การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตอนที่ 7


ทฤษฎีฐานราก (grounded theory)

ทฤษฎีฐานรากมีจุดมุ่งหมายของ 2 ลักษณะ ก็คือ 1. เป็นวิธีวิจัย และ 2.เป็นการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล ในแง่นี้ทฤษฎีฐานรากต้องเกี่ยวข้องกับการจัดประเภทต่างๆของความหมายในข้อมูล การจัดประเภทนั้นต้องทำอย่างปะติดปะต่อจนสามารถหาประเภทต่างๆในข้อมูล นอกจากนี้ในแง่ที่เป็นวิธีวิจัย จะทำให้ผู้วิจัยสามารถที่จะบ่งชี้ประเภทต่างๆได้(หาวิธีการที่จะดูข้อมูลดิบ แล้วจัดประเภทต่างๆ)หาวิธีการในการเชื่อมโยงระหว่างประเภทต่างๆและหาวิธีการในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเภทต่างๆได้ ในแง่ที่เป็นทฤษฎี จะให้กรอบโครง (framework) แก่นักวิจัย เพื่อที่จะเข้าใจปรากฏการณ์ (phenomenon) ที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ในตอนต่อไป จะได้กล่าวถึงทฤษฎีฐานราก โดยสังเขปดังนี้

1. ทฤษฎีโดยรวม (overview)

ความคิดที่สำคัญในการใช้ทฤษฎีฐานราก คือ การหาประเภทที่มีความเป็นนามธรรมในระดับสูง แต่ต้องมาจากข้อมูลเท่านั้น ประเภทต่างๆ คือ การจับกลุ่มที่มีอยู่ในกรณีต่างๆ (instances) ที่แสดงให้เห็นลักษณะที่มีความสำคัญหรือมีลักษณะที่รวมลักษณะอื่นๆเอาไว้ได้ กรณีต่างๆ หมายถึง เหตุการณ์ (events), กระบวนการต่างๆ (processes),การเกิดขึ้น (occurrences) ประเภทต่างๆนั้นอาจเป็นการมีลักษณะที่เป็นนามธรรมน้อยหรืออาจเป็นฉลากในเชิงบรรยาย (descriptive labels) หรือเป็นเพียงความคิดรวบยอด(concepts) เช่น ในข้อมูลดิบ หากเราเจอคำว่า ความกังวงใจความโกรธ และความน่าสงสาร สามารถรวมอยู่ด้วยกันด้วยประเภทอารมณ์ (emotionalcategory) เมื่อทฤษฎีฐานรากเริ่มดำเนินการวิเคราะห์ไปเรื่อยๆผู้วิจัยจึงสามารถจะบ่งชี้ระดับความเป็นนามธรรมในขั้นสูงต่อไปได้ประเภทที่เป็นนามธรรมขั้นสูงก็คือการวิเคราะห์ (analytic)ไม่ใช่แค่การพรรณนาเฉยๆ ประเภทเหล่านี้จะตีความ (interpret)กรณีต่างๆของปรากฏการณ์ ไม่ใช่แค่การให้ชื่อหรือให้ฉลาก เช่น ในข้อมูลดิบเรามีหลายกิจกรรม และแต่ละกิจกรรมนั้นก็มีความหลากหลาย เช่น ไปเมา, ไปวิ่งเยาะๆ,และการเขียนบทกวี สามารถรวมกลุ่มๆได้ว่า การหลบหนี (escape)ถ้ากิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการทำให้ผู้คนหลงลืมปัญหาบางอย่างทั้งประเภทที่เป็นการบรรยายและการวิเคราะห์มีพื้นฐานอยู่บนการบ่งชี้ความสัมพันธ์ของความเหมือนและความแตกต่าง (relationsof similarity and difference) อย่างไรก็ตามทั้งการบรรยายและการวิเคราะห์มีระดับความเป็นนามธรรมที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามการบ่งชี้ประเภท ย่อมแตกต่างจากการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งนักวิจัยไม่ควรจะสับสนเช่น การวิเคราะห์เนื้อหาจะมีกำหนดประเภทแบบต่างๆก่อนมีการวิเคราะห์ในขณะที่การบ่งชี้ในทฤษฎีฐานรากจะต้องเก็บเนื้อหาก่อนแล้วค่อยมีการวิเคราะห์ประเภทจากเนื้อหานั้น

การวิเคราะห์โดใช้ทฤษฎีฐานรากดำเนินไป3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การหาประเภทความคิดรวบยอดแบบต่างๆในข้อมูล(ซึ่งเป็นระดับที่มีความเป็นนามธรรมในระดับต่ำ) 2.คือการหาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทต่างๆ และ 3 คือการสร้างความคิดรวบยอดและอธิบายถึงความสัมพันธ์ในขั้นตอนที่2 (ซึ่งขั้นนี้มีความเป็นนามธรรมในระดับสูง) ขั้นตอนทั้ง 3ขั้นย่อมหมายถึงมีการใส่รหัส 3 ขั้นตอน นั่นคือ 1. การใส่รหัสแบบมีความสำคัญ (substantivecode) ซึ่งเป็นการใส่รหัสขั้นต้นหรือเป็นการหาความคิดรวบยอดในข้อมูล 2. การใส่รหัสเชิงทฤษฎีซึ่งเป็นการเชื่อมโยงประเภทต่างๆ และ 3. การใส่รหัสที่เป็นแก่น (core code) ซึ่งเป็นการใส่ความคิดรวบยอดในตอนการใส่รหัสเชิงทฤษฎี(หลังจากมีการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎี ต้องมีการอธิบายว่าเชื่อมกันได้อย่างไร)และตอนนี้ทฤษฎีกำลังถูกสร้างขึ้น

ดังนั้นจุดประสงค์แรกก็คือการหารหัสที่มีความสำคัญ(substantivecode) ในข้อมูล กล่าวคือในข้อมูลจะมีบางสิ่งบางอย่างที่มีลักษณะซ้ำๆกัน จนสามารรวบรวมได้จนเป็นประเภท จุดประสงค์ประการที่2 ก็คือ การนำประเภทตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไปมาเชื่อมโยงกันและกันเราเรียกขั้นตอนนี้ว่าการใส่รหัสเชิงทฤษฎี เมื่อพูดถึงเรื่องการเชื่อมโยงนี้ก็จะกลายเป็นประพจน์ หรือสมมติฐาน (สมมติฐาน หมายถึง การอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัยในทางวิทยาศาสตร์)เกี่ยวกับข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 นี้จะนำมาทำรวมกันในขั้นตอนที่ 3จนกลายเป็นการสร้างทฤษฎีจากฐานข้อมูลได้ ขั้นตอนที่ 3 ก็คือการโครงสร้าง (construct) ที่มีความเป็นนามธรรมในระดับสูงหรือการใส่รหัสที่เป็นแก่น ซึ่งจะนำสมมติฐานเหล่านี้มาสู่ทฤษฎี ซึ่งจะบรรยายหรืออธิบายสมมติฐานทั้งหลายนั้น

แก่นแท้ของทฤษฎีฐานรากก็คือ การใส่รหัส ซึ่งมี 1. รหัสเปิด (open coding) 2. รหัสแกน (axial code) และ 3. รหัสแบบเลือกเฟ้น (selectivecode) ทั้ง 3รหัสไม่ได้ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน แต่จริงๆแล้วพวกเขาต่างเหลื่อมล้ำกันและอาจทำในคราวเดียวกันก็ได้อย่างไรก็ตามในแง่ทฤษฎีแล้วพวกเขาต้องมีการอธิบายไปทีละขั้นรหัสเปิดก็คือการหารหัสที่มีความสำคัญ รหัสแกน ก็คือรหัสแบบทฤษฎีซึ่งหมายถึงการนำรหัสที่มีความสำคัญที่เป็นหลักมาเชื่อมโยงกัน และ รหัสแบบเลือกเฟ้นก็คือรหัสแบบแก่นนั่นเอง

หนังสืออ้างอิง

Keith F. Punch(1998). Introduction to Social Research:Quantitative and QualitativeApproaches. London:SagePublication

หมายเลขบันทึก: 570704เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2014 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2014 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท