ขอให้ลูก/น้องกลับมาเหมือนเดิม...จิตภาวนา


ดร.ป๊อป พยายามนึกถึงวันที่เซ็นสัญญารับทุนรัฐบาลไทยเพื่อศึกษาต่อเป็นนักกิจกรรมบำบัดเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์คลินิก (สุขภาพจิต) ณ ออสเตรเลียตะวันตก หรือมีชื่อสากลว่า กิจกรรมบำบัดจิตสังคม ถ้าพูดภาษาทางการ คือ การปรับระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม (Psychosocial Rehabilitation) สู่ระบบการสร้างพลังใจหรือพลังชีวิตหรือการฟื้นคืนสุขภาวะ (Mental Health Recovery) ในผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะ (ความสุขความสามารถตามศักยภาพ บริบท และสิ่งแวดล้อม) ในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (การดูแลตนเอง การทำงาน การศึกษา การใช้เวลาว่าง การพักผ่อน/การนอนหลับ และการเข้าสังคม) ตลอดทุกเพศทุกวัย

จนถึงวันนี้ผมกลับมาเมืองไทยได้ 7 ปี ระบบการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของไทยยังคงต้องพัฒนาอย่างช้าๆ ดังจะสังเกตจากผู้เข้ามารับบริการคลินิกกิจกรรมบำบัดฝ่ายกายและจิตสังคม ณ ศูนย์กายภาพบำบัด ม.มหิดล เมื่อสองวันนี้ที่มีความทุกข์จากผลกระทบของระบบการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของไทยที่ไม่มีการส่งปรึกษานักกิจกรรมแต่อย่างใด

กรณีศึกษารายแรก: คุณ ย. (วัย 41 ปี) วินิจฉัยโดยจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล และรักษาด้วยยาตลอด 1 ปี โดยไม่มีการส่งปรึกษานักกิจกรรมบำบัดเพื่อเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมแต่อย่างใด 

[อีเมล์ที่ส่งมาจากพี่สาว...เนื่องด้วยดิฉันอ่านพบโครงการของอาจารย์ที่ทำเรื่องการบำบัดโรคต้องขออนุญาติเรียนถึงปัญหาของครอบครัวก่อนนะค่ะ คือดิฉันมีน้องสาวอายุ 41 ปีป่วยเป็นโรคด้านจิตซึ่งมีสาเหตุที่ไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากความคิดหรือความผิดหวังในอดีตหรือเปล่า เข้าใจว่าเริ่มจากการทำต้องออกจากงานมาดูแลแม่ผู้ป่วยด้านหัวใจซึ่งไม่ใครคอยดูแลเดิมทำงานธนาคารและลาออกแล้วมา ทำงานต่ออีกหลายที่และไม่ประสบความสำเร็จเป็นระยะๆจนกระทั้งมาอยู่บ้านดูแลบ้านอย่างเดียว (คุณแม่เสียแล้ว) เป็นคนคิดมาก คิดเล็กคิดน้อยแต่ทางบ้านไม่ได้ตำหนิอะไรซึ่งมีพ่อและพี่สาวคือดิฉันให้ความรักเอาใจใส่ตลอด อยู่ๆ ก็ป่วยเริ่มต้นปี 2553 ก็รักษาด้านจิตเวชมาตลอดที่ร.พ.แห่งหนึ่ง กินยาตลอดเริ่มจากอาการนอนไม่หลับ คิดมากคิดว่าคนอื่นไม่ชอบ คิดมากไม่มีงานทำเป็นภาระของครอบครัวอาการก็นิ่งมาเรื่อยๆไม่อยากอยู่บ้าน ปัจจุบันประมาณเบื่อเพื่อนบ้านดิฉันก็ไปซื้อบ้านใหม่เพื่อ ให้สบายใจและอาจจะขายของหน้าบ้านได้แต่ไม่เป็นดังนั้น ซึ่งอาจจะเกิดจากอาการที่มากขึ้นทางด้านจิตแต่ทางครอบครัวไม่ทราบจนทำให้อาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง อยู่รพ.ประมาณ4เดือนจนกลับมาบ้านได้ซึ่งพ่อจะคอยดูแลอยู่บ้าน (อายุ 76 ปี) และพี่สาวทำงานนอกบ้านก็ดีขึ้นแต่ยังไม่สามารถทำอะไรได้มากอาจจะเป็นเพราะกินยาเยอะมากจนงงและสับสนพูดอย่างหนึ่งคิดอีกอย่าง สื่อกันไม่ค่อยจะเข้าใจบางขณะก็คุยรู้เรื่องบางเวลาก็ร้องไห้คิดถึงพี่สาวหยิบจับอะไรไปเรื่อยซึ่งพ่อต้องคอยดูแลตลอดทำให้ไม่ได้พักผ่อน ทำให้ดิฉันเครียดไม่มีทางออกว่าจะอย่างไรดี โดยรวมเหมือนอาการจะดีขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ก็มีปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันดิฉันต้องทำงานคนเดียว ค่าใช้จ่ายก็สูงค่ายาประมาณเดือนละ 20,000 บาทซึ่งหนักมาก ถ้าหายขาดก็จะไม่เสียดายเลยแต่ครั้งล่าสุดคุณหมอที่รพ.นี้แจ้งว่าได้ทำการรักษาถึงเพดาน แล้วซึ่งตลอดระยะเวลาที่รักษาอยู่ที่รพ.นี้มาเป็นเวลาถึง 1 ปีเต็มแล้วแต่น้องก็ยังมีอาการไม่นิ่ง (ไม่หายสนิทเป็นๆหายๆ)...]

Subjective: คุณ ย. ไม่ค่อยมั่นใจ วาดรูปทันทีโดยไม่เข้าใจคำสั่ง ลากเส้นตามแบบ เข้าใจสีเขียวแล้วหยิบสีถูกต้อง

Objective: วาดรูปสัญลักษณ์ร้าน MacDonald (ตัว M ต่อเนื่องกัน 7 ตัว รูปร่างไม่สมมาตร) แทนที่จะวาดรูปบ้าน วาดเส้นแนวนอนแทนที่จะวาดรูปคน ระบายสีเขียวเป็นจุดซ้ำไปมาที่เดิมแทนที่จะวาดรูปต้นไม้ และขณะทำกิจกรรมยืน-เดินส่งบอลก็มีการทรงตัวที่ต่ำและเดินเซ มีพูดเพ้อเจ้อบ้าง และมีสมาธิสั้น กระตุ้นทุกครั้งในช่วงก่อนทำกิจกรรมบำบัด (10/10 ครั้ง) แต่เมื่อทำกิจกรรมบำบัด (ฝึกเดินไปมา 10 รอบ และฝึกหายใจเข้าทางจมูก ยืดตัวตรง และหายใจออกเป่าลมทางปาก 5 รอบ) ก็กระตุ้นบางครั้ง (7/10 ครั้ง)

Assessment: มีระดับความคิดความเข้าใจที่ 1 (การตอบสนองแบบอัตโนมัติ) ซึ่งจำเป็นต้องกระตุ้นการรับความรู้สึกสัมผัส เคลื่อนไหว ทรงท่า-ทรงตัว การมองเห็น และการได้ยิน แบบบูรณาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะระบบสมองของคุณย.มีความคิดที่ช้าแบบถดถอยและมีภาวะย้ำคิดย้ำทำ

Program: วิเคราะห์กิจวัตรประจำวันที่บ้าน แนะนำคุณพ่อและพี่สาวของคุณ ย. ให้ลดการช่วยเหลือคุณ ย. ที่มากเกินไปจนคุณ ย. ไม่มีโอกาสได้คิดดูแลตนเอง จึงปรับตั้งแต่ให้ทำวันเว้นวันเริ่มจากตั้งนาฬิกาปลุกตื่นเอง (จากนั้นเรียกชื่อแล้วใช้คำสั่งสั้นง่าย - ไม่เกิน 3 คำ ตื่นได้แล้ว) ถ้าไม่ตื่นก็ให้จับมือขึ้นมา ไปแปรงฟัน ไปเช็ดตัว ไปขับถ่าย ไปนำอาหารใส่จาน ไปเก็บจานที่ทานอาหารแล้ว ไปซักผ้า ไปเดินเล่น ไปเตรียมของทำบุญ ฯลฯ    

กรณีศึกษารายสอง: คุณ พ. (วัย 23 ปี) วินิจฉัยโดยจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล และไม่ได้รักษาด้วยยาตลอด 3 เดือน และไม่มีการส่งปรึกษานักกิจกรรมบำบัดเพื่อเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมแต่อย่างใด

Subjective: คุณ พ. ไม่ค่อยมั่นใจ บ่นว่าเครียดซ้ำๆ วาดรูปช้ามาก (5 นาทีต่อ 1 รูป) ต้องมีคนคอยกระตุ้นให้วาดบ้าง เข้าใจใช้สีระบายรูปดี

Objective: วาดรูปบ้านเรือนไทย มีประตูปิด เส้นโค้ง จากนั้นวาดรูปตัวเอง รูปร่างไม่สมส่วน ปากใหญ่สีแดงชมพู มีน้ำตา และเน้นว่าภาพมีอารมณ์โกรธ รูปต้นไม้มีกิ่งก้านขึ้นบน รูปร่างลำต้นใหญ่เกินไปกว่าพุ่มใบไม้ ต้องกระตุ้น 1-3 ครั้งจนกว่าจะเข้าใจเงื่อนไขของการห้ามใช้มือถือ 1 เดือนจนกว่าจะควบคุมอารมณ์โกรธได้ (เดิมปาสิ่งของเสียหาย คบเพื่อนไม่ดี ติดดารา และใช้มือถือติดต่อชายแปลกหน้าจนโดนหลอกและมุ่งหวังเพศสัมพันธ์ ทำให้ทางบ้านเป็นห่วงความปลอดภัยและใช้การสื่อสารแบบบังคับ) เมื่อสัมภาษณ์ถึงภาวะการตั้งครรถ์ - คุณแม่เครียดเนื่องจากคุณพ่อมีภรรยาน้อย และคุณพ.พูดได้ตอนอายุ 3 ปี คิดและเรียนรู้ช้าตั้งแต่เด็ก แต่ก็บังคับเรียนจนจบป.ตรี มีการสื่อสารคิดช้า 20-30 วินาทีในช่วงก่อนทำกิจกรรมบำบัด แต่เมื่อทำกิจกรรมบำบัด (พูดคุยถึงความรู้สึกที่เครียดและความชอบทำกิจกรรมต่างๆ โดยกระตุ้นในบางครั้ง) พบการสื่อสารคิดช้า 10 วินาที

Assessment: มีระดับความคิดความเข้าใจที่ 2-3  (การทรงท่าและการใช้มือ) ซึ่งขึ้นอยู่กับการระบายออกทางอารมณ์ที่จำเป็นต้องกระตุ้นการสื่อสารอย่างมีขั้นตอนสลับการรอคอย-การพัก-การให้แรงเสริมทางบวก (ช่วยไม่เกิน 50% ของความพยายามทั้งหมด) อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะระบบสมองของคุณพ.มีความคิดที่ช้า อ่อนไหว และมีภาวะย้ำคิดย้ำทำ

Program: วิเคราะห์ความไว้วางใจและการสื่อสารที่บ้าน แนะนำคุณพ่อ คุณแม่ และน้องชายของคุณ พ. ให้สื่อสารแบบสนับสนุนจริงใจโดยอดทนใน 30 นาที หรือ "ขอโทษที่ทำให้โกรธ...ถ้าหายโกรธแล้วก็จะมาคุยด้วย" ไม่ว่าคุณ พ. จะระบายอารมณ์โกรธใดๆ และถ้าต้องการพูดคุยด้วยความเป็นห่วงก็พูดว่า "ไม่อยากให้ใช้มือถือ รักและเป็นห่วงมากนะ ขอบคุณมากที่เข้าใจและเชื่อฟัง" และควรเป็นเพื่อนในช่วง 3 เดือนครึ่งที่กำลังปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและพฤติกรรมให้เหมาะสมขึ้น ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ของตนเอง การฝึกความรับผิดชอบของการใช้ตาและมืิอทำกิจกรรมจากง่ายและเพิ่มจำนวนชิ้นจนถึงท้าทายพอสมควร ได้แก่ การวาดรูปในแบบต่างๆ งานปั้น งานถักนิตติ้ง งานทำสมุด บางขั้นตอนของงานเย็บผ้า-ไหมขึงแบบหมุดตอก (ปรับรูปแบบกิจกรรมกับครูสอนศิลปะใน 3-4 วันต่อสัปดาห์ และให้ทำกิจกรรมอิสระที่ชอบดาราบันเทิงใน 1-2 วันต่อสัปดาห์) ในระยะยาว ต้องเตรียมคู่ครองที่เหมาะสมและการฝึกอาชีพเท่าที่จะเรียนรู้ได้บ้าง 

หลังพบกันครั้งแรกในสองครอบครัวนี้ ทั้งคุณแม่ของคุณ พ. กับพี่สาวของคุณ ย. ต่างก็ตั้งจิตภาวนาว่า "ขอให้ลูก/น้องกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนเดิมด้วยเถิด..." ดร.ป๊อปคงพยายามฝึกกิจกรรมบำบัดจิตสังคมให้ทั้งสองกรณีศึกษานี้อย่างเต็มศักยภาพแต่ด้วยเวลาที่จำกัดในการลงคลินิกในฐานะอาจารย์และระบบการทำงานที่ไม่เอื้อให้เพิ่มกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการกิจกรรมบำบัดจิตสังคมก็คงเป็นอุปสรรคไม่น้อยทีเดียว 

หมายเลขบันทึก: 571176เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2014 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2020 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

พี่ดาได้ใช้บ่อยมากนะคะ จิตภาวนา 

  สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก   ต่างจากสมัย เมื่อ 50 ปีที่แล้ว (สมัยที่พี่เปิ้นยังเด็กๆ)    สังคมสมัยนี้ทุกอย่างส่งผลต่อการดำเนินชีวิต   ทุกอย่างเร่งรีบ  การแข็งขันสูง  ความบีบคั้นสูง    ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ตั้งแต่เด็กๆ  นะคะ   เด็กสมัยใหม่ ต้องตื่น ตี 4  เพื่อไปโรงเรียน  ทานข้าวในรถ  เพื่อจะไปโรงเรียนได้ทัน  พ่อ  แม่  การเร่งรีบ  เหนื่อกันทั้งหมด  นะคะ   ก่อให้โรคทางด้านนี้มากขึ้น   สังคมแบบดั้งเดิมหายไป  ความรีบเร่ง  เร่งด่วนเข้ามาแทนนะคะ   

ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ

ขอบพระคุณมากครับคุณกานดาน้ำมันมะพร้าว พี่ดร.เปิ้น และคุณ tuknarak

ขอบพระคุณมากครับคุณแสงแห่งความดีและพี่โอ๋

มาให้กำลังใจ

ระบบราชการ ระบบมหาวิทยาลัยไม่เอื้อต่อการทำงานคับ

สู้ๆครับน้องดร.Pop

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิตและพี่ Kanchana 

เป็นกำลังใจให้ค่ะ หวังว่าต่อไปเราคงมีผู้เชียวชาญมากขึ้นนะคะ  เพราะมีประโยชน์กับประชาชนจริง ๆ

<p>มีดอกไม้กับข้าวปั้นมาฝาก..เป็นกำลังใจ..เจ้าค่ะ..(รักษาใจ..รักษาตัว..)..ดุจบัวไม่ช้ำ..น้ำไม่ขุ่น..เจ้าค่ะ</p>

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท