"การอ่านตัวหนังสือ" กับ "การอ่านหนังสือ" นั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ... (วัฒนธรรมชุบแป้งทอด ตอน ทำไมไม่อ่าน)


มีแง่มุมหลายเกิดขึ้นเมื่อได้ชมรายการ "วัฒนธรรมชุบแป้งทอด ตอน ทำไมไม่อ่าน"
ซึ่งออกอากาศในวันที่ ๒๗ ก.พ.๕๗ ...

...

...

วัฒนธรรมชุบแป้งทอด: ทำไมไม่อ่าน - 27 ก.พ.57 (HD) 

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=42eu509o50s

...

...

มีนักเขียนสองท่านที่เป็นผู้ดำเนินรายการ คือ "โตมร ศุภปรีชา" กับ "สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์" หรือ "นิ้วกลม"

...

สารคดีเรื่องนี้มีมุมมองหลายมุมจากผู้รู้ที่คร่ำหวอดหลายท่านในวงการนักเขียนหนังสือ
มีนักเขียนมากมายที่รู้จักแต่งานเขียนของท่านเหล่านั้นมากกว่าหน้าตา

การได้ชมมุมมองเหล่านี้ทำให้เลือดแห่งการเป็นนักอ่านของผมพุ่งพล่าน
เพราะทำให้เราต้องนั่งกลับมาตอบคำถามของตัวเองว่า

"แน่ใจหรือว่าเราคือนักอ่าน" ที่อ่านผ่าน ๆ ไป หรืออ่านอย่างลึกซึ้ง

...

วัฒนธรรมการอ่านในประเทศไทยเป็น "วัฒนธรรมมุขปาฏะ" จริง ๆ หรือเปล่า
คือ พูดฟังกันต่อ ๆ มามากกว่าการอ่านอย่างเป็นจริงเป็นจัง
อ่านด้วยการวิเคราะห์ และวิจารณญาณของตัวเองจริง ๆ

...

ชอบคำกล่าวของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปราชญ์แห่งมอชอที่บอกว่า

...

"การอ่านตัวหนังสือ" กับ "การอ่านหนังสือ" นั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะหนังสือโดยเฉพาะงานวรรณกรรมนั้นเกิดขึ้น จากการกลั่นกรองประสบการณ์ที่สั่งสมมาจนเกิดตกผลึก แล้วสร้างสรรค์ใหม่ โดยคิดวิธีนำเสนอให้น่าเชื่อถือ สะเทือนอารมณ์ และงดงามมีศิลปะ เพราะฉะนั้นการอ่านหนังสือเหล่านี้จึงไม่ใช่แค่การ "รับรู้" ข้อมูลเฉย ๆ แต่งานเหล่านี้ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลง หรือปลดปล่อย "ข้างใน" ของผู้อ่านด้วย

คำว่า "การอ่าน" จึงมีความหมายมากกว่า "อ่านออกเขียนได้" เพราะหาก "อ่านเป็น" แล้ว ผู้อ่านย่อมมิใช่คนเดียวกับเมื่อยังไม่ได้อ่าน

การอ่านจะเปลี่ยนแปลงโลกและวิธีมองโลกของผู้อ่านไป แต่จะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับตัวผลงานและตัวผู้อ่านคนนั้น ๆ 

การอ่านจึงลึกซึ้งกว่าที่เราคิดมาก และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการอ่านตัวอักษรหรือหนังสือเท่านั้น 

...

ที่ผมยกมานี้เพียงแค่เศษเสี้ยวของสิ่งที่ได้รับจากสารคดีตอนนี้
โปรดใช้เวลาและคิดตามไปด้วย

สังคมไทยอาจจะต้องความคิดเห็นจากท่านเพิ่มอีกก็ได้

...

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...

...

หมายเลขบันทึก: 571015เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2014 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2014 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ไม่รู้สิครับ...
รู้แต่เพียงว่า
หนังสือ เป็นโลกอีกใบที่ตัวหนังสือเป็นประหนึ่งตัวโน๊ต -55

หนังสือ และการอ่าน (รวมทั้งการคิดอยากจะเขียน)

เป็นที่ซุกซ่อนวิญญาณที่แท้จริงของผมต่อสิ่งชีวิตอื่น...

เมื่อก่อน ผมมีเวลาอ่านหนังสือเหลือเฟือ

ในยุคนี้ยุคไฮเทค

ผมใช้ชีวิตรวดเร็วและเร่งรีบมากขึ้น

เวลาในการอ่านของผมเลยหายไป

ผมคงต้องปรับแก้วิธีการใช้ชีวิตซะใหม่แล้ว

สำหรับพี่ การอ่านเป็นต้นทุนในการคิดต่อยอดในหลายๆ เรื่อง ขณะอ่านย่อมต้องคิดตาม คิดเชื่อมโยงกับข้อมูลที่กักตุนอยู่ในสมอง

การอ่านต้องมีสมาธิมากมิฉะนั้นมันก็แค่ตัวหนังสือผ่านตา เคยเป็นนะคะเวลาไม่มีสมาธิ มันไม่เข้าหัว

อยากให้ส่งเสริมการอ่านในเด็กไทยมากขึ้น  ถ้าไม่อ่าน ก็จะคิดไม่เป็น และเขียนอะไรไม่ได้

คนทำงานรุ่นใหม่เขียนโครงการ เขียนรายงานไม่เป็น คืออ่านแล้วไม่รู้เรื่องค่ะ

มันเป็นเรื่องใหญ่เลยค่ะ เรื่องนี้  

-สวัสดีครับอาจารย์

-ชอบรายการแบบนี้ครับ

-วันหยุดเสาร์/อาทิตย์ มีรายการดี ๆ จากช่องนี้มากมาย

-ขอบคุณครับ


แอบเห็นจิตวิญญาณของท่าน พ.แจ่มจำรัส แล้วครับ ;)...

เห็นด้วยตามพี่ nui ว่ามาเลยครับ ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท