International Day against Drug Abuse and Illicit ... วันต่อต้านยาเสพติดโลก


   วันนี้ วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น  "วันต่อต้านยาเสพติดโลก"(International Day against Drug Abuse and Illicit) ... ในประเทศไทยนั้น ... ก็มิได้ละเลยถึง ..ปัญหายาเสพติด ....เพราะรู้ว่าเรื่องนี้สร้างความเดือดร้อนแก่ตัวประชาชนเองและครอบครัว รวมถึงประเทศชาติอีกด้วย .....ดังจะเห็นได้จาก .... 

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ...มีใจความว่า 

         "ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปราม ยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อนอย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง"

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2545


     ปัญหายาเสพติด ... ที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก .... ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน ..... เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด .... จนกระทั่งที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิดและการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) … ได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนด .... วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น"  ..... วันต่อต้านยาเสพติดโลก"(International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking) …. เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหายาเสพติดนะคะ

              

                     

                  

   ขอเล่าเรื่องการแบ่งตามองค์การอนามัยโลกซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ
           ๑. ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
           ๒. ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกันได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
           ๓. ประเภทแอลกอฮอลได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
           ๔. ประเภทแอมเฟตามีนได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
           ๕. ประเภทโคเคนได้แก่ โคเคน ใบโคคา
           ๖. ประเภทกัญชาได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
           ๗. ประเภทใบกระท่อม
           ๘. ประเภทหลอนประสาทได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
            ๙. ประเภทอื่น ๆนอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่

                    

            

ถ้าแบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ


         ๑. ยาเสพติดประเภทกดประสาท....ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
          ๒. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท .... ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
          ๓. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ... ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
          ๔. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน .... กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา

      

          

     

    สรุปได้ว่า ... วัน ที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสำคัญ 2 วันคือ วัน สุนทรภู่ และวันต่อต้านยาเสพติดโลก นะคะ .... เราคนไทยร่วมใจกัน ... "ต่อต้านยาเสพติดและผิดกฎหมาย" นะคะ


ขอบคุณค่ะ

26 มิถุนายน 2557

หมายเลขบันทึก: 571059เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2014 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2014 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณที่ช่วยกันรณรงค์เพื่อสุขภาวะดีๆเช่นนี้ค่ะ..

บุหรี่เป็นยาเสพติดที่อันตรายที่สุด และกำจัดไม่ได้ค่ะ เพราะทุกประเทศบุหรี่ถูกกฎหมาย

ปัญหายาเสพติดกระทบถึงทุกฝ่ายในสังคมเลยนะครับ

เคยทำงานวิจัยไว้ครับ

http://www.dmh.go.th/Abstract/alldetails.asp?code=...

ขอบคุณพี่เปิ้นมากที่เขียนเรื่องดีๆให้อ่านครับ

ผมห่างไกลกับยามานาน

งดสูบ งดดื่ม มานานโข

สุขภาพดีอย่างเห็นได้ชัดครับ

ขอร่วมรณรงค์ด้วยคนนะครับ

ปล. ตอนนี้เริ่มสงสัยตัวเองนิดๆ

ติดบล้อก ... แก้ไขยังไงดีครับ   ^_^

ขอขอบคุณ พี่ๆๆ เพื่อนๆๆ น้องๆๆ ทุกท่านกับดอกไม้และข้อ Comment มากๆๆ นะคะ

สารเสพติด เป็นมหาอันตราย ทุกท่านต้องช่วยกันนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท