ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๗


ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตําบลตลิ่งงาม ตําบลบ่อผุด ตําบลมะเร็ต ตําบลแม่น้ํา ตําบลหน้าเมือง ตําบลอ่างทอง ตําบลลิปะน้อย อําเภอเกาะสมุย

และตําบลเกาะพะงัน ตําบลบ้านใต้ ตําบลเกาะเต่า อําเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๗

(สำหรับดาวน์โหลดตัวบท  +++>>>>    http://download.asa.or.th/03media/04law/eqa/ma57.p...)

ชื่อเต็มๆ ยาวสักหน่อยตามหลักการเขียนกฏหมายที่สามารถบอกความชัดเจนได้ตั้งแต่ชื่อเรื่องนะครับ 

ประกาศฯ ฉบับนี้ ได้ปถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๙๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ 

โดยมีผลบังคับใช้มีกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป (นั่นคือเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗)

- ขอบเขต ครอบคลุมพื้นที่เกาะจำนวน 42 เกาะ ในอำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน และพื้นที่น่านน้ำบางส่วน ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี 

มาตรการมีทั้งสิ้น 13 ข้อ ข้อ 1-2 กำหนดคำนิยาม กำหนดขอบเขต

- ข้อ 3-4 เรื่องการห้าม

-ข้อ 5-7 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

-ข้อ 8-12 บทเฉพาะกาล

-ข้อ 13 กำหนดระยะเวลาการใช้บังคับประกาศ

    พื้นที่บริเวณน่านน้ำ ของเกาะสมุย เกาะพะงัน (บริเวณที่ 1) และเกาะเต่า (บริเวณที่ 7 (2) )

• ห้าม 12 เรื่อง

• เรื่องที่ห้ามแบบไม่มีข้อยกเว้น 3 เรื่อง คือ

    1. การทำเหมืองแร่

    2. การเคลื่อนย้ายหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติในทะเลโดยใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรง

    3. การกระทำ หรือการประกอบกิจการใดๆ ที่เป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย หรืออาจเป็นอันตราย ตลอดจนส่งผลกระทบต่อหญ้าทะเล

• การห้ามที่มีข้อยกเว้นเล็กน้อย

  - การขุดเจาะ ผลิตน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และการถ่ายเทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในทะเลขึ้นมาเป็นสถานีขนถ่ายหรือสถานีกระจายน้ำมัน ทั้งนี้ ไม่รวมการขนส่งระบบท่อ การขนส่งทางเรือ การขนส่งทางรถยนต์ผ่านเรือข้ามฟากเพื่อการโดยสารและการขนส่ง ไปยังบริเวณ เกาะ พื้นที่ 2-7(1)

• การห้ามที่มีข้อยกเว้น เป็นกิจการสาธารณูปโภคของรัฐที่มีความจำเป็นตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบ หรือเป็นการกระทำเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการของทางราชการที่มีหน้าที่

   - การกระทำหรือประกอบกิจการใดๆ ในแนวปะการังที่อาจเป็นอันตรายหรือมีผลกระทบต่อเต่าทะเล ปลาสวยงาม หรือทำให้หอยมือเสือ กัลปังหา ปะการัง ซากปะการังหรือหินปะการังถูกทำลายหรือเสียหาย

• การห้ามที่มีข้อยกเว้น เรื่องการจับหรือครอบครองปลาสวยงาม ตามที่กำหนดในบัญชีท้ายประกาศ จำนวน 95 ชนิด และปลิงทะเล

    1. การจับหรือครอบครองของทางราชการ เพื่อการศึกษาวิจัย การเพาะพันธุ์ การเพาะเลี้ยง หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ทั้งนี้ต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วแต่กรณี

    2. การครอบครองเพื่อการจำหน่ายปลาสวยงามของทางราชการ ที่ได้จากการเพาะพันธุ์หรือการเพาะเลี้ยงที่ได้รับอนุญาตตาม 1

    3. การครอบครองของทางภาคเอกชนเพื่อการเพาะเลี้ยง การจำหน่วย โดยได้รับหนังสืออนุญาตจาก 1

    4. การครอบครองของทางภาคเอกชนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

• การห้ามที่ ยกเว้นหากเป็นการดำเนินการโดยส่วนราชการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ

 - การขุด การถมทะเล

• การห้ามที่มีข้อยกเว้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่

  1. การขุดลอกร่องน้ำ การปรับหรือปิดกั้น ปากคลอง ปากน้ำ เว้นแต่เป็นการดำเนินการเพื่อการระบายน้ำ การดำเนินการเพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือ เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ ทั้งนี้ ต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือทำลายสภาพนิเวศเดิม

  2. การล่วงล้ำลำน้ำ ยกเว้นกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ การดำเนินการเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง อาคารและการล่วงล้ำลำน้ำที่ได้รับอนุญาตตามความในกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย

  3. การเล่นสกู๊ตเตอร์ การเล่นเจ็ตสกี การเล่นสกีน้ำ หรือการเล่นเรือลากทุกชนิด เว้นแต่ในพื้นที่ที่คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่กำหนด

• การห้ามที่ ยกเว้นหากผ่านเกณฑ์

  1. การปล่อยทิ้งมลพิษลงสู่ทะเล เว้นแต่ได้ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานของทางราชการ

  2. ทำการประมงภายในระยะ 3,000 เมตร จากแนวชายฝั่งทะเล ที่ใช้เครื่องมือประมงประเภทอวนลาก อวนรุน อวนล้อมทุกประเภททุกขนาดที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์ เครื่องมือประมงทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องมือประมงประเภทลอบปูตาห่างน้อยกว่า 2.5 นิ้ว เว้นแต่ทำการประมงหมึก


พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินของทั้ง 42 เกาะ บริเวณ 2 – 7(1)

• การห้ามที่ไม่มีข้อยกเว้น

 1. การทำเหมืองแร่

 2. การทำสนามกอล์ฟ

•  การห้ามที่มีข้อยกเว้นเป็นนโยบายของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ทั้งนี้พื้นที่และการก่อสร้างจะต้องไม่ขัดกับมาตรการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด

 - การสร้างสนามบินพาณิชย์

การห้ามที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่

  1. การกระทำใดๆ ที่เป็นการเปลี่ยนสภาพธรรมชาติของพื้นที่พรุ และพื้นที่ป่าชายเลย เว้นแต่การดำเนินงานของทางราชการที่มีหน้าที่เพื่อการวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครอง การฟื้นฟู และการเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ

  2. การกระทำหรือกิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพของหาดไปจากเดิม เช่น การขุด การถม การปรับเปลี่ยนพื้นที่ การเคลื่อนย้ายหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือทำให้เสียทัศยภาพบริเวณหาด ยกเว้นป้ายเตือนของทางราชการ การสร้างท่าเทียบเรือ การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอกภัยทางทะเลและชายหาด การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

• การห้ามที่มีข้อยกเว้น เป็นการดำเนินการของทางราชการ

  1. การถมปรับพื้นที่ หรือปิดกั้น ซึ่งทำให้แหล่งน้ำสาธารณะในแผ่นดินตื้นเขิน เปลี่ยนทิศทาง หรือทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นไม่อาจไหลไปได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้ ต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือทำลายสภาพนิเวศเดิม

 2. การเก็บ หา นำออกไป หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายต่อเต่าทะเลและไข่เต่าทะเล ในบริเวณที่ 7 (เกาะเต่า) เว้นแต่เป็นการดำเนินการของทางราชการเพื่อการศึกษาวิจัย การเพาะพันธุ์ การเพาะเลี้ยง

  3. การบุกรุก แผ้วถาง หรือก่อสร้างใดๆ ในบริเวณพื้นที่ป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง และดูแลรักษาป่า การศึกษา ค้นคว้าและวิจัยที่ไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางธรณีสัณฐานหรือทำลายระบบนิเวศของพื้นที่ป่า

  4. การกระทำใดๆ ที่เปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในบริเวณที่ได้รับการประกาศเป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิการยน 2532 เว้นแต่ การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกโดยส่วนราชการ เพื่อประโยชน์ด้านนันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ โดยไม่ทำลายสภาพธรรมชาติ และต้องสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม

• การห้าม ที่มีข้อยกเว้นผ่านเกณฑ์ หรือได้รับอนุญาต

  1. การปล่อยทิ้งมลพิษลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะในแผ่นดิน เว้นแต่ได้ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานของทางราชการแล้ว

  2. การขุด ตัด กรวด ดิน ดินลูกรัง หรือทราย ในพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่าร้อยละ 35 เว้นแต่ การเกษตรกรรม และการขุด ตัก ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อการก่อสร้างโดยได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้วและไม่ขัดกับมาตรการอื่นๆ ในประกาศนี้



หลักเกณฑ์การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารหรือดำเนินการที่เกี่ยวข้อง

• บริเวณที่ 2 พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินของเกาะสมุย เกาะแตน เกาะพะงัน ที่มีความสูงน้อยกว่า 80 เมตร

   1. เขื่อน หรือกำแพง ต้องไม่ปิดกั้นทางลงสู่ทะเลหรือหาด หรือพื้นที่สาธารณประโยชน์อื่น

   2. อาคารพาณิชย์ และโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ต้องติดตั้งบ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรฐานที่หน่วยงานราชการกำหนด ก่อนเชื่อมต่อลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ

   3. กิจการที่นำบ้านพักอาศัย ตั้งแต่ 10 หลังขึ้นไป หรือกิจการที่นำห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว ตั้งแต่ 10 ห้องขึ้นไป ไปให้บริการเป็นสถานที่พักในลักษณะโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ต้องติดตั้งบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรฐานที่หน่วยงานราชการกำหนด ก่อนเชื่อมต่อลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ

    4. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และอาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ต้องมีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่างที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกำหนดไว้ โดยมีพันธุ์ไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบหลัก

• บริเวณที่ 3 (1) และ 3 พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 80-140 เมตร ในพื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน และ พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า 80 เมตรขึ้นไป ในพื้นที่เกาะแตน อนุญาตเฉพาะอาคารอยู่อาศัยที่เป็นอาคารเดี่ยวที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร ขนาดแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาตต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางวา ที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ดินที่ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร มีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่างนั้นโดยมีพันธุ์ไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบหลัก รวมทั้งจัดให้มีการหน่วงน้ำ หรือท่อที่สามารถลดอัตราการระบายน้ำออกสู่สาธารณะ เพื่อป้องกันน้ำท่วมหรือน้ำหลาก และมีลักษณะหลังคาลาดชันตามแบบสถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมเมืองร้อนชื้น หรือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น พื้นที่หลังคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อาคาร และมีสีกลมกลืนธรรมชาติ เช่น สีอิฐ สีดินเผา สีน้ำตาล สีเทา สีเขียวใบไม้ เป็นต้น

 บริเวณที่ 3(2) พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า 140 เมตรขึ้นไป ในพื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน อนุญาตเฉพาะอาคารอยู่อาศัยที่เป็นอาคารเดี่ยว ความสูงไม่เกิน 6 เมตร ขนาดแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาตต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางวา พื้นที่อาคารคลุมดินต่อหลังสูงสุดไม่เกิน 90 ตารางเมตร ที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ดินที่ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร และมีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่างนั้น โดยมีไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ท้องท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบหลัก รวมทั้งจัดให้มีการหน่วงน้ำ หรือท่อที่สามารถลดอัตราการระบายน้ำออกสู่สาธารณะ เพื่อป้องกันน้ำท่วมหรือน้ำหลาก และมีลักษณะหลังคาลาดชันตามแบบสถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมเมืองร้อนชื้น หรือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น พื้นที่หลังคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อาคาร และมีสีกลมกลืนธรรมชาติ เช่น สีอิฐ สีดินเผา สีน้ำตาล สีเทา สีเขียวใบไม้ เป็นต้น

• รงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรต้องติดบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสีย

• บริเวณที่ 4 5 6 เกาะเล็กๆ ไปดูในรายละเอียดกันเองนะครับ

• บริเวณที่ 6 ห้ามการก่อสร้างอาคารทุกชนิดทุกประเภท ยกเว้นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อประโยชน์หรือความปลอดภัยในการเดินเรือ

• เกาะกงทรายแดง เกาะกง เกาะกงนุ้ย เกาะกงริ้น เกาะราใหญ่ เกาะหลัก เกาะทะลุ เกาะเจดมูล เกาะพึง เกาะกงออก เกาะนาเทียน เกาะฟานน้อย เกาะราหิน เกาะราเทียน และเกาะอื้นๆ ที่อยู่ภายในน่านน้ำบริเวณที่ 1 ยกเว้น ใน 4 - 7


หลักเกณฑ์การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารหรือดำเนินการที่เกี่ยวข้องบริเวณเกาะเต่า

• เขื่อน หรือกำแพงต้องไม่ปิดกั้นทางลงสู่ทะเลหรือหาดหรือพืนที่สาธารณประโยชน์อื่น

• พื้นที่ที่สูงไม่เกิน 80 เมตร อาคารต้องห่างจากแนวชายฝั่งทะเลไม่น้อยกว่า 10 เมตร สูงไม่เกิน 6 เมตร ที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร พื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่าง มีไม้ยืนต้นที่เป็นไม่ท้องถิ่นเป็นหลัก หลังคาตามแบบสถาปัตยกรรมไทย เมืองร้อนชื้น หรือพื้นถิ่น พื้นที่หลังคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อาคาร สีกลมกลืนกับธรรมชาติ

• พื้นที่ที่สูง 80 เมตรขึ้นไป มีได้เฉพาะอาคารเดี่ยว สูงไม่เกิน 6 เมตร ที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร พื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่าง มีไม้ยืนต้นที่เป็นไม่ท้องถิ่นเป็นหลัก หลังคาตามแบบสถาปัตยกรรมไทย เมืองร้อนชื้น หรือพื้นถิ่น พื้นที่หลังคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อาคาร สีกลมกลืนกับธรรมชาติ

• อาคารพาณิชย์ และโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ต้องติดตั้งบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสีย

• กิจการที่นำบ้านพักอาศัย ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว ตั้งแต่ 10 ห้องขึ้นไปให้บริการเป็นสถานที่พัก ต้องติดตั้งบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสีย

ความลาดชัน

• พื้นที่บริเวณ 2 -4 ที่มีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ 35-50 มีได้เฉพาะอาคารเดี่ยวสูงไม่เกิน 6 เมตร ขนาดแปลงไม่น้อยกว่า 120 ตารางวา พื้นที่อาคารคลุมดินต่อหลังไม่เกิน 80 ตารางเมตร พื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 75 ของแปลงที่ยื่นขออนุญาต พื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ว่าง ไม้ถิ่น

• หากเป็นอาคารรัฐต้องมีการพิสูจน์ว่าจำเป็นและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯระดับจังหวัด

 พื้นที่บริเวณ 2-4 และ 7(1) ที่มีความลาดชันเกินร้อยละ 50 ห้ามก่อสร้างดัดแปลงอาคารใดๆ

จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น(IEE)

• โรงแรม หรือสถานที่พักตากอากาศที่อยู่ห่างจากแนวชายฝั่งเกิน 50 เมตร ห้องพักตั้งแต่ 10-79 ห้อง หรือมีพื้นที่ใช้สอยของทุกอาคารรวมกันตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 4,000 ตารางเมตร

• โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่มีจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยค้างคืนตั้งแต่ 10 เตียง ถึง 29 เตียง

• การจัดสรรที่ดิน ที่มีจำนวนที่ดินแปลงย่อยไม่ถึง 500 แปลง หรือไม่เกิน 100 ไร่

• ท่าเทียบเรีอ 100 ตันกรอส ไม่ถึง 500 ตันกรอส 

•โ รงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในชุมชนไม่เกิน 50 ตันต่อวัน


จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)

• โรงแรมที่อยู่ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลไม่เกิน 50 เมตร

• ทางหลวง สูงกว่า 150 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรือลาดชันเกินร้อยละ 35 ยาวตั้งแต่ 1000 เมตรขึ้นไป

• ทางหรือถนนส่วนบุคคลขนาดมากกว่า 2 ช่องจราจร ยาว 1500 เมตร

• โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกขยะหรือฝังกลบ เกิน 50 ตันต่อวัน</p><p>

คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด

• ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธาน</p><p>• นายอำเภอเกาะสมุย นายอำเภอเกาะพะงัน

• ผู้แทนส่วนราชการประจำจังหวัดที่มีอำนาจหน้าที่ในจังหวัด หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนอปท ในพื้นที่

• ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่ไม่เกินสามคน

• ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การประมง หรือการท่องเที่ยว ไม่เกิน 6 คน

• ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ ส่งรายงานผลต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปีละครั้ง


คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ ให้มี 3 ชุด (ชุดเกาะเต่า ,ชุดเกาะพงัน,ชุดเกาะสมุย) 

• นายอำเภอในพื้นที่ ประธาน

• นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้แทน

• นายกเทศมนตรีในพื้นที่หรือผู้แทน

• กำนันในพื้นที่หรือผู้แทน

• ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ไม่เกิน 2 คน

• ผู้แทนองค์การภาคเอกชนที่มีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว การประมง หรืออุตสาหกรรมในพื้นที่ไม่เกิน 3 คน

• ผู้แทนส่วนราชการประจำอำเภอหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

• ปลัดอำเภอในพื้นที่เป็นกรรมการและเลขานุการ ส่งรายงานผลต่อคณะกรรมการระดับจังหวัดทุก 6 เดือน

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

• กำหนดจุด และทำทุ่นจอดเรือสำหรับการจอดเรือ เพื่อกิจกรรมดำน้ำดูประการัง เพื่อมิให้มีการทอดสมอเรือส่งผลกระทบต่อแนวปะการังและหญ้าทะเล

• กำหนดเขตควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่ในทะเล ขนาด และประเภทของเครื่องเล่นกีฬาทางน้ำ

• กำหนดให้มีการจัดระเบียบชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

• กำหนดให้มีการฟื้นฟูและบำรุงรักษาพื้นทีป่าพรุและป่าชายเลน

• กำหนดให้มีการปรับปรุง ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำสาธารณะที่ก่อสร้าง เพื่อระบายน้ำป้องกันน้ำท่วม และมีการปรับปรุง

กำหนดให้มีการบำรุงรักษา และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าให้มีความสมบูรณ์

=========>>>>>>>>>>

        จากประกาศใช้กฎหมาย ในระยะเร่ิ่มแรกนี้มีผลกระทบต่อโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งกฎหมายนั้นไม่มีมาตรการป้องกันหรือไม่มีข้อละเว้นไว้ในการบังคับใช้กฎหมาย  หากพิจารณาแล้ว ผลกระทบนั้น ผู้ที่จะดำเนินกิจการนั้นจะต้องรับภาระไว้เอง โดยปริยาย ได้แก่

        ๑. ตามข้อ  ๕ ของประกาศฯ นี้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่จะทําการก่อสร้างอาคาร หรือดําเนินการ โครงการหรือประกอบกิจการในพื้นที่ตามข้อ ๒ นอกจากต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน ประกาศนี้แล้ว ให้จัดทําและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) แล้วแต่กรณี

          - ผู้จะดำเนินกิจการใดๆ ก็แล้วแต่ที่ถูกกำหนดให้จัดทํา IEE หรือ EIA แล้วแต่กรณีนั้น ก็ต้องถือปฏิบัติโดยทันที  แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ในพื้นที่ยังไม่มีบริษัทที่ปรึกษาที่จะเข้ามาดำเนินการในพื้นที่  ผู้ประกอบการที่เป็นรายเล็กหากต้องจัดทำรายงาน IEE ก็ต้องหาบริษัทที่ปรึกษาจากต่างถิ่น ใกล้ที่สุดคือที่ภูเก็ต ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบริษัทเหล่านั้นเพิ่มขึ้นซึ่งก็หมายถึงต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้รับไว้โดยปริยาย (อีกแล้ว)

          - แต่หากเป็นโครงการใหญ่ ที่ต้องทำ EIA ก็ไม่กระทบมากถึงแม้นว่าต้องใช้บริษัทที่ปรึกษาจาก กทม. ซึ่งก็ถือได้ว่าโครงการใหญ่มีศักยภาพเพียงพอที่อาจจะต้องดำเนินการแยู่แล้วตั้งแต่แรก

            - คณะคณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม(คชก.)  (รายละเอียดกดลิ้งเลยครับ +++>>>> http://www.onep.go.th/eia/images/6interest/neb_ann…เป็นคณะ คชก. ในระดับจังหวัดที่จะพิจารณารายงาน IEE ก็ยังอยู่ในระหว่างการแต่งตั้ง  แต่ข้อนี้ไม่ค่อยมีผลกระทบสักเท่าไรเพราะ การจัดทำรายงาน IEE ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งซึ่งเมื่อโครงการที่ได้จัดทำ IEE รายแรกๆ คงเสร็จพร้อมกับการแต่งตั้ง คชก.แล้วเสร็จทันที่จะสามารถพิจาณารายงาน IEE ได้

        ๒. ตามข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามข้อ ๒ (พื้นที่ บริเวณที่ ๑-๗ )ให้แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ คณะกรรมการกํากับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด และคณะกรรมการกํากับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ (อ่านรายละเอียดในตัวบทนะครับ) สำหรับข้อนี้ มีบางกิจการที่จะดำเนินการได้นั้น ต้องผ่านกรรมการชุดนี้ให้ความเห็นชอบเสียก่อนจึงสามารถดำเนินการได้  ซึ่่งปัจจุบัน กรรมการชุดนี้กำลังอยู่ระหว่งการดำเนินการจัดตั้งขึ้น  และระหว่างนี้หากมีโครงการบางโครงการที่เข้าข่ายต้องผ่านความเห็นชอบของกรรมการชุดนี้ จะส่งผลกระทบให้โครงการดังกล่าวต้องชะงักไปโดยปริยาย แน่นอนครับ

หากมีความคืบหน้า จะมารายงานเป็นระยะๆ นะครับ</p></p>

หมายเลขบันทึก: 573623เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2014 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2014 06:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I applaud your attempt to enlighten us.

But I have problems understanding the rules (of laws).

Perhaps, we can see a sort of "infographics" that explains in a common folk language?

Thanks for you comment sr.

Actually, we did not copy and paste but trying (may be not good enough) to simplify at some level.

Will try again for a better understanding.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท