ง เห็นแต่ฝูงกา เห็นแต่ฝูงหมา

ยื้อแย่งกันกิน ดูน่าสมเพช กระดูกกูเอ๋ย

เรี่ยรายแผ่นดิน แร้งกาหมากิน เอาเป็นอาหาร

เที่ยงคืนสงัด ตื่นขึ้นมินาน ไม่เห็นลูกหลาน

พี่น้องเผ่าพันธุ์ เห็นแต่นกเค้า จับเจ่าเรียงกัน

เห็นแต่นกแซก ร้องแรกแหกขวัญ เห็นแต่ฝูงผี

ร้องไห้หากัน มนุษย์เราเอ๋ย อย่าหลงนักเลย

ไม่มีแก่นสาร อุตส่าห์ทำบุญ ค้ำจุนเอาไว้

จะได้ไปสรรค์ จะได้ทันพระพุทธเจ้า จะได้เข้านิพพาน

อะหัง วันทามิ สัพพะโส

อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโย โหตุ.

๕.คาถามงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ

................................

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ.ฯ

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ.ฯ

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ.ฯ

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมา นาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะ สะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ.ฯ

ภาคที่ ๕

ศาสนพิธี

คำอาราธนาศีล ๕

................................

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถาย ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ศีล ๕

................................

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

คำอาราธนาศีล ๘

................................

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

คำให้ศีล ๘

................................

๑.ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ

๒.อทินนาทานา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ

๓.อะพฺรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ

๔.มุสาวาทา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ

๕.สุราเมระยะมชัชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิ

ยามิ

๖.วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ

๗.นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสนาะ มาลา คันธะ วิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ

๘.อุจฺจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ

คำอาราธนาธรรม

................................

พรัห๎มา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ

กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ

สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา

เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัปปิมัง ปะชังฯ

คำอาราธนาพระปริตร

................................

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พ๎รูถะ มังคะลัง

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พ๎รูถะ มังคะลัง

ปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พ๎รูถะ มังคะลังฯ

คำถวายข้าวบูชาพระพุทธเจ้า

................................

" อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ ฯ "

คำลาข้าวพระพุทธ

................................

" เสสัง มังคะลัง ยาจามิ ฯ "

ข้าพเจ้า ขอคืนเศษ อันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้า ขอภัตต์ที่เหลือ ที่เป็นมงคลด้วยเถิด

คําใส่ขันแก้วตังสาม

................................

ครั้งที่ ๑ ว่า “พุทโธ อะระหัง”

ครั้งที่ ๒ ว่า “ธัมโม ปัจจัตตั๋ง”

ครั้งที่ ๓ ว่า “สังโฆ ยะทิทัง” มาลานัง นะมามิหัง.

คำโยงข้าวใส่บาตร

................................

สาธุ โอกาสะ โอตานะ ปิณฑิปาตัง ตานัง นิปปานะ ปัจจะโย โหตุ โน นิจจัง

สาธุ โอกาสะ โอตานะ ปิณฑิปาตัง ตานัง นิปปานะ ปัจจะโย โหตุ โน นิจจัง

สาธุ โอกาสะ โอตานะ ปิณฑิปาตัง ตานัง นิปปานะ ปัจจะโย โหตุ โน นิจจัง

คำสมาทานกรรมฐานก่อนเจริญภาวนา

................................

อุกาสะ อุกาสะ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งพระกรรมฐาน ขอขณิกะสมาธิ อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณ จงมาบังเกิดขึ้น ในขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งสติกำหนดรู้ ที่ลมหายใจเข้ารู้ ลมหายใจออกรู้ ทั้งสามหนและเจ็ดหน ร้อยหน และพันหน ด้วยความไม่ประมาท นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญ

คำปล๋งกรรมฐาน

..........................

“อิมัง ภาวนา กัมมัง นิปปานะ ปัจจะ โย โหตุ โน นิจจัง”

ข้าพเจ้าข๋อปล๋งกรรมฐานไว้เพียงเต่านี้ก่อนแล

คำแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย

..........................

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ.

คำแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายอีกแบบหนึ่ง

..........................

สัพเพ สัตตา... อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ… ขอจงเป็นสุข อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ.... ขอจง อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ… ขอจงพากันเป็นสุข อย่าได้มีความทุกข์เลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุขอจงรักษาตนให้เป็นสุขเถิด

สัพเพ สัตตา... อันว่าสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

กัมมะทุกขา ปะมุญจันตุ.. ขอจงได้มีความพ้นทุกข์เถิด

ชะรา ธัมโมมหิ. เราไม่ล่วงพ้นความแก่ชราไปได้

พยาธิ ธัมโมมหิ. เราไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้

มะระณา ธัมโมมหิ. เราไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

สัพเพ สัตตา... อันว่าสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

กัมมัสสะกามีกรรมเป็นของของตน

กัมมะทายาทา มีกรรมเป็นมรดก

กัมมะโยนิ มีกรรมเป็นกำเนิด

กัมมะพันธุ มีกรรมเป็นพวกพ้อง

กัมมะปะฏิสะระณา มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยัง กัมมัง กะริสสันติ ได้ทำกรรมอันใดไว้

กัลยาณัง วา ดีก็ตาม

ปาปะกัง วา ชั่วก็ตาม

ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ เขาทั้งหลายเหล่านั้นจะได้รับผลกรรมนั้น แล (สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ)

คำแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง

..........................

อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า มีความสุข

นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์

อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร

อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งปวง

อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ มีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้

พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ

บทแผ่ส่วนกุศล

................................

อิทัง เม มาตาปิตุนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้าขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม คุรุปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรุปัชฌายาจริยา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงจมีความสุข

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ.

คำหยาดน้ำ

................................

อิตัง ตานะ กั๋มมัง นิปปานะ ปัจจะโย โหนตุ โน นิจจั๋ง

อิตัง สีละ กัมมั๋ง นิปปานะ ปัจจะโย โหนตุ โน นิจจั๋ง

อิตัง ภาวะนา กัมมั๋ง นิปปานะ ปัจจะโย โหนตุ โน นิจจั๋ง

กัตตัพพัง กัมมัง สัพเพ หิกะเต๋ หิกะตั๋ง ปุญญัง โน อะนุโมทันตุ สุณันตุ โภนโต๋ เย เตวา อัสสะมิ๋ง ฐาเน อาะธิคะต๋า ทีฆายุก๋า สะทา โหนตุ สัพพะ สัตต๋านัง สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ มาตาปิตา สุขิตา โหนตุ

ทุกขัปปะมนจันตุ สัพเพ ญาติก๋า สุขิต๋า โหนตุ

ทุกขัปปะมนจันตุ สัพเพ อะญาติก๋า สุขิต๋า โหนตุ

ทุกขัปปะมนจันตุ สัพเพ สัพเพปิสา สัพเพยักข๋า สัพเพเปตต๋า สุขิต๋า โหนตุ

ทุกขัปปะมนจันตุ สัพเพ นักขัตต๋า สุขิต๋า โหนตุ

ทุกขัปปะมนจันตุ สัพเพเตวา สุขิต๋า โหนตุ

ทุกขัปปะมนจันตุ สัพเพ อาจาริยุปัจจะยา สุขิต๋า โหนตุ

ทุกขัปปะมนจันตุ สัพพะสัมปัตตินัง สะมิชชันตุ โว ฯ

วันทาหลวง

................................

วันทามิ พุทธัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ สังฆัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ คุรุอุปัชฌายาะอาจาริเย สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ กัมมัฏฐานัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ อาราเม พัทธสีมายัง สัพพัง เม โทสังขะมะถะเมภันเต

วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพะฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุ มะหาโพธิง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา นาคะโลเก สะเทวะโลเก พรัหมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเปสะรีระธาตุโย เกสาธาตุโย

อะระหันต๋า ธาตุโย เจติยัง คันธะกุฏิง จาตุราสีติสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ

วันทาน้อย

................................

วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา

กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ

คำลาพระกลับบ้าน

................................

“หันทะทานิ, มะยัง ภันเต, อาปุจฉามะ, พะหุกิจจา มะยัง,

พะหุกะระณียา”

พระสงฆ์ผู้รับลากล่าวคำว่า“ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะ

ผู้ลาพึงรับพร้อมกันว่า “สาธุ ภันเต” แล้วกราบ ๓ ครั้ง

คำขอขมาพระเถระ

................................

“เถเร ปมาเทน. ทวารัตฺตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต”

(ผู้รับขมา ว่า) “อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง

(ผู้ขอขมาหมอบลง และรับว่า) “ขะมามะ ภันเต

ไหว้ ๕ ครั้ง

................................

๑.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ, (พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า)

๒.ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ, (พระธรรมเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า)

๓.สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ, (พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า)

๔.มาตาปิตุคุณัง อะหัง วันทามิ (มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณของข้าพเจ้า)

๕.อาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ (ครูบาอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณของข้าพเจ้า)

ถวายพรพระ

..........................

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (ว่า ๓ หน)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชา จะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.ฯ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.ฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทิกขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

ชัยมงคลคาถา

พาหุง สะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง

ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.ฯ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง

โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะ ยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.ฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อติมัตตะภูตัง

ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.ฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง

ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.ฯ

กัตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา

จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.ฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง

วาทาภิโร ปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง

ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง

ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.ฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง

พ๎รัหมัง วิสุทธิ ชุติมิทธิ พะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.ฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา

โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที

หิตะวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ

โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ.

บทสวดมหากา

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะ ปาณินัง

ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง.ฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิ วัฑฒะโน

เอวัง อะหัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

อะปะราชิตะ ปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร

อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา

ปะทักขิณานิ กัตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ.ฯ

พระถาคาชินบัญชร

สมเด็จพุฒาจารย์โต (พรมหรังสี)

เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาคาถาชินบัญชร ตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จ ด้วยคำ ว่า

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานัง ปิยะ ตังสุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ

  • ๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชต๎ะวา มารัง สะวาหะ นัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุนะราสะภา

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะ คุณากะโร

๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก

๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก

๖. เกสันโต ปิฏฐิภาคัส๎มิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโว

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

๘ ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเมชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฎิยะ สุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

๑๒. ชินาณา วะระสัง ยุตตา สัตตะปาการะ ลังกะตา

วาตะปิตตา ทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุ ปัททะวา

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะ ปัญชะเร

๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล

สะทาปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.ฯ

(ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา.)

หมายเลขบันทึก: 573629เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2014 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2014 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท