ละครสอนหลักคิด


เครื่องมือ 5 ภาพละครนี้ เป็นเครื่องมือสากลเป็นหลักในการคิดวิเคราะห์

         กระบวนการทางละครเร่ ที่ได้เเนวมาจากกลุ่มมะขามป้อม ,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มูลนิธิสยามกัมมาจล ย้อนมามองถึง Process ของละครในการปลูกให้เด็กมีการคิดวิเคราะห์


        กระบวนการคิดเเบบละครเร่ เมื่อได้ย้อนมองดูอีกเเล้ว ก็เป็นกระบวนการคิดเเบบโครงงานดีๆนี่เอง เเละโครงงานนั้นมีกระบวนการคิดที่เป็นนามธรรมยิ่งยากที่จะทำให้จดจำว่า ก่อนอื่นเราต้องมีที่มาก่อนนะ  มีวัตถุประสงค์ก่อนนะ การละครเร่นี้ ช่วยเอานามธรรมของโครงงานมาจัดบล็อกเขียนเป็นภาพให้เห็นชัดเจน เเละสามารถเเยกเเยะได้ว่าอะไรเป็นที่มา  อะไรเป็นจุดที่ทำให้ที่มานั้นเปลี่ยนเเปลงไปตามกาล หรืออะไร คือ ประเด็น ฯ ถ้าเราทำโครงงานหรือวิจัยเด็กๆหรือโครงการต่างๆ ถ้านำเครื่องมือนี้ไปมองร่วมกัน ก็อาจเป็นเครื่องเดียวที่ครอบคลุม

        ธรรมดาเราวิเคราะห์ปัญหามาจากบริบทของปัญหา  ซึ่งละครเร่ได้สอนว่าเราต้องหัดจับประเด็นปัญหา ในปัญหาหนึ่งอาจมีหลายปัญหาซ่อนอยู่เป็นร้อย เเต่ถ้าเราจับได้ว่าเอาจะพัฒนาปัญหาย่อยในปัญหาอะไร มันก็ง่ายต่อการทำงาน เเละมีความเป็นรูปธรรม  เมื่อจับประเด็นจากบริบทได้เเล้ว ละครเร่ก็สอนให้มองถึงความเป็นมาของประเด็นหรือความเป็นมาของปัญหานั้น ว่ามีความเป็นมาอย่างไน เกิดมาจากอะไร เเต่ก่อนเป็นอย่างไร  เมื่อมองความเป็นมาเเล้ว ก็สอนให้มองว่าจุดเปลี่ยนเเปลงของปัญหานั้นมันเกิดมาจากอะไร  เพาะอะไรจึงเกิดการเปลี่ยนเเปลง  ส่งผลมายังการมองที่สาม คือ มองถึงว่าผลพวงของความเปลี่ยนเเปลงนั้นมันเกิดผลกระทบด้านดีเเละด้านเสียอย่างไร กระทบกับใคร อย่างไร  มุ่งสู่วิธีการเเก้ไขปัญหาที่ในที่นี้ วิธีการเเก้ไขขึ้นอยู่กับศักยภาพเเละอัตภาพ โดยมองภาพสุดท้าย คือ เป้าหมายเเห่งการพัฒนาที่ตนอยากให้เกิดขึ้น

        ซึงเครื่องมือนี้อาจมามองในมุมของหลัก อริยสัจ ๔ ว่า

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ปัญหานี้ เป็น "บริบท" 

ทุกข์  คือ  การจับประเด็นให้ได้ว่าปัญหานี้ เป็นปัญหาอะไรกันเเน่ หรือ "ประเด็น" นั่นเอง

สมุทัย คือ ความเป็นมา,จุดเปลี่ยน เป็นการมองถึงว่าปัญหานี้มีความเป็นมาเช่นนี้เเล้ว สาเหตุของมันคืออะไร ที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนขึ้นในประเด็น

นิโรธ  คือ  วิธีการเเก้ไขปัญหานั่นเอง ซึ่งวิธีการเเก้ไขนั้น ขึ้นอยู่กับบริบท

มรรค  คือ  เป้าหมายหรือภาพฝันที่อยากให้เกิดหรือสามารถเกิดขึ้นได้จริง ถ้าเรามีวิธีการที่เหมาะสมกับประเด็นปัญหา เเต่ต้องใช้เครื่องมือ เเละระยะเวลาที่เหมาะสม

        มามองใน ไตรสิกขา ว่า

ศีล  คือ  บริบท,ประเด็น,ความเป็นมา,จุดเปลี่ยน,ผลที่เกิดขึ้น,เป้าหมาย ซึ่งมาจาก กาย ทั้งหมด

ปัญญา  คือ  วิธีการเเก้ไข,วิธีคิดวิเคราะห์ตามหลัก 5 ภาพนี้,เเละข้อที่ได้เรียนรู้,ทักษะต่างๆระหว่างทาง,คุณธรรมที่ได้รับระหว่างทาง

สมาธิ  คือ  การเอาใจใส่ในงานที่ดำเนินงาน,ความควบคุมสติตนเองด้วยตนเองในการทำงาน,การพูดหรือการกระทำที่เหมาะสมในการทำงาน,มีความพยายามอยู่เสมอ

        เครื่องมือ 5 ภาพละครนี้ เป็นเครื่องมือสากลเป็นหลักในการคิดวิเคราะห์ เเละสังเคราะห์เพื่อที่จะนำสิ่งที่ได้ไปพัฒนางานของตนเอง  โดยเฉพาะทักษะในการจับประเด็นอันนี้ยิ่งสำคัญ  ... 

.

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 570659เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2014 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2014 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท