เข้าใจตรงกันนะ


น่าจะเป็นการแข่งขันทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาตนเอง และยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน เชื่อว่ากิจกรรมนี้ จะช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเอง และมีทักษะในการศึกษาค้นคว้ามากขึ้น

หยุด ๔ วัน วันจันทร์ เป็นวันหยุดชดเชย นัดนักเรียน ชั้น ป.๖มาเรียนหนังสือ มีครูประจำชั้นมาคอยดูแลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แน่นอน..งานนี้ถือเป็นการเรียนพิเศษ เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยครูต้องเสียสละเวลา มาเติมเต็ม ในช่วงเวลาที่ต้องหยุดพักผ่อน

ครูประจำชั้น ป.๖ เต็มใจที่จะสอน เธอบอกว่า ในช่วงเวลาปกติ วันธรรมดา เนื้อหาในแต่ละวิชา ในแต่ละตัวชี้วัด หรือในแต่ละสมรรถนะ ล้วนมากมายและค่อนข้างละเอียด บางเนื้อหาและบางกิจกรรม มองข้ามไม่ได้เลย ดังนั้น วันหยุดอย่างนี้ เธอจึงอยากเสริม เติมเต็มเป็นกรณีพิเศษ

เน้นในสาระหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และอังกฤษ ทบทวนและสอนเสริม เริ่มพัฒนาทักษะกันตั้งแต่ต้นปี แบบนี้ ถือว่าไม่ประมาท เป็นขั้นตอนกระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบเข้ม ที่ต้องอาศัยความต่อเนื่องและจริงจัง

กำหนดการสอบ โอเน็ต สทศ. ที่ คสช.ยังไม่ได้สั่งยุบเลิก บอกมาแล้วว่าจะสอบ วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๘ ใน ๘ สาระวิชา ซึ่งโรงเรียนเล็กสมควรอย่างยิ่งที่จะเตรียมตัวและเตรียมการเสียแต่เนิ่นๆ

หากประมาท จัดการเรียนการสอนไม่ครอบคลุมหลักสูตร และ หากนักเรียนมีกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ไร้สาระมากเกินไป จะทำให้นักเรียนเบื่อหน่ายในการทำข้อสอบวัดและประเมินผล ไม่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่จะเห็นคุณค่าในการประเมินตนเอง..ซึ่งก็เคยเป็นอย่างนี้ทั้งประเทศ..ท้ายที่สุดการศึกษาก็ล่มทั้งระบบ

การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องมีคน "สั่ง" คุณภาพ ทำได้ทันทีทุกที่ทุกเวลา โรงเรียนทุกโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก การขยับขับเคลื่อนอย่างรู้เท่าทัน ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑ เป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งนัก

วันนี้ เลิกเรียน ๑๕.๐๐ น. ผมเรียกนักเรียน ป.๖ ประชุมก่อนกลับบ้าน สิ่งที่อยู่ในใจผม ที่ไม่ได้บอกนักเรียนก็คือ ผมจะให้นักเรียน ป.๖ เรียนรู้ในท่ามกลางบรรยากาศของกิจกรรมทางวิชาการ ในทุกสัปดาห์ ผมจะให้ทุกคนได้ร่วมกิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ..ตอบปัญหา..โดยการศึกษาค้นคว้า สืบค้นในคอมพิวเตอร์และหนังสือในห้องสมุด แต่ละเรื่องจะมีคำถาม ๑๐ - ๒๐ ข้อ กำหนดเวลาและเครื่องมือ เริ่มที่วิชาสังคมศึกษา และตามด้วยภาษาอังกฤษ จากนั้นก็จะเป็นภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ เป็นลำดับ

บ่ายวันศุกร์..ในช่วงประชุมสวดมนต์ จะประกาศผลการประเมิน และมอบรางวัลเกียรติบัตร เป็นขวัญกำลังใจ เก็บคะแนนสะสมแต้มและรางวัลจนกว่าจะถึงสิ้นปีการศึกษา เพื่อการมอบรางวัลใหญ่ต่อไป

น่าจะเป็นการแข่งขันทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาตนเอง และยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน เชื่อว่ากิจกรรมนี้ จะช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเอง และมีทักษะในการศึกษาค้นคว้ามากขึ้น

ท้ายที่สุด..ก่อนนักเรียนจะกลับและฝนกำลังจะตกหนัก..ผมขอความร่วมมือนักเรียนให้สนใจเรียนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมนี้ด้วย ซึ่งจะมีในทุกสัปดาห์..พูดมาถึงตรงนี้ หวังว่า..นักเรียนคงเข้าใจตรงกันนะ

 

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 572492เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ ผอ.

มาศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะวิชาการจากแนวคิดของท่าน ผอ.ครับ  

ดีจังเลยครับใช้เวลาว่างเพื่อเติมเต็มความรู้  เตรียมการแต่เนิ่นๆ เมื่อถึงเวลาพร้อมเกินร้อย

กิจกรรมทางวิชาการที่ทางโรงเรีนจะจัดขึ้น เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมาก  เป็นห่วงแต่เรื่องการแข่งขัน่ เพราะเรื่องวิชาการเด็กเก่งกว่าก็จะเป็นผู้ชนะอยู่ร่ำไป คนที่โหล่ก็จะโหล่ตลอด ความสามารถทางสมองนี่แข่งกันยาก  ดังนั้นทำอย่างไรจะให้เด็กทุกคนได้รับเกียรติ ได้รับรางวัลอะไรกับเขาบ้างเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ เป็นห่วงจิตใจของผู้แพ้ค่ะ

คุณภาพคับแก้วทั้งท่าน ผอ. และทีมงานค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท