aungor
นางสาว บุญศิริ ศิริสวัสดิ์

มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง


          จากคราวที่แล้วได้กล่าวถึงวิธีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ไปแล้ว  ซึ่งเป็นงานใหม่ที่ส่วนเฝ้าระวังได้รับมอบหมายให้ดำเนินการร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ตั้งแต่ ปี 2556  โดยกำหนดให้มีการติดตาม ปีละ  2  ครั้ง  คือ  ครั้งที่ 1 ในช่องเดือนมีนาคม  และช่วงเดือนกรกฎาคม    หลังจากผ่านการดำเนินการมาแล้ว นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาประเมินผลและจัดทำรายงานสรุปผลต่อไป    เพื่อจัดประเภทคุณภาพน้ำทะเลตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเทศไทย     และวางแนวทางการแก้ปัญหาด้านมลพิษทางทะเลที่นับวันยิ่งเกิดขึ้นมากมายต่อไป

          ทะเลไทย มีเนื้อที่ 378,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด ตามแนวชายฝั่ง ที่ยาวถึง 2,815 กิโลเมตร  ทั้งฝั่งอ่าวไทย  และฝั่งอันดามัน   

          มลพิษทางทะเล หมายถึง การที่มนุษย์นำเอาสิ่งต่างๆ ลงสู่สิ่งแวดล้อมในทะเล เช่นน้ำเสีย ขยะ ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไม่ หรือจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อการกระทำนั้นก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ หรือการทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในทะเลเสื่อมลง  และทำให้คุณค่าทางสุนทรียภาพลดลง

          การกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั้ง 7 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำ   โดยกรมควบคุมมลพิษ  เป็นแนวทางในการนำหลักการ การจัดการ และวิธีการมาควบคุมดูแลให้น้ำทะเลชายฝั่งสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ให้คงสภาพตามธรรมชาติ ตลอดจนให้มีการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างเหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ตลอดไป

มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ 7 ประเภทมีดังนี้


ประเภทที่ 1 เพื่อการสงวนรักษาธรรมชาติ (Environmental Preservation)
หมายถึงบริเวณที่มีลักษณะทางกายภาพ และชีวภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ
เช่น อุทยานแห่งชาติ โดยมีการใช้ประโยชน์ในแง่ของ
ก) การศึกษาวิจัย และ/หรือ การสาธิตทางด้านวิทยาศาสตร์ ประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อม เช่น การสังเกตการณ์ การติดตามตรวจสอบ เป็นต้น
ข) กิจกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทัศนียภาพ ความงามตามธรรมชาติ
ค) กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการ และการอนุรักษ์ ที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพ
แวดล้อม 
Environmental Preservation

ประเภทที่ 2 เพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง (Coral conservation)
หมายถึงบริเวณที่มีแหล่งปะการังสมบูรณ์ หรือปะการังที่เสื่อมโทรม แต่มีแนวโน้มที่จะพื้น
คืนสภาพได้ เช่น แนวปะการังในบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี เกาะสิมิลัน เกาะช้าง
เป็นต้น
โดยมีมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 2 เป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำทะเล
ให้มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นพื้นที่อนุรักษ์แหล่งปะการัง
Our Coral Reef

ประเภทที่ 3 เพื่อการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติอื่น ๆ (Conservation of Natural Resource)
หมายถึงแหล่งอนุรักษ์ป่าชายเลน แหล่งอาศัย แหล่งเพาะพันธุ์ และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ
เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพไม่เปลี่ยนไปจากธรรมชาติมากนัก โดยมีมาตรฐาน
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 3 เป็นตัวควบคุมให้คุณภาพน้ำทะเล มีความเหมาะสมที่
จะใช้เป็นพื้นที่อนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
Life

ประเภทที่ 4 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (Aquaculture)
หมายถึงบริเวณที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตามธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงหอยแมลงภู่
หอยนางรม กุ้ง การเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นต้น ซึ่งสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จะต้องมี
ลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม เช่น บริเวณปากแม่น้ำ หรือบริเวณที่เป็นน้ำกร่อย เป็นแหล่ง
ที่มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยมีมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ประเภทที่ 4 เป็นตัว
ควบคุมให้คุณภาพน้ำทะเลเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
Aquaculture

ประเภทที่ 5 เพื่อการว่ายน้ำ (Water Contact Sport)
หมายถึงบริเวณที่คนนิยมไปว่ายน้ำ และท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งสถานที่เหล่านี้ จะต้องมีลักษณะทางกายภาพที่สวยงาม มีหาดทราย น้ำทะเลใสสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนจากมลพิษทางน้ำ
 โดยใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภทที่ 5 เป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำทะเลให้
เหมาะสมกับกิจกรรมการว่ายน้ำ
Swimming

ประเภทที่ 6 เพื่อการกีฬาทางน้ำอื่น ๆ (Water Proximity Sport)
หมายถึงบริเวณที่มีลักษณะทางธรรมชาติเอื้ออำนวยต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านการกีฬาทาง
น้ำ   เช่น การเล่นเรือใบ หรือ สกีน้ำ เป็นต้น
Vacation

ประเภทที่ 7 บริเวณแหล่งอุตสาหกรรม (Industrial Zone)
เป็นบริเวณรองรับน้ำทิ้งจากแหล่งอุตสาหกรรมโดยที่คุณภาพน้ำบริเวณนี้ต้องไม่ต่ำกว่าค่า
มาตรฐานที่กำหนดไว้ เป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมในแง่ของการลงทุน เพื่อจัดทำเป็นแหล่งอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
 
Enterprise & Industries

           จากมาตรฐานทั้ง 7 ประเภทข้างต้น พื้นที่บริเวณหนึ่ง ๆ อาจมีการใช้ประโยชน์ได้หลายกิจกรรม เช่น ชายฝั่งทะเลบริเวณหาดป่าตอง จ. ภูเก็ต ใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว ว่ายน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในแง่ของการกีฬาทางน้ำอย่างอื่น และการอนุรักษ์แหล่งประการังด้วย แต่ทั้งนี้ การใช้มาตรฐานจะกำหนดตามกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ชายฝั่ง
(ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำสามารถดูได้จากประกาศ "มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเทศไทย") 

           ดังนั้น การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ของคุณภาพน้ำทะเล และสถานการณ์ของมลพิษทางทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม และจัดทำมาตรการการจัดการมลพิษทางทะเล กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการสำรวจคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทะเลทั่วประเทศเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะบริเวณที่คุณภาพน้ำทะเลมีแนวโน้มเสื่อมโทรม จะมีการติดตามตรวจสอบหลายครั้งต่อปีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดมลพิษและควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย

           จาั้กท่ี่นำเสนอมาเป็นการนำหลักเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลมาเสนอ  เพราะเป็นข้อมูลหลักในการใช้พิจารณาว่าคุณภาพน้ำทะเลที่ตรวจสอบได้นั้นจะจัดอยู่ในประเภทใด  สามารถใช้ประโยชน์ด้านใดได้   และสามารถวางแนวทางการอแหล่งกำเนิดมลพิษทางทะเล และแนวทางการแก้ไขในอนาคตต่อไป

หมายเลขบันทึก: 573626เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2014 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2014 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท