Happy Homeschool - การพัฒนาเด็กที่แท้จริง


ขอขอบพระคุณพี่กนกพร พี่ดร.นภัสสร คุณหมอมาลินี อ.สายพิณ อ.ป่าน คุณครูฐา ผู้จัดการสถาบันการพัฒนาเด็ก ผอ.รร.อนุบาลสมฤดี ครูรร.รุ่งอรุณ ครูการศึกษาพิเศษ ผู้ปกครองเด็กพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด อาจารย์กิจกรรมบำบัด และทุกท่านที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ที่ได้รับการสนับสนุนชุมชนนักปฏิบัติกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาวะจากสสส.และ GotoKnow.Org

หนึ่งในโครงการโรงเรียนจัดการความสุข ซึ่งเป็น Life Project ของดร.ป๊อป ผู้นำเครือข่ายสุขภาวะ หรือ คศน. ได้เปิดฉากแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สหวิชาชีพทางการแพทย์ การศึกษา และศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก รวมทั้งผู้ปกครองที่มีประสบการณ์หรือสนใจในการเพิ่มโอกาสพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของลูกหลานตามวิถีธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิทธิหลักที่ผู้ปกครองจะเป็นผู้จัดการศึกษาให้กับลูกหลานตามพรพ.การศึกษาแห่งชาติ ในการเลือกศึกษาที่หลากหลาย (ในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัยที่เทียบโอนได้) โดยเฉพาะการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนหรือ Homeschool ที่ตระหนักถึงการพัฒนาศักยภาพเด็กรายบุคคลที่มีต้นทุนชีวิตที่งดงาม (ความสนใจ ความสามารถ ความรู้ความเข้าใจ และคุณลักษณ์) และพร้อมเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในทรัพยากรทางสังคมและธรรมชาติที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และมีการประเมินตามแผนการพัฒนาเด็กที่มิใช่กลุ่มสาระการเรียนรู้ แต่เป็นกลุ่มกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่เด็กๆควรได้รับการศึกษาทักษะชีวิตเป็นพิเศษ เช่น เด็กไม่ควรสอนสะกดคำให้อ่าน แต่ผู้ปกครองอ่านให้เด็กฟังและค่อยๆทำความเข้าใจคำต่างๆเป็นธรรมชาติ เด็กทำอาหารง่ายๆ ก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาไปพร้อมๆกัน เป็นต้น

การประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นทักษะชีวิต (Skills based learning) มีความน่าสนใจตรงที่ผู้ปกครองเน้นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) อย่างต่อเนื่องในแต่ละหลักสูตรบ้านเรียนตั้งแต่ป.6 ถึงม.3 และม.6 

จากนั้นก็มีกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จคือ บ้านเรียนชวนชื่น ที่มีการระดมความคิดและความรักของผู้ปกครองหลายท่านที่ต้องการพัฒนาเด็กในหลายระดับความสามารถมากกว่า 10 กลุ่ม และมีการวิจัยพัฒนากรณีศึกษามากมายที่พูดช้า เรียนรู้ช้า มีปัญหาอารมณ์ มีภาวะโรค และมีปัญหาสังคม ที่เกิดการพัฒนาได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปผ่านการบำบัดด้วยกิจกรรมที่ไม่ซ้ำในแต่ละอาทิตย์ เป็นการเพิ่มความคิดความเข้าใจสังคมที่ช่วยเหลือเด็กเหล่านี้แบบ "เข้าใจศักยภาพเชิงบวก" มากกว่า "ความสงสาร" และมีความเชื่อมั่นว่า "ผู้ปกครองมีความพร้อมในการพัฒนาเด็กด้วยความเข้าใจและความรัก" ซึ่งอาจหาได้ยากในบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานประจำแต่ในบริบทของคลินิก และที่น่าสนใจคือ "บัวมหามิตรที่น่าจะเป็นสัณลักษณ์ของเด็กพิเศษ ซึ่งกว่าจะทำได้แต่ละชิ้นงานนั้นไม่ง่ายเลย คลิกอ่านที่นี่

อย่างไรก็ตามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ก็มีประเด็นที่ควรศึกษาต่อยอด ได้แก่:-

  • ทำอย่างไรที่จะมีการเชื่อมโยงการประเมินและการพัฒนาเด็กจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และการศึกษา
  • ทำอย่างไรที่จะมีการสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างสหวิชาชีพทางการแพทย์ การศึกษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กรายบุคคล
  • ทำอย่างไรที่ผู้บริหารเชิงนโยบายจะสร้างระบบการให้บริการต่างๆ แบบบูรณาการในการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการช่วยเหลือเป็นพิเศษให้สามารถเข้าศึกษาได้ในทุกระดับตามศักยภาพและได้โอกาสในการประกอบอาชีพในสังคมอย่างมีความสุข เช่น เด็กสายตาเลือนราง เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กที่มีความสามารถพิเศษ ฯลฯ 
  • ทำอย่างไรผู้ปกครองและคนไทยทุกคนจะมีความเข้าใจถึงคุณภาพและประโยชน์ของการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนที่เพิ่มมวลความสุขของประชากรไทยได้อย่างแท้จริงผ่านสื่อสาธารณะ
  • การศึกษาความพร้อมของคลินิกกิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ว่าจะมีกลไกใดในการเชิญชวนผู้ปกครองเด็กพิเศษให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนและมีความเป็นไปได้หรือไม่ในการตั้งเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือบ้านเรียนในผู้ปกครองมากกว่า 20 ท่านได้จริง
หมายเลขบันทึก: 572813เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่ค้นตู้หนังสือเก่าที่บ้านเจอหนังสือชื่อ "บ้านเด็ก" เขียนโดย ดร.ประมวญ ดิคคินสัน (๒๕๓๐) เมื่อคืนเพิ่งเปิดอ่านได้ ๒-๓ บท เล่าเรื่องการพัฒนาเด็กตามแนวของ คุณหมอมาเรีย มอนเตสเซอรี่  จิตแพทย์ชาวอิตาลีที่สนใจเรื่องการศึกษาจึงมาเรียนเพิ่มเติมด้านการศึกษาจนเชี่ยวชาญ  คุณหมอมาเรียศึกษาแนวคิดของแพทย์ที่ทำงานด้านจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษหลายๆ ท่านและนำมาใช้  กลุ่มเป้าหมายแรกที่นำมาสาธิตการสอนคือเด็กปัญญาอ่อน  คุณหมอพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมครู  เวลาผ่านไป ๒ ปี เด้็กกลุ่มที่ถูกตราว่าคงจะพัฒนาไม่ได้ กลับผ่านการสอบระดับประถมศึกษาทุกคน

คุณหมอนำแนวคิดไปเผยแพร่สนับสนุนให้ผู้ปกครองรวมตัวกันจัดการสอน ดร.ประมวญใช้คำว่า "บ้านเด็ก"  (ไม่รู้ว่าคำศัพท์เดิมคืออะไร) เน้นการพัฒนารายบุคคล

ในเล่มนี้มีตัวอย่างโปรแกรมการจัดกิจกรรมแต่ละวันให้เห็นภาพ  มีิวิธีประเมินชัด  (พี่ชอบวิธีคิดแบบนี้มาก)

อาจารย์คงรู้จักคุณหมอมาเรียดีกว่าพี่แน่นอน

ขออนุญาตแสดงความเห็นสำหรับโปรแกรมของอาจารย์นะคะว่า

- ถ้าเรามีหลักสูตร (หลักการ เป้าหมาย วิธีการ วิธีประเมิน ที่เป็นรูปธรรม ) และจัดอบรมพ่อแม่เด็กๆ ทั้ง ๒๐ ครอบครัว  พี่คิดว่าพ่อแม่จะมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาลูกตัวเอง เป็นรายบุคคล 

- ให้มีที่ปรึกษา (เมื่อมีข้อสงสัย)  และมีการนัดพบกลุ่มกันทุกสามเดือนเพื่อประเมินความก้าวหน้า

- พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่บุคลากรที่จะเป็น "ผู้สนับสนุน"  เพื่อให้เข้าในแนวคิดเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนารายบุคคล ไม่ใช่การดูแลสุขภาพ 

ดีใจมากที่อาจารย์ทำเรื่องนี้ ให้กำลังใจ และรอติดตามความก้าวหน้านะคะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ Nui ขอเรียนเชิญเป็นกัลยาณมิตรของโรงเรียนการจัดการความสุขนะครับ โรงเรียนนี้บูรณาการแนวคิดคุณหมอมาเรีย กิจกรรมบำบัด และแนวคิดการสร้างพลังชีวิตด้วยตนเองตลอดทุกช่วงวัย 

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจอาจารย์ครับ

-สู้ ๆ

ขอบพระคุณมากครับอ.นุ คุณเพชรน้ำหนึ่ง พี่โอ๋ คุณ Noktalay พี่ณัฐพัชร์ คุณยายธี คุณ tuknarak คุณมะเดื่อ คุณกุหลาบ และพี่ rojfitness

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท